ประเภทของ ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต (Consumer Unit)

Consumer Unit

Share this post

ในบทความนี้จะนำคุณมารู้จักกับประเภทของตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต การแบ่งประเภทจะยึดตามการติดตั้ง โดยคุณอาจจะคุ้นเคยกับตู้คอนซูมเมอร์ ที่เรียกว่า DIN Rial ที่ต้องติดบนราง และอาจเคยเห็นแบบที่ไม่ต้องใช้ราง หรือเรียกว่า Plug on ดังนั้นเราจะพาคุณมาดูว่าทั้ง 2 แบบนี้ มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไร และแบบไหนที่น่าซื้อไปใช้งาน 

คุณสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ คู่มือและบทความ ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต Consumer Unit  ที่รวบรวมบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย เป็นตัวช่วยให้คุณเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิตไปใช้งานได้ง่ายขึ้น

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต แบบ Plug On

การติดตั้งแบบ Plug on เป็นเทคโนโลยีจากอเมริกาที่มีความปลอดภัยสูง หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้น สนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำดูดส่วนคลิปขาหนีบของเบรกเกอร์ให้ยึดเกาะแท่งบัสบาร์ให้แน่นยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการอาร์ค จนเกิดประกายไฟที่เป็นสาเหตุของการเกิดไฟไหม้ตามมาได้

ระบบปลั๊กออนมาพร้อมฟังก์ชั่นพิเศษที่ส่วนคลิปขาหนีบจะปรับเข้าหาเบรกเกอร์โดยอัตโนมัติ ทำให้การติดตั้งเบรกเกอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ไม่ต้องไปร้อยสายไฟให้ยุ่งยากเหมือนแบบ DIN Rail เพียงแค่นำเบรกเกอร์ไปติดที่บัสบาร์เท่านั้น เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิตแบบ Plug on จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ Single Bus บัสบาร์เดี่ยว และแบบ Split Bus บัสบาร์แยก โดยสินค้าที่พบบ่อยก็แบรนด์ Schneider Electric, Bticino และ CHANG

แบบบัสบาร์เดี่ยว Single Bus

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ที่เป็นแบบบัสบาร์เดี่ยว จะมีส่วนที่ใช้ติดตั้งเมนเบรกเกอร์ และเบรกเกอร์ลูกย่อยเท่านั้น คุณสามารถออกแบบวงจรแบบใดก็ได้ เพื่อใช้ป้องกันอันตรายการไฟลัดวงจร ไฟเกิน ไฟรั่ว ไฟดูด มีขนาดช่องให้เลือกหลายแบบทั้ง 4 ช่อง 8 ช่อง 10 ช่อง 14 ช่อง และ 18 ช่อง 

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต แบบบัสบาร์เดี่ยว ของ Schneider 

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต แบบบัสบาร์เดี่ยว ของ Bticino

แบบบัสบาร์แยก Split Bus

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการขอมิเตอร์ไฟฟ้าบ้านใหม่ ว่าจำเป็น ต้องติดตั้งอุปกรณ์กันดูด ทุกครั้ง และมีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว ทำให้ทางผู้ผลิตหลายรายจึงออกแบบตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ให้มีส่วนที่ติดตั้งอุปกรณ์กันดูดจำพวก RCBO และ RCCB แยกออกมาจากส่วนของเบรกเกอร์โดยเฉพาะ เรียกกันว่า แบบบัสบาร์แยก Split Bus 

ตู้แบบบัสบาร์แยกนั้น นอกจากมีส่วนวงจรของเบรกเกอร์ลูกย่อยแล้ว จะมีการเพิ่มส่วนวงจรกันดูดเพิ่มเข้าไป  ข้อดีก็คือ หากเกิดไฟรั่วหรือไฟดูดขึ้น ไฟจะไม่ดับทั้งบ้าน มันจะตัดเฉพาะส่วนที่ติดตั้งกันดูดไว้ ให้เลือกเฉพาะกลุ่มวงจรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องล้างจาน

Li

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต แบบบัสบาร์แยก ของ Schneider 

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต แบบ DIN rail

การติดตั้งแบบ DIN rail หรือที่เรียกกันติดปากว่า รางปีกนก เป็นการติดตั้งแบบเก่าที่ต้องนำเบรกเกอร์ไปยึดติดกับรางเหล็ก แล้วใช้สายไฟเชื่อมต่อ ตู้แบบนี้จะมีแบรนด์ที่ผลิต เช่น ABB, Bticino, Safe-T Cut, SENCE และแบรนด์อื่นๆ ที่ผลิตจากประเทศจีน การติดตั้งแบบ DIN Rail จะต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้เบื้องต้น

ส่วนรูปแบบวงจรสามารถออกแบบได้หลากหลายเหมือนกันแบบ Plug on แต่การติดตั้งแบบ DIN rail ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า และอาจเกิดข้อผิดพลาดขณะติดตั้งได้ แต่ตู้แบบนี้จะมีความคงทน ใช้งานได้นานกว่า

Consumer Unit ABB

ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต แบบ DIN rail ของ ABB

จากบทความนี้คุณก็รู้แล้วว่าตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนั้นมีให้เลือกได้กี่ประเภท ทั้ง 2 ประเภทนี้ก็มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป แบบ Plug on ที่เด่นในเรื่องติดตั้งง่าย และแบบ DIN rail ที่ทนทาน คุณสนใจข้อมูลเกี่ยวกับตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ก็สามารถไปที่ คู่มือและบทความ ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต Consumer Unit ได้

หากสนใจสินค้าหรืออยากเลือกซื้อสินค้า คุณไป ดูและเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต แบบออนไลน์ ที่หน้าเว็บของเรา มีสินค้าหลากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังมาให้คุณเลือกได้อย่างจุใจ ถ้ามีคำถามหรืออยากคอมเม้นท์อะไรให้คอนเม้นท์มาหาเราได้เลยนะครับ และถ้าไม่อยากพลาดบทความต่อๆ ไปของเราแล้วล่ะก็ ก็กด Subscribe ไว้เลยนะครับ

Facebook Comments