เวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยน Star เป็น Delta

สตาร์ทมอเตอร์ star-delta

Share this post

ในการสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star-delta มักจะเจอปัญหาที่ทำให้แมกเนติกมันเกิดช็อตกัน ในจังหวะที่มีการเปลี่ยนจากสตาร์เป็นเดลต้า จึงต้องหาระยะเวลาว่านานเท่าไหรที่จะใช้ในการเปลี่ยนสตาร์เป็นเดลต้าที่ดีที่สุด เรื่องนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะมันมีผลต่อการทำงานของตัวแมกเนติก คอนแทคเตอร์ ถ้าตั้งเวลาไม่ถูกแล้วล่ะก็ ตัวคอนแทคเตอร์มีสิทธิ์เสียหายได้แน่ การตั้งเวลานี้จะต้องในตั้งค่าที่ตัวไทเมอร์ ส่วนระยะเวลานานเท่าไหร่นั้น มันจะขึ้นอยู่กับขนาดพิกัดมอเตอร์โดยตรง ซึ่งคุณจะต้องดูจากตารางคู่มือที่ให้มากับมอเตอร์ หรือบน Nameplate ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายวิธีการหาเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสตาร์เป็นเดลต้าไว้แล้ว

นอกจากนี้เรายังมีบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมายรวบรวมไว้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับการสตาร์ทมอเตอร์มอเตอร์แบบสตาร์-เดลต้า พร้อมให้คุณได้เข้าไปศึกษา พร้อมมีบทความให้ดาวน์โหลดฟรี!!

New call-to-action

วิธีการหาระยะเวลาสำหรับเปลี่ยนสตาร์เป็นเดลต้า

การที่เราจะหาระยะเวลาสำหรับเปลี่ยนสตาร์เป็นเดลต้าได้นั้น เราต้องอิงจากตารางทั้ง 2 ตารางด้านล่างนี้ประกอบ อาจค้นหาได้จากเอกสารคู่มือของอุปกรณ์ที่จากผู้ผลิตได้จัดทำไว้ ถ้าคุณจะหาระยะเวลาที่ดีที่สุดคุณต้องมีขนาดพิกัดมอเตอร์และตารางเหล่านี้เตรียมไว้

ตารางที่ 1 ขนาดพิกัดมอเตอร์

สตาร์ท มอเตอร์ สตาร์ เดลต้า

ตารางที่ 2 ระยะเวลาสำหรับเปลี่ยนสตาร์เป็นเดลต้าที่เหมาะสม

สตาร์ท มอเตอร์ สตาร์ เดลต้า

การตั้งเวลาสำหรับการเปลี่ยนสตาร์เป็นเดลต้า จะอ้างอิงจากตารางทั้ง 2 ตาราง ในตารางที่ 1 สมมติมอเตอร์ที่ใช้เป็นมอเตอร์ 2 Pole พิกัดขนาด 7.5 kW จะมี Frame size เท่ากับ 132S หมายความว่ามีขนาดมอเตอร์ 132 จากนั้นนำขนาดมอเตอร์ที่ได้มาหาค่าเวลาต่อในตารางที่ 2 Motor size ขนาด 132 สตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์ เดลต้า Y/D ขนาด 2 Pole จะตั้งเวลาสูงสุดได้ 45 วินาที ดังนั้นเวลาที่เหมาะสำหรับการเปลี่ยนสตาร์เป็นเดลต้าของมอเตอร์ 2 Pole พิกัดมอเตอร์ 7.5 kW คือไม่เกิน 45 วินาที

จำเป็นต้องใช้ Contactor Main Contactor Delta Contactor Star ที่มีพิกัดเท่ากัน หรือยี่ห้อเดียวกันหรือไม่?

คอนแทคเตอร์ทั้ง 3 ตัวที่ใช้ในวงจรสตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์ เดลต้า ควรจะเลือกให้มีขนาดเท่ากันทั้ง 3 ตัว เช่น มอเตอร์มีพิกัด 7.5 kW ให้เลือกคอนแทคเตอร์ที่ทนพิกัดมอเตอร์ได้ 7.5 kW ค่านี้จะมีบอกไว้บน Nameplate ถ้าเลือกคอนแทคเตอร์ให้มีขนาดที่เท่ากันทั้ง 3 ตัวแล้วเวลาคอนแทคเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งเกิดมีปัญหา จะได้สะดวกในการนำตัวอื่นมาแทนที่ และแบรนด์ของคอนแทคเตอร์ทั้ง 3 ตัว สามารถจะใช้เป็นแบรนด์เดียวหรือคละแบรนด์กันก็ได้ แต่ให้มีขนาดคอนแทคเตอร์ที่เท่ากัน

ข้อดีของการสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star-Delta

  1. ลดกระแส Inrush Current ที่เกิดขึ้นช่วง Start Motor
  2. ไม่ก่อให้เกิด Harmonics ในระบบ
  3. ซ่อมบำรุงรักษาง่าย

ข้อเสียของการสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star-Delta

  1. ถ้าต่อมอเตอร์ใช้งานในระบบของไหล เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มไฮดรอลิค แล้วมีการหยุดมอเตอร์ทันที จะทำให้เกิน Water Hammer, Water Surge ซึ่งมีผลทำให้ท่อระเบิด หรือใบพัดหัก
  2. ราคาสูงกว่าแบบ DOL เพราะใช้อุปกรณ์ มากกว่า
  3. วงจรซับซ้อน ถ้าต่อผิดอาจทำให้ระเบิดได้

สำหรับการหาระยะเวลาการตั้งค่าเปลี่ยนจากสตาร์เป็นเดลต้านั้น เป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก ในมอเตอร์แต่ละตัวจะมีพิกัดที่แตกต่างกัน ระยะเวลาที่ใช้นั้นต้องอิงกับค่าพิกัดของมอเตอร์ เช่น มอเตอร์ขนาด 7.5 kW 2 pole จะใช้เวลาไม่เกิน 45 วินาที หรือถ้าเป็น 4 pole จะใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาที ถ้าคุณเข้าใจวิธีการหาระยะเวลาที่ถูกต้องได้แล้ว เท่านี้คุณก็สามารถป้องกันการทำงานพร้อมกันของแมกเนติกตัวสตาร์ และตัวเดลต้า ไม่ให้ช็อตกันได้

ทั้งนี้หากท่านใดที่สนใจอุปกรณ์ที่ใช้ในการสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star-delta ทั้งแมกเนติก MPCB โอเวอร์โหลด รีเลย์ และไทเมอร์ สามารถติดเราได้ที่ info@factomart หรือผ่าน LifeChat ที่ด้านล่างขวามือของหน้าจอ อย่าลืมช่วยกด Like และ Share เป็นกำลังใจให้ทีมงานของเรา และกด Subscribe วิดีโอ จะได้ไม่พลาดบทความอื่นๆ ในอนาคต หรือต้องการความสะดวกและรวดเร็วที่สุด คุณสามารถกรอกข้อมูลผ่าน Platform ของเรา ที่ช่วยให้คุณติดต่อโดยตรงกับทางเรา หาก[สนใจสั่งซื้อสินค้า] และเรายังพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการต่อมอเตอร์หากคุณมีข้อสงสัย ขอบคุณครับ

Facebook Comments