สวัสดีครับ Factomart กลับมาใหม่และตอนนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Compomax Holding ไปแล้ว วันนี้เราจะมาแนะนำตัวอุปกรณ์เกียวกับ Industrial Networking หรืออุปกรณ์เน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรมว่ามันแตกต่างกับที่ใช้ในบ้านหรือที่ใช้ไว้ในออฟฟิตอย่างไร
ทำไมไม่ใช้อุปกรณ์เหมือนกัน?
หลายๆครั้งระบบเน็ตเวิร์กจะถูกลืมหรือไม่ได้มีการคำนึงถึงในระบบออโตเมชั่น โดยที่วิศวกรไฟฟ้าหรือว่าวิศวกรควบคุมไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในทางเรืองนี้โดยตรงและจะปล่อยให้กับทางเจ้าหน้าที่ITเป็นผู้ดูแล ปัญหาที่เราพบก็คืออุปกรณ์และเทคโนโลยี ที่ใช้สำหรับระบบ IT (Information Technology)นั้นค่อนข้างที่จะแตกต่างกับที่ใช้ในระบบ OT (Operational Technology)ที่ใช้ในการผลิตทาง Factomart ถึงได้สร้างวีดีโอนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะแนะนำและอธิบายถึง factorที่ควรคำนึงถึงเวลาที่ต้องติดตั้งระบบเน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรม
Agenda
- เมื่อไหร่ที่เราต้องใช้ระบบเน็ตเวิร์ก
- ผลกระทบของการไม่ออกแบบและติดตั้งระบบ Industrial Network ในการผลิต
- อะไรคือ OT(Operational Techlogy) แตกต่างกับระบบ IT (Information Technology)
- Our Products & Brands สินค้าและแบรนด์ ที่กลุ่มCompomax Holding มีจำหน่าย
- Challenges ของการออกแบบระบบ Network ในอุตสาหกรรม
- ตัวอย่างอุปกรณ์ Industrial Network ในงานอุตสาหกรรม
เมื่อไหร่ที่การผลิตต้องใช้ Network?
แบ่งเป็น 3 จุดประสงค์หลักๆด้วยกัน
- เพื่อควบคุมเครื่องจักรตัว PLC , HMI , SCADA อุปกรณ์ต่างๆในการผลิตCommunicateหรือ สือสารกันผ่านระบบเน็ตเวิร์กทั้งนั้นไม่ว่าจะเป้นระบบแบบSerial RS-485 หรือว่าระบบแบบอิตเตอร์เน็ตเน็ตเวิร์ก
- เป็นจุดประสงค์ที่เราต้องการจะได้ข้อมูลทีเกียวข้องกับการผลิตไม่ว่าจะคนละลายผลิตหรือจะเครื่องจักรในลายผลิตก็ตามเพื่อจะเอามาวิเคราะห์ วิเคราะห์ในระบบ SCADA , MES หรือเป็นคนอัพเดทข้อมูลเข้าในระบบ ERP เพื่อเอามาทำกราฟ รีพอตต่างๆก็คือ ต้องมีการเก็บ DATA ที่มาจากการผลิต ณ ตอนนั้นๆ หรือแบบ real time พวกข้อมูลต่างๆสามารถเอามา ทำเป็น Alert หรือ Alarm ในกรณีที่มีสิ่งผิดปกติในการผลิตหรือการผลิตนั้นไม่ได้เป็นไปตามคาดหวังแล้วก็สามารถที่จะแจ้งเตือนให้กับทางคนหรือทางระบบแก้ไขได้
- เป็นระบบเฝ้าระวังหรือเป็นระบบที่เอาไวดูภาพหรือ สถานะการผลิตในเชิงรูปภาพหรือวีดีโอซึ่งแตกต่างกับการเก็บข้อมูลที่มีค่าเป็นตัวเลขจากทางเครื่องจักรนะครับอันนี้คือข้อมูลที่เป็นรูปภาพรูปวีดีโอเพื่อดูสถานะแบบ real time เหมือนกับว่าเรายืนอยูตรงนั้นแล้วก็กำลังจ่องดูการผลิตอยู่ยังสามารถเอารูปภาพหรือวีดีโอนั้นมาวิเคราะห์ผ่านระบบ machine learning หรือ AI (artificial intelligence) เพื่อที่จะดูความผิดปกติหรือวิเคราะห์ความผิดปกติได้อีกด้วย
ผลกระทบของการไม่ออกแบบและติดตั้งระบบ industrial network ในการผลิต
ไม่ได้มีการออกแบบเหมือนระบบไฟฟ้า
เราจะเกิดปัญหา
- ไม่มีพื้นที่ติดตั้งผ่านระบบเน็ตเวิร์กทางระบบเน็ตเวิร์กจำเป็นที่จะต้องไปอยู่กับระบบไฟฟ้า
- ถ้าอยู่ไกล้กับสายไฟฟ้าเกินไปก็จะได้สัญญานรบกวนที่จะมาจากทางระบบไฟฟ้า
การใช้อุปกรณ์ในบ้านหรือแบบใช้ในออฟฟิต
ปัญหาที่เราพบคือ
- พังเร็ว
- ขาดความเสถียร ที่ต้องการในระบบควบคุมหรือระบบการ monitoring ต่างๆในอุตสาหกรรม
ติดตั้งเองโดยไม่มีประสบการณ์ Network ทางอุตสาหกรรม
ที่เรามักจะพบคือการให้บุคลากรภายในองค์กรณ์ติดตั้งเองไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งไอทีหรือใครก็ตามที่ยังไม่มีประสบการณ์ทำเน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรมทางเขาอาจจะมีประสบการณ์ทำเน็ตเวิร์กทางระบบไอที แต่ไม่ได้มีประสบการณ์ในการทำเน็ตเวิร์กในทางอุตสาหกรรม ซึ่งมีความแตกต่างกันหลายอย่างตั้งแต่ Hardware , Protocal ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ตัว Software ที่ใช้ในอุตสาหกรรมก็แตกต่างกัน กับที่ใช้ในแบบไอที่ทั่วไปเรายังต้องคำนึงถึงsecurity หรือความปลอดภัยในระบบเน็ตเวิร์ก ของการผลิตมากๆอีกด้วยเนื่องจากว่ามีผลกระทบโดยตรงกับการผลิตการรู้เท่าไม่ถึงการอาจจะทำให้
