เมื่อเราชื้อสินค้าชิ้นหนึ่งมาแล้วเราก็ต้องการใช้งานสินค้าชิ้นนั้นให้คุ้มค่าและยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หนึ่งในแนวทางที่จะทำให้เราใช้สินค้านั้นให้คุ้มและยาวนานขึ้นคือ การรู้จักเลือกใช้งานสินค้าตัวนั้นให้เหมาะสมกันงาน วันนี้ทาง Factomart.com จึงขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับการเลือกใช้งานตัว Switch Disconnector/Load break switch ไว้ให้ทุกท่านได้ศึกษา
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Switch Disconnector ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
การเลือกใช้งานตัว Switch Disconnector
พิกัดแรงดันที่ใช้งาน (Rated voltage)
ซึ่งแรงดันนั้นจะมีผลกับกระแสที่ใช้งานเพราะ Load break switch บางแบรนด์ถ้านำไปใช้ในแรงดันที่มากกว่า 500Vac จะทำให้กระแสที่สวิทช์ทนได้ลดลง จึงจำเป็นต้องอัพขนาดของสวิทช์เพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับกระแสที่ใช้งานได้
เช่น ถ้าต้องการ Load break switch ที่สามารถนำไปตัดต่อวงจรของมอเตอร์ ขนาด 40A ที่ไฟ 400Vac เราจะต้องเลือกรุ่นที่กระแส 40A ตามวงกลมสีแดง แต่ถ้าต้องการ Load break switch ที่สามารถนำไปตัดต่อวงจรของมอเตอร์ ขนาด 40A ที่ไฟ 600Vac เราต้องเลือกรุ่นที่กระแส 63A ตามวงกลมสีเหลือง
พิกัดกระแสที่ใช้งาน (Rated current)
เนื่องจากโหลดในโรงงานส่วนใหญ่นั้นเป็นโหลดมอเตอร์ จึงแนะนำว่าเวลาเลือกพิกัดกระแสให้ดูที่ AC23 เป็นหลัก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในภายหลัง
ควรเลือก Load Break switch อย่างไร
ควรเลือก Load Break switch ที่มีค่าการทนกระแสลัดวงจรได้สูงกว่าเบรกเกอร์หลัก เพื่อให้เบรกเกอร์เป็นตัวป้องกันการพังเสียหายของ Load break switch โดยกระแสลัดวงจรที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
Icm (Rated making capacity)
คือ พิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดที่เป็น peak current ที่สวิทช์สามารถทนได้
Icw (Rated short-time withstand current)
คือ ค่าพิกัดและกระแสการลัดวงจรสูงสุดที่สวิทซ์สามารถทนได้ โดยตัวมันเองไม่ปลดวงจรและไม่เสียหาย เพื่อให้สามารถทำการปลดวงจรเป็นลำดับขั้น (discrimination) ในระบบ โดย circuit breaker ตัวที่อยู่ใกล้กระแสลัดวงจรที่สุดควรปลดวงจรก่อน
ตัวอย่างเช่น: ถ้าเกิดกระแสลัดวงจรที่จุด 2 ก็จะให้ breaker B ตัดวงจร แต่!!! ถ้าเกิดกระแสลัดวงจรที่จุด 1 ก็จะให้ breaker A ตัดวงจร ตามรูปดังนั้น ATS ต้องสามารถทนกระแสลัดวงจรให้ผ่านตัวมันได้โดยที่ไม่เสียหาย แสดงว่า ถ้าอุปกรณ์ยิ่งมี ICW สูงก็ยิ่งดี
Icu (Rated short-circuit breaking capacity)
คือ ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดที่ CB สามารถป้องกันหรือตัดวงจรได้สำเร็จ 2 ครั้งติดกัน โดย CB ไม่เสียหาย ปกติจะมีหน่วยเป็น KA r.m.s.
Ics (Rated service short short-circuit breaking capacity)
คือ ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดที่ circuit breaker สามารถป้องกันหรือตัดวงจรได้สำเร็จ 3 ครั้งติดกัน โดย circuit breaker ไม่เสียหาย โดยจะระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่า Icu เช่น 25%, 50%, 75% และ 100% อุปกรณ์ที่ดีควรจะมีค่า ICU=ICS
ข้อสังเกต: Load break switch จะไม่มี ICU เนื่องจากไม่ใช่อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ protection
เป็นอย่างไรบ้างครับ เมื่อเราศึกษาแล้วอย่าลืมนำไปปฏิบัติตามนะครับ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของตัว Switch Disconnector และยังเป็นหนึ่งในวิธีการที่เราจะได้ใช้อุปกรณ์ไปได้นานๆ หากท่านใดสนใจ Switch Disconnector สามารถเข้ามาเลือกชมได้ที่ Factomart.com หรือต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมทางเราก็ได้จัดทำไว้ให้กับผู้อ่านแล้ว ซึ่งเป็นบทความที่เกี่ยวกับ ประเภทของ Switch ต่างๆ, ความแตกต่างของ Switch Disconnector กับเบรกเกอร์, คุณสมบัติของ Switch Disconnector จาก LOVATO และ มารู้จักตัว Switch Disconnector จาก Contactplasma
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Switch Disconnector ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