บทที่ 1 ภาพรวมของระบบการส่งจ่ายกําลังไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์
ในบทที่ 1 เราพูดถึงภาพรวมตั้งแต่ กระแสไฟฟ้าแรงดันกลางที่ผ่าน Transformers ให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ เข้ามาที่ตู้ MDB (Main Distribution Board) แล้วกระจายไปที่ตู้ Distribution board ต่างเพื่อที่จะส่งพลังงานให้กับโหลดต่างๆ อาทิเช่นระบบ HVAC เข้าโหลดเซ็นเตอร์แยกเฟสจาก 3 เฟสให้กลายเป็น Single-Phase ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลดแสงสว่างปลั๊กไฟ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หรือพวกเครื่องจักร ตู้ Control Panel ที่ใช้ควบคุมเครื่องจักร หรือพวกมอเตอร์ที่มีตู้ไฟฟ้าจำเพาะที่ชื่อว่าตู้ Motor Control Center
สมัครรับ
ภาพรวมของระบบ
ไฟฟ้าที่ส่งจ่ายมาจากการไฟฟ้าจะเข้าหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงดันให้เหมาะกับการใช้งาน หลังจากนั้นจะส่งไปยังแผงควบคุมไฟฟ้าหลักที่เรียกว่า ตู้สวิตช์ประธาน (Main Distribution Board (MBD)) และจากตู้สวิตช์ประธารนั้นพลังงานจะถูกจ่ายไปทั่วพื้นที่ จากตู้สวิตช์ประธารก็จะจ่ายไฟฟ้าไปยังแผงสวิตช์หรือแผงไฟฟ้า (Distribution Board (DB))อื่นๆ และจากแผงสวิตช์ก็จะจ่ายไฟฟ้าไปยังแผงย่อย (Panel Board) ซึ่งแผงย่อยแต่ละแผงจะมีหน้าที่จ่ายไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ไป
ซึ่งบางพื้นที่อาจจำเป็นต้องให้แหล่งจ่ายไฟเฉพาะสำหรับมอเตอร์ แผงสวิตช์ที่ใช้สำหรับมอเตอร์เหล่านี้เรียกว่า แผงควบคุมมอเตอร์ (Motor Control Center (MCC))
เรามีวิดีโอ 2 อันที่มีรายละเอียดไว้อธิบายแนวคิดนี้ได้อย่างชัดเจน
ตู้ไฟฟ้า
นี่คือส่วนประกอบของระบบการส่งจ่ายกำลังไฟ เริ่มจากตู้สวิตช์ประธาน (MDB) ไปยังแผงการกระจายที่เล็กที่สุด ซึ่งเราจะอธิบายถึงวัตถุประสงค์และหน้าที่ของแผงต่างๆ รายละเอียดต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์หลักๆ ที่คุณจะต้องพบในแผงควบคุม
ประเภทของแผงจ่ายไฟฟ้ามีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป แบ่งได้ดังนี้
- ตู้ MDB (Main Distribution Board)
- ตู้ Distribution Board
- ตู้โหลดเซ็นเตอร์ Load Center
- ศูนย์ควบคุมมอเตอร์ (Motor Control Center)
- ตู้ Capacitor Bank
ตู้ไฟฟ้าในระบบส่งจ่ายกําลังไฟฟ้า (Power Distribution Panels)
ตู้ MDB (Main Distribution Board)
ส่วนที่รับไฟฟ้าแรงต่ำจากหม้อแปลง เพื่อจ่ายไฟไปแผงสวิตช์ (DB) ในตู้สวิตช์ประธานจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ ฟิวส์ อุปกรณ์เครื่องวัดทางไฟฟ้าต่างๆ คาปาซิเตอร์ ชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารอง วงจรสํารองหรืออื่น ๆ เราจะพูดถึง 4 วัตถุประสงค์หลักของเมนสวิทซ์บอร์ด ชิ้นส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เหล่านี้
ตู้ Distribution Board
เป็นแผงที่รับไฟจากตู้สวิตช์ประธานแล้วจ่ายไฟไปที่แผงย่อย (Distribution Board) หรือ จ่ายไปที่โหลดที่ใช้กำลังมาก ๆ เช่น มอเตอร์กําลัง เครื่องทําความร้อนขนาดใหญ่ เป็นต้น
ตู้โหลดเซ็นเตอร์ Load Center
เป็นแผงไฟฟ้าที่รับไฟจากแผงสวิตช์ แล้วแยกการจ่ายไฟฟ้าออกเป็นวงจรย่อย หลายๆวงจรย่อย เพื่อแยกการจ่ายไฟ 3 เฟส เป็นวงจรเฟสเดียว เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับโหลดต่าง ๆ เช่น แสงสว่าง คอมพิวเตอร์ รวมทั้งแผงควบคุมของเครื่องจักร
ศูนย์ควบคุมมอเตอร์ (Motor Control Center)
ศูนย์ควบคุมมอเตอร์เหมือนแผงกระจายไฟ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมชุดมอเตอร์ขนาดใหญ่หรือมอเตอร์จำนวนหลายๆตัว โดยที่แผงศูนย์ควบคุมมอเตอร์นี้จะรับไฟฟ้าจากแผงสวิตว์
ตู้คอนโทรล Electrical Control Panels
Sign up to get a notification
ระบบอื่นๆที่เพิมประสิทธิภาพให้กับระบบการส่งจ่ายกําลังไฟฟ้า
Emergency Power System ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
เป็นระบบที่มีไว้สำหรับการรองรับในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักขัดข้อง ซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนไปใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองชั่วคราวได้ เช่น เครื่องปั่นไฟ หรือ UPS ซึ่งทั้งสองระบบนี้สามารถติดตั้งแบบอัตโนมัติ หรือ Manual ที่ใช้คนสลับแหล่งจ่ายไฟฟ้าได้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า
Energy Management System ระบบบริหารจัดการพลังงาน
เป็นการ Monitor การใช้พลังงานไฟฟ้าและทำการปรับปรุงในเชิงการปรับพฤติกรรม หรือใช้อุปกรณ์เข้าช่วยเพื่อให้ใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความสิ้นเปลืองลงอีกด้วย
ตู้ควบคุมคุณภาพระบบไฟฟ้า (Power Quality Panels)
ตู้ Capacitor Bank
แผงนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ตัวเก็บประจุและคอนโทรลเลอร์ คอนโทรลเลอร์จะคอยตรวจสอบค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ และเชื่อมต่อตัวเก็บประจุเข้ากับวงจร เพื่อแก้ไขค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์
Harmonic Filters
ในการติดตั้งใช้งาน UPS และ VSD (Variable Speed Drives) นั้น ถือว่าเป็นอุปกร์หลักที่สร้างสัญญาณรบกวนฮาร์โมนิกให้แก้ระบบไฟฟ้า ดังนั้นควรติดตั้งอุปกรณ์กรองสัญญาณรบกวนฮาร์โมนิก (Harmonic Filters) ควบคู่ไปด้วยเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนดังกล่าวในระบบไฟฟ้า
ได้เห็นภาพรวมของระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์ไปแล้วนะครับ ตั้งแต่ วิดีโอบอกเล่าภาพรวม ตู้ไฟฟ้า และฟังก์ชัน ของแต่ละประเภทของตู้ไฟฟ้า ไปจนถึงระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน และระบบบริหารจัดการพลังงาน อีกทั้งยังได้เห็นตู้ควบคุมคุณภาพของระบบไฟฟ้า อย่างตู้ Capacitor Bank อีกด้วย
ในบทต่อไปเราจะพูดถึง Design จากการไฟฟ้าเข้ามาตัวอาคาร