การ Wiring มอเตอร์เบรกเกอร์ในการสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star-Delta ต่างกับแบบเดิมอย่างไร

Share this post

ถ้าใช้มอเตอร์เบรกเกอร์ MPCB (Motor Breaker) ในการสตาร์ทมอเตอร์แบบสตารร์-เดลต้า (Star-Delta) เราจะต้องต่อ Wiring ยังไง ต่างจากแบบเดิมที่ใช้เบรกเกอร์ MCB หรือ MCCB มากน้อยแค่ไหน มาหาคำตอบในบทความนี้กันเลย

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ มอเตอร์เบรกเกอร์ (Motor Breaker) หรือ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับการสตาร์ทมอเตอร์มอเตอร์แบบสตาร์-เดลต้า ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

Previous
Next

อุปกรณ์และวงจรกำลัง

จากรูปและ Wiring Diagram จะประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้

1. มอเตอร์เบรกเกอร์ MPCB ทำหน้าที่ป้องกันไฟลัดวงจร (Short circuit) และโหลดเกิน (Overload)

2. KM2 เป็นแมกเนติก คอนแทคเตอร์หลัก บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์เป็น “KM”

3. KM3 เป็นแมกเนติก คอนแทคเตอร์เดลต้า บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์เป็น “KD”

4. KM1 เป็นแมกเนติก คอนแทคเตอร์สตาร์ บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์เป็น “KS”

จากรูปจะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ที่ใช้นั้นจะมีความแตกต่างจากแบบเดิมที่ใช้กัน ซึ่งจะมีโอเวอร์โหลด รีเลย์ด้วย แต่ในกรณีนี้ไม่ต้องใช้เนื่องจากตัวมอเตอร์เบรกเกอร์ MPCB นั้น มีฟังก์ชันป้องกันโหลดเกินอยู่และสามารถปรับกระแสโอเวอร์โหลดได้เหมือนกับโอเวอร์โหลด รีเลย์เลย ซึ่งข้อดีของการใช้มอเตอร์เบรกเกอร์นั้นจะทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งอีกด้วย

อุปกรณ์และวงจรควบคุม

อุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในตู้

จากรูปและ Wiring Diagram จะประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้

1. ฟิวส์ ทำหน้าที่ป้องกันไฟลัดวงจรและกระแสเกินสำหรับวงจรควบคุม ที่เลือกฟิวส์นั้นเนื่องจากเวลาในการตัดวงจรนั้นฟิวส์จะตัดเร็วกว่าเซอร์กิต เบรกเกอร์

2. คอนแทคช่วยของมอเตอร์เบรกเกอร์ MPCB ใช้ในการแสดงสถานะเมื่อมอเตอร์เบรกเกอร์เกิดการทริปจากการเกิดโอเวอร์โหลดในระบบ ใช้เป็นหน้าคอนแทค NC

3. Timer Relay สำหรับตั้งเวลาในการสลับจากวงจรสตาร์มาเป็นเดลต้า ซึ่ง Timer ตัวนี้จะเป็นรุ่น TMST ที่ออกแบบมาสำหรับการสตาร์ทมอแบบสตาร์-เดลต้าโดยเฉพาะ

จากรูปจะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ที่แตกต่างแบบเดินที่ใช้กันนั้นจะเป็นตัวคอนแทคช่วยของมอเตอร์เบรกเกอร์ ถ้าแบบเดิมนั้นจะใช้หน้าคอนแทคช่วยจากโอเวอร์โหลด รีเลย์ หากเราไม่ต้องการแสดงสถานะในกรณีเกิดโอเวอร์โหลดเราไม่ต้องต่อก็ได้ ซึ่งตั้วคอนแทคช่วยของมอเตอร์เบรกเกอร์นั้นต้องซื้อเพิ่มจะไม่ได้ติดพร้อมมอเตอร์เบรกเกอร์ และนอกนั้นแทบจะเหมือนกับแบบเดิมที่ใช้กันทั่วๆไป

