Facebook Comments
04Dec
กระบวนการเซ็ตเครื่องจักรในการปั๊มชิ้นส่วนโลหะนั้นเป็นงานที่อาจจะทำผู้เซ็ตเครื่องจักรเกิดความรู้สึกกังวล เนื่องจากว่าจะต้องใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญในการเซ็ต เพราะถ้าหากการเซ็ตเครื่องจักรเกิดความผิดพลาดก็จะนำมาซึ่งความสูญเสียในด้านการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการหยุดชะงักของสายการผลิตหรือทำให้สินค้าและวัตถุดิบต่างๆ เสียหายจากความผิดพลาดในการเซ็ตเครื่องจักร และในบางครั้งอาจจะเกิดความสูญเสียทั้งสองอย่างเลย
กระบวนการผลิตจะมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ส่วนมากเป็นระบบอัตโนมัติเกือบทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่แล้วสายการผลิตจะใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานคนถึง 80% ในกระบวนการปั๊มขึ้นรูปต่างๆ และจะมีเพียงงานบางส่วนที่จะทำโดยแรงงานคน ในบทความจะนำเสนอกระบวนการขึ้นรูปโลหะ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน มีรายละเอียด ได้แก่ การเซ็ตแม่พิมพ์สำหรับกระบวนการขึ้นรูป การเซ็ตค่าพารามิเตอร์ของเครื่องปั๊ม และการเพิ่มค่าพารามิเตอร์ในตัวควบคุม
เมื่อเริ่มเซ็ตกระบวนการขึ้นรูป แม่พิมพ์จะเคลื่อนที่เข้าไปยังเครื่องกด ปั๊ม ตามตัวอย่างรูปด้านล่างนี้
หลังจากที่โหลดแม่พิมพ์เข้าไปในเครื่องกดปั๊มแล้ว (อาจจะโหลดด้วยเครน หรือรถโฟล์คลิฟท์) จะต้องทำการตรวจสอบว่าแม่พิมพ์ที่ต้องการใช้งานนั้นว่าถูกเซ็ตถูกต้องตรงกับที่ต้องการใช่หรือไม่ โดยประวัติการใช้งานต่างๆ ของแม่พิมพ์จะถูกเก็บไว้ในแม่พิมพ์ อย่างไรก็ตาม จำนวนข้อมูลที่เราต้องการใส่เข้าไปในแม่พิมพ์นั้นมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดหรือ RFID ก็ได้
สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้แม่พิมพ์ได้ แต่มีข้อจำกัดในด้านต่างๆ ดังนี้
เก็บจำนวนข้อมูลได้น้อย
โดยเฉพาะบาร์โค้ดแบบ 2D ถึงแม้ว่าจะเป็นบาร์โค้ดแบบ 3D ก็ยังมีข้อจำกัดด้านจำนวนข้อมูลที่เก็บได้เช่นกัน
ไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้
บาร์โค้ดไม่สามารถบันทึกข้อมูลระหว่างการผลิตและหลังการผลิตในตัวแม่พิมพ์ได้
อ่านข้อมูลแบบทางตรง
อ่านข้อมูลจากการเครื่องอ่านแบบทางตรงเท่านั้น อ่านค่าได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนค่าทับลงไปได้
แถบบาร์โค้ดเสียหายง่าย
บาร์โค้ดที่ข้อมูลเลือนหรือฉีกขาดจะไม่สามารถอ่านข้อมูลได้อีก
ด้วยเทคโนโลยีใหม่ของ RFID เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จะนำมาใช้สำหรับบ่งชี้แม่พิมพ์ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้
นำมาใช้งานซ้ำได้
พารามิเตอร์สามารถบันทึกข้อมูลและจำนวนการผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตแต่ละส่วน ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่บันทึกใน RFID มาวิเคราะห์ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิตต่อไป ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
อ่านข้อมูลได้ทุกช่องทาง
RFID สามารถอ่านข้อมูลได้จากทุกช่องทางที่มีตัวอ่านติดตั้งอยู่
เก็บข้อมูลได้เยอะ
RFID สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่า
เมื่อแม่พิมพ์เข้าไปในเครื่องปั๊มแล้ว ต้องเซ็ตพารามิเตอร์ของเครื่องปั๊ม เช่น ระดับความเร็วและแรงดันในการกดแม่พิมพ์ให้ถูกต้องก่อนที่เครื่องจักรจะเริ่มทำงาน
ตัวควบคุมแรงกดที่ใช้สำหรับควบคุมการเคลื่อนไหวของแม่พิมพ์นั้น มีการพัฒนาและใช้งานมาหลากรุ่น ข้อเสียของระบบควบคุมแบบเดิมๆ คือ ความยากที่จะปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ของตัวควบคุมเครื่องปั๊มให้สามารถทำงานแบบระบบอัตโนมัติได้ เนื่องจากความยุ่งยากของการเพิ่มอุปกรณ์เสริมของเซ็นเซอร์เข้าไปในระบบควบคุมแบบเดิม เช่น เราสามารถเพิ่มสาย I/O เข้าไปในเครื่องปั๊มได้ แต่เครื่องปั๊มจะไม่สามารถทำงานร่วมกับ I/O ได้
Wintriss press controller
Wintriss die interface
Link systems press controller
Link systems die interface
เป็นการปรับความสูง สำหรับการเปลี่ยนแม่พิมพ์ทุกครั้ง ความสูงของชัตเตอร์ต้องมีการปรับเพื่อให้เหมาะสมกับแม่พิมพ์แต่ละแบบ โดยมีวิธีการเซ็ตความสูงแม่พิมพ์ ดังนี้
