คู่มือการเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์ S9HCL Schneider Square D รุ่น Classic+ ปี 2562/2019

Consumer Unit Classic+ Schneider

Share this post

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต S9HCL รุ่น Classic+ จาก Schneider Square D เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดที่พัฒนามาจากรุ่น Classic (SDCS) มาพร้อมดีไซน์ที่สวยงาน และในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีการเลือก เพื่อให้ผู้ที่สนใจหรือกำลังมองหาตู้คอนซูมเมอร์รุ่นนี้อยู่แต่ยังเลือกไม่ถูก รวมถึงอุปกณ์ในตู้ด้วยให้ได้อ่านก่อนเพื่อไม่ให้พลาดก่อนสั่งซื้อ จะเป้นอย่างไรนั้นตามมาดูกันเลย กลับดูรุ่นอื่นๆ ได้ที่ คอนซูมเมอร์ ยูนิต Schneider Square D

อย่าใช้รุ่น Classic ตกรุ่นแล้ว แพงกว่าด้วย *ใช้เป็น Classic+*

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต รุ่น Classic+ จะขึ้นต้นด้วย S9HCL ส่วนรุ่น Classic จะขึันต้นด้วย SDCS หากดูจาก Price List ปี 2018-2019 ก็จะเห็นว่าราคารุ่น Classic จะแพงกว่ารุ่น Classic+ อยู่ไม่น้อย ที่สำคัญรุ่น Classic เลิกผลิตไปแล้วเมื่อปี 2018 ทั้งนี้เราได้ทำการเทียบรุ่นที่ใช้แทนได้ในบทความ ตู้คอนซูมเมอร์ SDCS Schneider รุ่น Classic เลิกผลิตแล้วใช้รุ่น Classic+ (S9HCL) แทน 

ถ้าติดใหม่ใช้เป็นรุ่นบัสบาร์แยก Split Bus เถอะ

อย่างที่เราทราบกันมาแล้วบ้างว่า ทางการไฟฟ้ามีการบังคับใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟดูดไฟรั่วสำหรับการขอมิเตอร์ใหม่ มีผลตั้งแต่ 1 กันยายน 2559 ซึ่งตู้คอนซูมเมอร์แบบบัสบาร์แยก (Split Bus) ถือว่าเหมาะมาก ประหยัด ปลอดภัย ไฟไม่ดับทั้งบ้าน เนื่องจากมีการแยกกลุ่มกันดูดเฉพาะวงจรเสี่ยงที่ต้องผ่านอุปกรณ์กันดูดเช่น วงจรเต้ารับ เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ซึ่งตู้แบบบัสบาร์แยกนี้ยังถือว่าประหยัด เพราะจะแถมกันดูด RCCB มาด้วย ไม่ต้องซื้อแยกมีให้เลือกของขนาด 40A 30mA และ 63A 30mA

ในบทความ คู่มือการเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตและอุปกรณ์ให้กับบ้านหลังใหม่ (พร้อมตัวอย่างการเลือกซื้อ) เราได้เปรียบเทียบกันเลย กับ 3 แบบการติดตั้ง ปรากฎว่าการใช้ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต แบบบัสบาร์แยก (Split Bus) ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งถูกที่สุด แถมยังมีจำนวนช่องวงจรย่อยเหลือมากว่าอีก เพื่อเป็น Spare สำหรับการต่อขยายในอนาคต เพื่อความคุ้มค่า เราจึงแนะนำตู้คอนซูมเมอร์รุ่นบัสบาร์แยก Split Bus มากกว่า

ซอฟต์แวร์ช่วยเลือกตู้คอนซูมเมอร์ตัวเมนเบรกเกอร์และตัวเบรกเกอร์ลูกย่อย

สำหรับซอฟแวร์นี้จะช่วยให้พ่อบ้านแม่บ้านเลือกตู้คอนซูมเมอร์ รวมถึงอุปกรณ์ในตู้เช่น เมนเบรกเกอร์ และเบรกเกอร์ลูกย่อย ได้ง่ายขึ้นและถูกต้อง เพียง 3 ขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกตู้ว่าจะใช้แบบบัlบาร์แยกหรือบัสบาร์เดียวและจำนวนช่อง
  2. เลือกว่าจะใช้แบบเมนเบรกเกอร์ MCB หรือกันดูด RCBO และพิกัดกระแส
  3. เลือกว่าจะใช้แบบเบรกเกอร์ลูกย่อย MCB หรือกันดูด RCBO และพิกัดกระแส

เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้นเราเชื่อว่าพ่อบ้านแม่บ้านสามารถเลือกเองได้อย่างง่ายดาย พร้อมหรือยัง? ถ้าพร้อมมาเลือกกันเลย

หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ก็สามารถไปที่ คู่มือและบทความ ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต Consumer Unit ได้ และหากสนใจสินค้าหรืออยากเลือกซื้อสินค้า คุณไป ดูและเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต แบบออนไลน์ ที่หน้าเว็บของเรา มีสินค้าหลากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังมาให้คุณเลือกได้อย่างจุใจ ถ้ามีคำถามหรืออยากคอมเม้นท์อะไรให้คอนเม้นท์มาหาเราได้เลยนะครับ และถ้าไม่อยากพลาดบทความต่อๆ ไปของเราแล้วล่ะก็ ก็กด Subscribe ไว้เลยนะครับ

อุปกรณ์ที่ไว้สำหรับการเลือก

  1. Price List Residential & Building Solution ปี 2020 ใหม่ล่าสุด จาก Schneider Electric
  2. ซอฟต์แวร์ช่วยเลือกตู้คอนซูมเมอร์ตัวเมนเบรกเกอร์และตัวเบรกเกอร์ลูกย่อย​
Facebook Comments