สวัสดีครับ ^^ ยินดีต้อนรับอีกครั้งครับกับบล็อก Factomart.com หลังจากที่เราได้เรียนรู้ถึงหลักการพื้นฐานในการทำงาน, ประเภทต่างๆ, วิธีการเลือกซื้อเซอรกิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีการติดตั้ง จะติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไปดูกันเลยครับผม ^^
วิธีการติดตั้งนี้สามารถไปใช้กับเบรกเกอร์ไห้หลายประเภทเลย ไม่ว่าจะ เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB (Miniature Circuit Breaker), เบรกเกอร์ MCCB (Molded Case Circuit Breaker) และเครื่องตัดไฟรั่ว RCD RCCB RCBO ซึ่งจะติดตั้งไว้ใน ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท Consumer Unit หรือ ตู้โหลดเซ็นเตอร์ Load Center ความปลอดภัยจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับการติดตั้งให้ถูกวิธี บางครั้งเบรกเกอร์ไม่ตัดวงจรหรือตัดวงจรบ่อยก็มาจากการติดตั้งที่ผิดๆ ดังนั้นถ้าไม่อยากให้พบเจอกับปัญหาเหล่านั้น คุณก็ควรศึกษาอย่างดีๆ ก่อน นอกจากนี้เรายังมีข้อมูลเกี่ยวกับเบรกเกอร์อีกมากมายเตรียมให้คุณที่นี่
วิธีการติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
การติดตั้งอุปกรณ์ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการใช้งาน เพราะหากทำการติดตั้งผิดวิธีอุปกรณ์อาจเกิดความเสียหายได้และอาจทำให้กระบวนการผลิตเกิดความล้าช้าในการซ่อมบำรุงอีกด้วย ดังนั้นก่อนทำการใช้งานหรือจะติดตั้งอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามเราควรศึกษาถึงวิธีการติดตั้ง การเดินสายไฟ รวมถึงข้อควรระวังในการใช้งาน
การรู้จักส่วนประกอบของอุปกรณ์เป็นอย่างดีนั้นถือเป็นสิ่งแรกที่ควรดูเพราะจะช่วยให้เข้าใจถึงการติดตั้งและใช้งานอุปกรณ์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่วนประกอบของเบรกเกอร์ก็อาจจะแตกต่างกันตามแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น เช่น มีช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ช่วย Auxiliaries, แถบแถบบอกสถานะการเกิด Fault Trip, Push to Trip เป็นปุ่มสำหรับทดสอบอุปกรณ์ทางกลที่ใช้สำหรับปลดวงจร โดยทั่วไปจะทำการทดสอบปีละครั้ง
ภาพแสดงบอกส่วนประกอบภายนอกต่างๆ ของเซอร์กิตเบรกเกอร์
ภาพแสดงบอกส่วนประกอบภายในต่างๆ ของเซอร์กิตเบรกเกอร์
ภาพแสดงวิธีการเข้าสายของเซอร์กิตเบรกเกอร์
วิธีการเข้าสายของเซอร์กิตเบรกเกอร์ให้สังเกตจุดเข้าโดยทั่วไปแล้วจะมีอักษร L ซึ่งเป็นจุดเข้าสายเส้นไฟ (ให้ใช้สีดำ) และ N เป็นจุดเข้าสายศูนย์ (ให้ใช้เส้นสีเทา) ส่วนด้านไฟออกก็ให้ใช้สีตรงกันได้เลย
อุปกรณ์เสริมของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
วิธีการติดตั้งอุปกรณ์ก็ควรติดตั้งให้เหมาะสมกับตัวอุปกรณ์ที่ได้ออกแบบมาก เช่น หากจะทำการติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ประเภท Air Circuit Breakers (ACB) ที่เป็นแบบ Drawout ซึ่งเบรกเกอร์แบบนี้จะเป็นชนิดชักออก เหมาะกับการติดตั้งบนฐานรางเลื่อน มากกว่าแบบ Fixed นอกจากรายละเอียดที่กล่าวไว้แล้วนั้น อุปกรณ์เสริมก็ถือเป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์มากยิ่งขึ้นและยังช่วยเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการทำงานอีกด้วย ซึ่งอุปกรณ์เสริมของเซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นจะมีทั้งแบบติดตั้งภายในและติดตั้งภายนอก ตัวอย่างเช่น
- Shunt Trip เป็นชุดควบคุมการทริประยะไกล ติดตั้งร่วมกับเบรกเกอร์เป็นการควบคุมแบบรีโมทโดยไม่ต้องเดินมาปลดวงจรที่ตัวเบรกเกอร์
- Undervoltage Trip ใช้ติดตั้งเพื่อตรวจจับแรงดันที่จ่ายเข้ามายังเบรกเกอร์ ถ้าแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามาต่ำกว่าที่กำหนดก็จะสั่งปลดเบรกเกอร์ทันที
- Auxiliary Switch ใช้แสดงสถานะของเซอร์กิตเบรกเกอร์ขณะนั้นว่า ON หรือ OFF/TRIP
- Alarm Switch เป็นอุปกรณ์หน้าสัมผัสช่วย ซึ่งจะเปลี่ยนสถานะเมื่อเบรกเกอร์ปลดวงจร
- Ground Fault Shunt Trip เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สั่งปลดวงจรเมื่อมีกระแสรั่วไหลออกจากระบบเกินค่าที่ตั้งไว้
- Handle Padlock ใช้ล็อคเบรกเกอร์ให้อยู่ในตำแหน่ง ON หรือ OFF
- Cylinder Lock เป็นกุญแจสำหรับล็อกเบรกเกอร์ไว้ในตำแหน่ง OFF เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีกุญแจมา ON เบรกเกอร์
ภาพแสดงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ของแบรนด์ LS
เป็นอย่างไรบ้างครับ หากท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ หรือท่านใดต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์, ประเภทต่างๆ ของเซอร์กิตเบรกเกอร์, วิธีการเลือกซื้อเซอร์กิตเบรกเกอร์, การใช้งานเซอร์กิตเบรกเกอร์ในงานอุตสาหกรรม ทางFactomart.com ได้จัดทำไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ หรือท่านใดต้องการเลือกชมสินค้าสามารถเข้ามาได้ที่ Factomart.com ครับผม