รู้หรือไม่? Converter มีด้วยกันกี่ประเภท

ยินดีต้อนรับครับ จากครั้งที่แล้วเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของคอนเวอร์เตอร์ไปแล้ว วันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูประเภทต่างๆ ที่ใช้กันในงานอุตสาหกรรมกันครับ ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Converter คอนเวอร์เตอร์ ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

ประเภทของ Converter

Converter หรืออุปกรณ์แปลงสัญญาณต่างๆ ให้เป็นสัญญาณมาตรฐานที่ใช้กันตามอุตสาหกรรมนั้นจะมีด้วยกันหลายประเภท หากจะแบ่งตามลักษณะของอินพุตก็สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือแบบที่รับสัญญาณอินพุตประเภทใดประเภทหนึ่งอย่างเดียว เช่น อุณหภูมิ, แรงดัน, กระแส และแบบที่สามารถรับอินพุตได้หลากหลายซึ่งจะเรียกว่า Multifunctional

Voltage Converter

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการนำสัญญาณแรงดันที่ได้รับมาแปลงเป็นสัญญาณมาตรฐาน

Current Converter

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการนำสัญญาณกระแสที่ได้รับมาแปลงเป็นสัญญาณมาตรฐานตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น Current Coverter ของ ENDA รุ่น ECCC เป็นรุ่นที่ใช้แปลงสัญญาณกระแสไฟฟ้า สามารถวัดได้ทั้ง AC, DC, True RMS สัญญาณเอาท์พุตเป็นแบบกระแสและแรงดัน

ภาพ Current Converter ของ ENDA รุ่น ECCC

Temperature Converter

เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่ได้จากเทอร์โมคัปเปิล, อาร์ทีดี มาแปลงเป็นสัญญาณมาตรฐาน ตัวอย่าง Temperature Converter ของ PR Electronics รุ่น 3113 คุณสมบัติของรุ่นนี้ คือ

มีความโดดเด่นทางด้านดีไซน์ถูกออกแบบมาให้มีความบางเฉียบถึง 6mm ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งเป็นอย่างมาก

สามารถรับสัญญาณได้ทั้ง อาร์ทีดี,  เทอร์โมคัปเปิล

สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้

ความแม่นยำสูงกว่า 0.05% ของ span

สามารถปรับการตอบสนองได้ตั้งแต่ 60ms-60s

มีปุ่ม DIP-switches ใช้ปรับตั้งค่า Input และ Output ได้ตามที่ต้องการ

ภาพ Temperature Converter ของ PR Electronics รุ่น 3113

Pulse Converter

เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณพัลส์ ซึ่งสามารถแปลงสัญญาณได้หลากหลายตามลักษณะการใช้งานที่เหมาะสม

Universal transmitter DIN Type

เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่สามารถติดตั้งบนราง DIN ได้สามารถรับค่าสัญญาณ Input ชนิดต่างๆ เช่น แรงดัน, กระแส, ความถี่, อุณหภูมิ ซึ่งได้ทั้งไฟกระแสตรงและไฟกระแสสลับ จะแปลงค่าสัญญาณเหล่านี้ให้เป็นสัญญาณ Output มาตรฐานที่หลากหลายรูปแบบ เช่น กระแส 4..20mA หรือ แรงดัน 0-10V ได้ ตัวอย่างรุ่นที่น่าสนใจคือ Universal transmitter ของ PR Electronics รุ่น 4114 สามารถรับอินพุตได้ทั้งไฟกระแสตรงและกระแสสลับ สามารถรับสัญญาณ RTD, TC, Ohm, potentiometer, mA, V มีเอาท์พุตมีทั้งแบบกระแสและแรงดัน

ภาพ Universal transmitter DIN Type ของ PR Electronics รุ่น 4114

Pulse isolator

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับ Sensor ประเภทที่ใช้สัญญาณ Output เป็นแบบ Namur ซึ่งจำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟชนิดพิเศษที่จำกัดกระแสและแรงดัน โดย Pulse Isolator จะทำหน้าที่นี้และเป็นตัวขยายสัญญาณ Output ให้เป็น Relay หรือ Transistor แบบ Open collector ซึ่งสามารถขับโหลดขนาดใหญ่ได้ ตัวอย่างรุ่น 9202A ของ PR Electronics

ภาพ Pulse isolator ของ PR Electronics รุ่น 9202A

Programmable transmitter

เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าที่สามารถโปรแกรมเลือกค่าอินพุตตามที่ต้องการได้ ซึ่งสามารถรับสัญญาณ Input จาก Thermocouple, RTD ที่วัดอุณหภูมิ ซึ่งจะแปลงค่าสัญญาณเหล่านี้ให้เป็นสัญญาณ Output มาตรฐานที่หลากหลายรูปแบบ เช่น กระแส 4..20mA หรือ HART protocol เช่น Programmable transmitter ของ PR Electronics รุ่น 5335D

ภาพ Programmable transmitter ของ PR Electronics รุ่น 5335D

จากที่เราได้รู้จัก Converter กันไปแล้วว่ามีหน้าที่ทำอะไร ทาง Factomart.com ได้จัดทำเนื้อหาที่เกี่ยวกับคอนเวอร์เตอร์ไม่ว่าจะเป็น หลักการทำงาน, วิธีการเลือกซื้อ, วิธีการติดตั้งใช้งาน, การประยุกต์ใช้งาน

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Converter คอนเวอร์เตอร์ ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments