โครงสร้างน่ารู้ของ Selector Switch

กลับมาพบกับซีรีย์บทความกันอีกแล้วนะคะ ในครั้งนี้ขอแนะนำ Selector Switch สวิทช์สำหรับการควบคุมกระแสไฟฟ้าให้ทุกท่านได้รู้จักกันค่ะ ในส่วนแรกเราขอแนะนำโครงสร้างกันก่อน

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับซีเล็คเตอร์สวิทช์ Selector Switch ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

โครงสร้าง ซีเล็คเตอร์สวิทช์ (Selector Switch)

ซีเล็คเตอร์สวิทช์ ทั่วไปจะมี 2 ประเภท คือ แบบ สวิทช์ 2 ทางและสวิทช์ 3 ทาง

สวิทช์ 2 ทาง หรือ 2 position

เหมาะสำหรับงานออกคำสั่งการทำงานของเครื่องจักร 1 คำสั่ง เช่น ใช้ในการเปิด-ปิด เป็นต้น นิยมใช้ในการควบคุม เปิดหรือปิดปั๊มน้ำ

สวิทช์ 3 ทาง หรือ 3 position

 เหมาะสำหรับใช้ควบคุมเครื่องจักรที่มากกว่า 1 คำสั่ง เช่น ตำแหน่ง 1-0-2 เมื่อสวิทช์ไปที่ตำแหน่ง 1 จะทำให้มอเตอร์หมุนไปทางทิศตามเข็มนาฬิกา และเมื่อบิดมาที่ตำแหน่ง 0 มอเตอร์จะหยุดทำงาน และเมื่อบิดไปที่ตำแหน่ง 2 มอเตอร์จะหมุนไปทางทิศทวนเข็มนาฬิกา เป็นต้น ตัวอย่างเช่น มอเตอร์ที่ใช้ในการสูบน้ำ

โดยโครงสร้างของสวิตท์ปุ่มกดสามารถแยกได้ 3 ส่วนคือ

หมายเลข 1

หัวสวิตท์ทำด้วยโลหะหรือพลาสติกซึ่งจะมีหลายหลายสีให้เลือกใช้งาน

หมายเลข 2

ป้ายแสดงชื่อของซีเล็คเตอร์ เพื่อกำกับอุปกรณ์ที่ควบคุม

หมายเลข 3

ฐานยึดระหว่างหัวสวิตท์และตัวล็อกหน้าสัมผัส โดนจะมีเกลียวที่ฐานเพื่อไว้สำหรับยึดอุปกรณ์กับหน้าตู้ควบคุม

หมายเลข 4

หลอดไฟ LED ที่ใช้แสดงสถานะ (LED สีเหลืองช่องกลาง) ซึ่งจะถูกประกบด้วยหน้าสัมผัสทั้ง 2 ด้าน

หมายเลข 5

หน้าสัมผัส NO และ NC

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับโครงสร้างของ Selector Switch หวังว่าข้อมูลที่เราเตรียมไว้ให้จะเป็นประโยชน์กับท่านไม่มากก็น้อย

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Selector Switch ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments