หลักการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

สวัสดีครับ….พบกันอีกครั้งกับบล็อก Factomart.com แหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์อุตสาหกรรม วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ป้องกันกระแสลัดวงจร อุปกรณ์นั้นคือเซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นเอง อย่างแรกที่สำคัญเลยก็คือต้องเข้าใจในการทำงานของเบรกเกอร์เสียก่อน เบรกเกอร์ทุกประเภทไม่ว่าจะไม่ว่าจะ เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB (Miniature Circuit Breaker)เบรกเกอร์ MCCB (Molded Case Circuit Breaker) และเบรกเกอร์กันดูด RCBO RCBB ที่ใช้ติดตั้งใน ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท หรือ ตู้โหลดเซ็นเตอร์ จะมีหลักการทำงานพื้นฐานที่คล้ายกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ>>>>

นอกจากนี้คุณยังสามารถมาดูข้อมูลเกี่ยวกับ เบรกเกอร์ ทั้งหมด ได้ที่แหล่งรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเบรกเกอร์ ที่รวมเอาเบรกเกอร์หลายประเภทไว้ให้คุณครบถ้วน

Thermal Trip

หลักการทำงานประเภทนี้จะมีโครงสร้างภายในประกอบด้วย แผ่นโลหะไบเมทัล (bimetal) 2 แผ่น ซึ่งทำจากโลหะที่ต่างชนิดกันมีสัมประสิทธิ์ความร้อนไม่เท่ากัน เมื่อมีกระแสไหลผ่านโลหะไบเมทัลจะทำให้โลหะไบเมทัลเกิดการโก่งตัวแล้วไปปลดอุปกรณ์ทางกลทำให้เบรกเกอร์ตัดวงจรเรียกว่าเกิดการทริป (trip)

Magnetic Trip

การทำงานประเภทนี้จะอาศัยหลักการทำงานของอำนาจสนามแม่เหล็ก เมื่อวงจรเกิดกระแสลัดวงจรหรือมีกระแสเกินจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มสูงแล้วทำการปลดอุปกรณ์ทางกลไก ทำให้เบรกเกอร์เกิดการตัดวงจรหรือเปิดวงจรขึ้น ซึ่งการทำงานแบบนี้จะตัดวงจรได้เร็วกว่าแบบ Thermal Trip

Solid State Trip หรือ Electronic Trip

หลักการทำงานประเภทนี้ได้นำวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ร่วมกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ สามารถปรับค่ากระแสทริปให้ทำงานในย่านต่างๆ ได้ โครงสร้างภายในจะมีหม้อแปลงกระแส (CT: Current Transformer) อยู่ภายในตัวเบรกเกอร์ ทำหน้าที่แปลงกระแสให้ต่ำลงและมีไมโครโปรเซสเซอร์ทำหน้าที่วิเคราะห์กระแส หากกระแสมีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้จะสั่งการให้มีการปลดวงจรออก

Thermal-Magnetic Trip

เมื่อมีกระแสในวงจรเกินค่าพิกัดหน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์จะเปิดวงจร โดยอาศัยทั้งความร้อนและการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กช่วยในการปลดกลไกหน้าสัมผัสให้เปิดวงจร

หลักการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

เป็นอย่างไรบ้างครับ หากท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ หรือท่านใดต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์, วิธีการเลือกซื้อเซอร์กิตเบรกเกอร์, วิธีการติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์, การใช้งานเซอร์กิตเบรกเกอร์ในงานอุตสาหกรรม ทางFactomart.com ได้จัดทำไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ หรือท่านใดต้องการเลือกชมสินค้าสามารถเข้ามาได้ที่ Factomart.com ครับผม

ดาวน์โหลดคู่มือเบรกเกอร์ Circuit Breaker ได้ฟรี!!!

ข้อมูลเกี่ยวกับเบรกเกอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะข้อมูลประเภทเบรกเกอร์ การเลือก การติดตั้ง ตลอดจนการใช้งาน รวบรวมไว้ในรูปแบบเอกสารให้คุณดาวน์โหลดฟรี

เบรกเกอร์ ชไนเดอร์ Schneider