เครื่องตัดไฟรั่ว RCD Residual-Current Device คืออะไร แหล่งรวบรวมข้อมูล

บางครั้งที่เราไปสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วมีความรู้สึกเหมือนโดนดูด หรือที่เรียกกันติดปากว่า ไฟดูด แล้วสงสัยไหมว่าแท้จริงแล้ว ไฟดูดนั้นเกิดมาจากอะไร ไฟดูดนั้นเกิดจากการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าในเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วคนไปสัมผัสโดนเข้าพอดีนั่นเอง ซึ่งการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า หรือเรียกสั้นๆว่า ไฟรั่ว คือการที่กระแสไฟฟ้าได้รั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไปที่ผิววัสดุของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีผิววัสดุเป็นโลหะที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าอย่างดี ทำให้จุดเหล่านั้นมีกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า เป็นอันตรายต่อคนที่ไปสัมผัสได้

การเกิดไฟรั่วเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะการเดินสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน ขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษา ใช้งานไม่ถูกต้อง ตลอดจนการเสื่อมสภาพของฉนวนที่ใช้ห่อหุ้ม เวลาเกิดไฟรั่วขึ้นนั้นจะส่งผลเสียหลายอย่างทั้งเป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้ที่ไปสัมผัส เกิดการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์ และเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ได้

Amount of current and how they damage a human body

เครื่องตัดไฟรั่ว คืออะไร

เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Device) คือ เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดกระแสไฟฟ้าภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าและออก มีค่าไม่เท่ากัน นั่นคือมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนที่รั่วหายไป เช่น รั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินหรือกระแสไฟฟ้ารั่วผ่านคนที่ไปสัมผัสอุปกรณ์ที่มีไฟรั่วอยู่ ขณะใช้งานปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ดังนั้น เครื่องตัดไฟรั่ว จะไม่ทำงาน ส่วนมากจะติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ในบ้านพักอาศัย

เครื่องตัดไฟรั่ว อาจมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือ (RCD, RCBO, RCCB) หรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน (ELCB, GFCI) ถูกนำไปใช้งานร่วมกับ เซอร์กิต เบรกเกอร์ ประเภทอื่นๆ เช่น เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB หรือ เบรกเกอร์ MCCB

แต่ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายจะมี 3 ประเภทด้วยกันได้แก่ RCCB (Residual Current Circuit Breakers), RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection) และ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker)

เครื่องตัดไฟรั่ว RCD RCBO RCCB

RCCB (Residual Current Circuit Breakers)

เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดการรั่วไหลในระบบไฟฟ้าแต่ไม่สามารถตัดกระแสลัดวงจรได้ ส่วนใหญ่ที่มีการใช้งานจะมี 2 ขนาดด้วยกัน ขนาด 2 Pole สำหรับไฟ 1 เฟส และขนาด 4 Pole สำหรับไฟ 3 เฟส ในการทำงานนั้นจะใช้ควบคู่กับ MCB, MCCB

ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

ภาพ Residual Current Circuit Breakers (RCCBs)

RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection)

เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด (ไฟช็อต) พร้อมมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ในตัว สามารถตัดวงจรได้ทั้งกรณีที่มีไฟรั่วและมีกระแสลัดวงจร

2017-11-24_18-30-10

ภาพ Residual Current Circuit Breakers with Overload protection (RCBOs)

ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker)

เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกผลิตขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักสำหรับนำมาใช้ป้องกันไฟดูดหรือไฟรั่ว ส่วนใหญ่ใช้เป็นควบคุมเครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ ฯลฯซึ่งหน้าตาภายนอกโดยรวมถือว่าคล้ายกับเซฟตี้เบรกเกอร์มาก ต่างกันที่ ELCB จะมีปุ่มเล็กๆที่เรียกว่าปุ่ม TEST แต่เซฟตี้เบรกเกอร์นั้นไม่มีปุ่มTEST และหลักการทำงานและวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งานก็แตกต่างกันด้วย

เบรกเกอร์ ELCB มีหน้าที่คือ ตัดหรือปลดวงจรไฟฟ้าลงอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินจนถึงค่าที่ตรวจจับได้ และยังสามารถปลดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย แต่เบรกเกอร์ ELCB จะไม่สามารถปลดวงจรไฟฟ้าออกได้เองในกรณีที่ใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าพิกัดที่ระบุไว้ อย่างเช่น บนตัว ELCB ระบุค่าพิกัดกระแสที่ 30 A แต่เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่ระบุไว้หากเป็นเบรกเกอร์แบบธรรมดาก็จะปลดวงจรออกเองเมื่อใช้งานพิกัดกระแสเกินกว่าที่ระบุแต่ในกรณีของ ELCB พิกัดกระแสที่ระบุบนตัวของมันคือค่าสูงสุดที่มันจะทนได้ไม่ใช่ค่าที่มันจะปลดวงจร การมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัดสูงสุดที่แสดงบน ELCB ก็จะทำให้มันพังโดยที่ไม่มีการปลดวงจร ELCBจึงเหมาะกับการนำไปใช้งาน เพื่อควบคุมและป้องกันความเสี่ยงเฉพาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเราทราบปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่แล้วอย่างเช่นเครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้น

เครื่องตัดไฟรั่ว RCD ABB
เครื่องตัดไฟรั่ว RCD Schneider

เครื่องตัดไฟรั่ว RCD ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง?

ต้องผลิตและผ่านการทดสอบมาตรฐาน มอก. 909-2548 สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วแบบมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (RCBO) หรือ มอก. 2425-2552 สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วแบบไม่มีอุปกรณ์ (RCCB)

การใช้ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าดูดต้องมี พิกัดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 mA และระยะเวลาการตัดกระแสไฟฟ้ารั่วภายใน 0.04 วินาที ที่ 5 เท่าของพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่ว (150 mA)

เครื่องตัดไฟรั่วต้องเป็นชนิดปลดสายไฟเส้นที่มีไฟทุกเส้นออกจากวงจรรวมทั้งสายนิวทรัล ยกเว้นสายนิวทรัลนั้่นมีการต่อลงดินแล้ว

อ้างอิง

https://www.pea.co.th/ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า/ArtMID/606/ArticleID/12303/PEA-แนะไม่อยากถูกไฟดูดต้องรู้จักเครื่องตัดไฟรั่ว-RCD

สายดิน (Ground)

The ground must be present for any RCD unit to work.

Application

3 แนวทางป้องกันความเสี่ยงจาก ไฟดูด ไฟช็อต ในบ้านพักอาศัยที่มีต่อคน

ในบทความนี้เราแนะนำ 3 แนวทางป้องกับความเสี่ยงจากไฟดูดที่เกิดในบ้านของคุณ กระแสไฟเพียงแค่ 30 mA (กระแสสลับ 220 V) สามารถทำอันตรายต่อร่างกายของคุณและถึงขั้นมีอันตรายต่อชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องอุปกรณ์อย่าง เครื่องป้องกันไฟดูด แนวทางและวิธีการติดตั้งเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับตัวเรา ในทางเดียวเราก็ต้องการที่จะเลือกแนวทางที่ถูกต้องและประหยัดที่สุด เรามาต้องดูกันครับ read more

ปรับปรุง ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ในบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับครอบครัวของคุณ

เราจะพูดถึงการเรโนเวทตู้คอนซูมเมอร์ที่มีอยู่แล้วในบ้านนะครับ เราต้องรู้ก่อนว่ามีอุปกรณ์อะไรอยู่บ้างและมันปลอดภัยได้มาตรฐานหรือยัง? สุดท้ายจะพูดถึงแนวทางของการติดเครื่องตัดไฟรั่ว read more