มือ
ทำด้วยมือโดยใช้เทปหรือไม้บรรทัดในการระบุจุดที่ต้องการ
Absolute Encoder
เป็นเซ็นเซอร์แบบหนึ่งที่ให้สัญญาณเอาท์พุทออกมา ซึ่งสามารถบอกตำแหน่งองศาที่หมุนไปได้ เมื่อนำองศามาเปลี่ยนเป็นระยะแนวตรง จะสามารถบอกถึงระยะห่างของความสูงชัตเตอร์ได้
Linear transducer
เป็นเซ็นเซอร์ประเภทหนึ่งที่มีแม่เหล็กติดอยู่ในตัวอุปกรณ์ แม่เหล็กจะขยับในแนวทางตรงบนอุปกรณ์ Linear เพื่อส่งสัญญาณออกมาเป็นระยะที่แม่เหล็กขยับได้ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งง่ายที่สุดและตัวแม่เหล็กเป็นไม่ถูกับตัวอุปกรณ์ Linear ในระหว่างการทำงาน ทำให้อุปกรณ์ใช้งานได้นาน
ในระบบแบเก่าๆ นั้นต้องมีผู้ทำงานปีนไปยังแท่นที่ยกขึ้นที่ติดตั้งตัววัดแรงดัน แล้วอ่านตัวเลขที่แสดงอยู่ในหน้าจอ จากนั้นตะโกนบอกผู้ที่ทำงานอยู่ด้านล่าง Pressure transducer จะเป็นอุปกรณ์ที่ลดขั้นตอนแบบเดิมๆ ได้เพราะจะมีระบบส่งสัญญาณบอกค่าของความดันต่างๆ มาที่ตัวควบคุม ซึ่งเราสามารถควบคุมความดันตลอดการผลิตให้อยู่ในระดับที่สมบูรณ์โดยไม่ต้องไปที่หน้างาน เพราะอุปกรณ์จะส่งสัญญาณเอาท์พุทมาให้ตามที่เซ็ตไว้
การใช้เซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับต่างๆ เช่น ความสูงของชัตเตอร์และแรงดันไฮดรอลิกจะถูกส่งข้อมูลไปยังตัวควบคุม ซึ่งตัวควบคุมสามารถใช้ประโยชน์ในการเซ็ตตัวกระตุ้นต่างๆ เช่น มอเตอร์หรือปั๊ม ในการเพิ่มรอบของกระบวนการผลิตในเครื่องกด โดยการใช้แรงงานคนในการเซ็ตจะใช้เวลา 15-30 นาทีในการเซ็ต แต่หากการใช้ RFID จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็ทำให้การผลิตพร้อมทำงาน
ด้วยเทคโนโลยีของ RFID ทำให้สามารถเปลี่ยนแม่พิมพ์ได้ง่ายดายและเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด ทั้งยังมีความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิต ทำให้ในไลน์การผลิตเดียวสามารถสร้างสินค้าได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ลองคิดว่าดูถ้ากระบวนการผลิตคุณสามารถสร้างสินค้าได้ถึง 10 แบบ ประสบการณ์ด้านล่างนี้อาจจะทำให้คุณชอบมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้หลากหลาย ดังนี้
ใส่ชื่อสินค้า
ทุกครั้งที่ต้องการสร้างสินค้าใหม่ จะต้องมีการใส่ข้อมูลชื่อที่สินค้าที่ต้องการในการผลิต
โหลดแม่พิมพ์
แม่พิมพ์จะโหลดเข้าไปในเครื่องขึ้นรูป
ยืนยันแม่พิมพ์
เทคโนโลยี RFID จะช่วยยืนยันว่าแม่พิมพ์ที่ใช้นั้นถูกต้องและเครื่องขึ้นรูปจะอ่านวิธีการทำงานในแม่พิมพ์ที่มีการเซ็ตค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ไว้แล้ว
ไม่ใช้แรงงานคน
ข้อมูลจาก RFID จะใช้ในการเซ็ตทุกอย่างให้เป็นระบบอัตโนมัติ เช่น ความสูงของชัตเตอร์ แรงดันไฮดรอลิก ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการตรวจสอบ
ระบุตารางการผลิต
สามารถระบุตารางการผลิตและจำนวนสินค้าที่ต้องการได้ใน RFID
ใช้เวลาน้อย
เมื่อเริ่มกระบวนการผลิต ทั้งกระบวนการจะถูกเซ็ตให้เริ่มการผลิตได้ภายใน 5 นาทีเท่านั้น
แจ้งเตือนผ่าน HMI
ถ้าหากพบข้อผิดพลาดระหว่างการผลิต จะมีการแจ้งเตือนผ่าน HMI ที่ห้องควบคุม ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้เซ็นเซอร์เพิ่มเติม เราจะอธิบายรายละเอียดในบทความหน้าเกี่ยวกับ “การลดข้อผิดพลาดในกระบวนการขึ้นรูป”
บันทึกลง HMI
ในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตทั้งหมด ข้อมูลของการผลิตจะถูกบันทึกในแม่พิมพ์และ HMI เพื่อใช้วิเคราะห์การทำงานและตารางการบำรุงรักษาแม่พิมพ์ต่อไป
วีดีโอเกี่ยวกับตัวอย่างการใช้ HMI ในเครื่องปั๊มชิ้นส่วนโลหะจาก QR Code
เราได้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เป็นระบบอัตโนมัติในการเซ็ตเครื่องปั๊มชิ้นส่วนโลหะได้ ในแต่ละสายการผลิตจะมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงแต่ก็มาจากหลักความคิดเดียวกัน ซึ่งเราหวังว่าบทความนี้จะทำให้ท่านผู้อ่านเกิดความคิดที่ดีๆ และนำเทคโนโลยีที่น่าสนใจไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสายการผลิตได้
คุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