อุปกรณ์ที่ติดตั้งหน้าตู้

1. สวิตช์ปุ่มกด (Push Button Switch) สำหรับปุ่มสตาร์ทหรือ Run มอเตอร์ จะใช้เป็นสีเขียวและหน้าคอนแทคจะเป็น NO

2. สวิตช์ปุ่มกด (Push Button Switch) สำหรับปุ่มสต๊อปหรือหยุดการทำงานของมอเตอร์ จะใช้เป็นสีแดงและหน้าคอนแทคจะเป็น NC

3. ไฟแสดงสถานะ (Pilot lamp) สำหรับแสดงสถานะเมื่อมอเตอร์ทำงานหรือ RUN จะใช้เป็นสีเขียว

4.ฟแสดงสถานะ (Pilot lamp) สำหรับแสดงสถานะเมื่อมอเตอร์หยุดทำงานเนื่องจากมีการเกิดโอเวอร์โหลดในระบบ จะใช้เป็นสีเหลือง

5. ไฟแสดงสถานะ (Pilot lamp) สำหรับแสดงสถานะของไฟ L1 เพื่อดูว่าไฟ L1 นั้นจ่ายมาปกติไหม ก่อนทำการสตาร์ทมอเตอร์ จะใช้เป็นสีแดง

6. ไฟแสดงสถานะ (Pilot lamp) สำหรับแสดงสถานะของไฟ L2 เพื่อดูว่าไฟ L2 นั้นจ่ายมาปกติไหม ก่อนทำการสตาร์ทมอเตอร์ จะใช้เป็นสีเหลือง

7. ไฟแสดงสถานะ (Pilot lamp) สำหรับแสดงสถานะของไฟ L3 เพื่อดูว่าไฟ L3 นั้นจ่ายมาปกติไหม ก่อนทำการสตาร์ทมอเตอร์ จะใช้เป็นสีนำเงิน

จากรูปจะเห็นได้ว่าการ Wiring ที่แตกต่างจากแบบเดิมที่ใช้กันนั้นจะเป็นตรงไฟแสดงสถาณะเมื่อเกิดโอเวอร์โหลดที่เป็นไฟสีเหลือง โดยที่แบบเดิมนั้นจะเชื่อมต่อมาจากหน้าคอนแทค NC ของโวเวอร์โหลด รีเลย์ แต่ในกรณีจะเชื่อมต่อมาจากหน้าคอนแทค NC ของคอนแทคช่วยของมอเตอร์เบรกเกอร์ MPCB นั้นเอง และนอกนั้นแทบจะเหมือนกับแบบเดิมที่ใช้กันทั่วๆไป

สำหรับการเชื่อมต่อ (Wiring) นั้นเราได้มีการอธิบายอย่างละเอียดไป สามารถเข้าไปอ่านได้ที่บทความเรื่อง สอนวิธีการต่อวงจร สตาร์-เดลต้า (Star-Delta) สำหรับมือใหม่

ในการใช้มอเตอร์เบรกเกอร์แทนการใช้เบรกเกอร์ MCB หรือ MCCB และโอเวอร์โหลด รีเลย์ ที่เป็นแบบเดิมที่ใช้กันนั้นดีกว่าในเรื่องของประหยัดพื้นทีในการติดตั้ง ค่าทนกระแสลัดวงจร (kA) สูงพอสำหรับงานสตาร์ทมอเตอร์ เพราะถูกออกแบบมาสำหรับงานสตาร์ทมอเตอร์โดยเฉพาะ และในการต่อวงจรนั้นก็มีบ้างส่วนที่แตกต่างจากแบบเดิมที่ได้อธิบายไปข้างต้น หลักๆก็จะเป็นไฟแสดงสถานะเมื่อเกิดโอเวอร์โหลดที่จะต้องเชื่อมต่อผ่านคอนแทคช่วยของมอเตอร์เบรกเกอร์ MPCB ซึ่งคอนแทคช่วยตัวนี้จะต้องซื้อเพิ่อจะไม่ได้ติดมากับตัวมอเตอร์เบรกเกอร์

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อมอเตอร์ เบรกเกอร์ Motor Breaker ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments