คุณรู้อยู่แล้วว่าตัว Capacitor Bank นั้นใช้ในการปรับค่า Power Factor หรือ ค่า PF ให้เข้าใกล้ 1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้สูงสุด แต่ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย หรือค่าปรับของการไฟฟ้า แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องของกระแสกระชากในขณะที่ตัว Cap Bank ทำงาน ซึ่งทาง Schneider Electric เองมีเอกสารเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานตัวคอนแทคเตอร์ โดยระบุว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดกระแสกระชาก High transient currents มากกว่า 180In หรือ 180 เท่าของกระแสปกติ และที่ความถี่สูง 15kHz ในระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นปํญหาหลักที่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย เช่น Cap Bank ระเบิด นั้นมีดังนี้
- ค่าความเหนี่ยวนำของฝั่งแหล่งจ่ายไฟมีค่าต่ำ
- ค่าพิกัดของหม้อแปลงที่ใช้มีขนาดสูง หรือเผื่อโหลดไว้มากเกินไป
- ซึ่งจากข้อ 2 เป็นผลทำให้หม้อแปลงมีอัตราการทนการลัดวงจรได้สูง แต่ก็ทำให้เกิด High transient currents กระแสกระชากได้สูงเช่นกัน
- สเตปในการควบคุมตัว Capacitor Bank มีน้อยเกินไป ดังนั้นเมื่อมีการปรับค่า kvar แต่ละครั้งหรือสเตป ก็ทำให้เกิด High transient currents
จากสาเหตุต่างๆ ที่กล่าวมา ในทางทฤษฎี คุณสามารถเลือกตัวคอนแทคเตอร์ที่ทนกระแสสูงๆ หรือหน้าคอนแทคชนิดพิเศษมาใช้ได้ แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น หรือจะทำการเพิ่มค่าความเหนี่ยวนำทางด้านอินพุต Inductor coil ซึ่งก็จะช่วยลดค่ากระแสกระชากเหล่านี้ได้ แต่ต้องคำนวณค่าของ Inductor ที่จะมาต่อให้ดี เพื่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ซึ่งในทางปฎิบัติแล้วทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากเรามีการปรับเปลี่ยนค่าโหลดในระบบอยู่ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่
Schneider Magnetic contactor รุ่น TeSys D
สำหรับปัญหาการเลือกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสมกับ Appliacation ควบคุมค่าเพาเวอร์แฟ็คเตอร์โดยใช้ Capacitor Bank หรือ Cap Bank นั้น ทาง Schneider เองแนะนำตัว Magnetic contactor รุ่น TeSys D ที่เป็นโมเดล TeSys LC1D•K contactors ซึ่งออกแบบมาให้ควบคุมโหลดที่เป็น 3 เฟส ของคาปาซิเตอร์ หรือ CAP Bank ได้ ทั้งแบบ Single Step และแบบ Multi Step capacitor bank อีกทั้งยังสามารถอ้างอิงอับมาตรฐาน IEC 60947-1 AC-6b, UL, CSA และ CCC ได้อีกด้วย
คุณสามารถใช้รูปตารางด้านล่างในการเลือกตัวคอนแทคเตอร์ TeSys LC1D•K ให้เหมาะกับขนาดของตู้ Cap Bank ของคุณได้

ทำไม !!! Schneider Magnetic Contactor TeSys D รุ่น LC1D.K ถึงลดกระแสกระชากใน Cap Bank ได้

Schneider คอนแทคเตอร์ TeSys LC1D•K นั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาการปรับค่า Power Factor ที่ใช้ Capacitor Bank แล้วเกิดค่ากระแสกระชาก High transient currents ที่มากกว่า 180In ได้โดยการออกแบบโครงสร้างพิเศษให้มีตัวกล่องหรือ Block ที่ติดตั้งตัว Damping resistors หรือตัวต้านทานที่จะลดค่ากระแสกระชากในระบบ โดยสามารถลดค่ากระแสจากเดิม 180 เท่า หรือเพียง 60 เท่าของกระแสปกติ ซึ่งลดลงไปถึง 3 เท่าจากเดิม จึงทำให้ยืดอายุการใช้ของฟิวส์ที่ต่อในระบบ กับตัวคาปาเตอร์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น
จากการคำนวนพบว่า เมื่อคุณใช้คอนแทคเตอร์ TeSys D รุ่น LC1D•K คุณไม่จำเป็นต้องต่อขดลวดเหนี่ยวนำเพิ่ม Choke Inductor และสามารถลดขนาดของ Fuse ที่ใช้ในส่วนนี้ให้เหลือเพียง 1.7 – 2 In
Contactor LC1D.K Schneider ทนทานมากแค่ไหน มาดูกัน
สำหรับคนที่ไม่เคยใช้ตัว Schneider คอนแทคเตอร์ รุ่น TeSys LC1D•K นั้น คงอาจไม่ทราบว่าอายุการใช้งานจะยาวนานแค่ไหน เรามาดูกันว่าจากข้อมูลในตารางที่ทาง Schneider ให้มาด้านล่างนั้น แสดงให้เห็นถ้าเราต่อตัว Contactor เข้ากับโหลดที่สามารถสร้างกระแสกระชากได้สูงถึง 200In จะพบว่าตัว Tesys LC1D นั้นสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องสูงถึง 300,000 ครั้ง ซึ่งถ้าในตู้ CAP Bank คุณมีการทำงานวันละ 100 ครั้ง ก็จะมีอายุการใช้งานได้นานถึง 8 ปี เลยทีเดียว

Wiring Diagram ของ Schneider Contactor LC1D.K

รหัสสำหรับเลือกแรงดันไฟเลี้ยงคอล์ยคอนแทคเตอร์ LC1D
ท้ายที่สุดสำหรับการเลือกตัว Contactor ที่ใช้กับงานตู้ควบคุมหรือปรับค่า Power Factor นั้น ก็คงเป็นเรื่องของแรงดันไฟเลี้ยงคอยล์ ซึ่งถ้าคุณใช้ Schneider Contactor LC1D.K อยู่แล้ว เวลาเสียต้องการจะซื้อเปลี่ยน คุณสามารถดูรหัสของ Coil Voltage ที่ตัวของคอนแทคเตอร์เองได้ แล้วเทียบกับตารางด้านล่างนี้ ก็จะทราบว่าเป็นคอยล์แรงดันเท่าไหร่