- ขาดประสิทธิภาพในการผลิต
- มีผลกระทบทางด้านลบกับการผลิต
ตัวอย่าง
นี้เป็นตัวอย่าง Architecture ของระบบเน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรม โดย Moxa เป็นแบรนด์ที่ทำระบบเน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรมและพวก industrial pc และอุปกรณ์หลายๆอย่างซึ่งแน่นอนครับเรามีจำหน่ายสินค้าของแบรนด์นี้อยู่ เป็นตัวอย่างที่ดีนะครับในการแนะนำถึงการแปลงจากทาง Serial การส่งระยะไกลของไฟเบอร์ ตัวอย่างรูปร่างหน้าตา ของตัวอุปกรณ์การทำระบบ security ระบบความปลอดภัย
OT (Operational Technology) & IT (Information Technology)
Operational Technology (OT)
คือเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุมมอนิเตอร์และก็รันระบบที่ใช้ในการผลิต ระบบพวกเครื่องจักรนั้นเอง
Information Technology (IT)
คือเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานแบบในออฟฟิตห้อง Server หรือใน Lab ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมความชื้นในสภาพแวดล้อมที่สะอาด
Trend ในการ merge IT กับ OT เข้าด้วยกัน
ด้วยเทคโนโลยีทั้งเรื่อง Internet of Things หรือ IOT หรือความต้องการในการ Remote Monitoring ยิ่งยุคสมัยนี้ช่วงที่โควิดระบาดความต้องการที่จะรีโมทเข้าไปดูสภาพการผลิต รวมถึงคนที่ Work From Home หรือลักษะนี้จึงเป็นความต้องการอย่างมาก ซึ่งแน่นอนครับไม่มีใครต้องการให้ Hacker หรือ Ransomware จากอินเทอร์เน็ตเข้ามาป่วนระบบในการผลิตของเราเพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และ security ระบบความปลอดภัยที่รองรับเทรนใหม่ๆพวกนี้
สินค้าและแบรนด์อุปกรณ์ที่เราจัดจำหน่าย
Moxa
จาก ไต้หวัน เป็นแบรนด์ที่ดังมากในระบบเน็ตเวิร์กอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับทาง Cisco ที่ดังมากในอุปกรณ์เน็ตเวิร์กสำนักงานไอที
Red Lion
จาก อเมริกา ชำนาญเกี่ยวกับการทำงาน Protocol conversion
Antaira
จาก อเมริกา ราคาดีมาก คุณภาพดีเยียม
Planet
จาก ไต้หวัน
robustel
จากจีน แต่เป็น Cellular Gateways ที่คุณภาพดีและราคาย่อมเยา
อุปกรณ์ครบครัน
Serial to Ethernet , Industrial Unmanaged Switches , Managed Switch , POE Switches , Media Converter (แปลงจากอินเตอร์เน็ตเป็น ไฟเบอร์ออฟติก) , Wireless ทั่ง wireless ไป Serial , Wireless ไป Internet , Wireless ไป indoor และ outdoor , Firewall/Remote Access ท้ายสุดอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับ IOT ก็คือ Cellular Gateway ที่เอาไว้ต่อเข้า internet โดยตรง
ราคาโดยประมาณ
- Industrial Unmanaged Switch มีราคาต่ำกว่าสองพัน
- Layer 3 Managed Switch จะอยู่ที่หมื่นต้นๆ
- Cellular Gateway จะประมาณ แปดถึงเก้าพัน
- Wireless ประมาณหมื่นต้นๆ ราคาจะแพงกว่าที่ใช้ในแบบออฟฟิตสักหน่อยครับ แต่ความเสถียรแล้วก็ความอึดกับทนในสภาพแวดล้อมในการผลิตนี้ดีกว่ามาก
Challenges ของระบบ Network ในอุตสาหกรรม
ความยากลำบากที่ต้องออกแบบมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
- ความปลอดภัยระหว่างระบบ OT แล้วก็ระบบ IT
- สภาพแวดล้อมในอุตสาหกรรมตั้งแต่ความร้อนความชื่นอะไรต่างๆ
- ระยะในการเดินสายจากจุด หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในการส่งข้อมูล
- โปโตคอลที่เราต้องใช้ในอุตสาหกรรม
ความปลอดภัยระหว่าง OT และ IT
อย่าลืมว่าเราไม่อย่างจะเปิดบ้านของเราให้ใครที่อยู่นอกบ้านที่ในอินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามาแล้วก็ทำอะไรได้ในระบบควบคุมของเรา
ซึ่งเรามีอยู่ 3 แนวทางในการป้องกัน
ถ้าเป็นระบบเล็กเราทำการแยกวงเน็ตเวิร์ก OT กับ IT ออกจากกันได้ทำเป็นคนละวงแลนกันเลย
- ข้อดี ก็คือง่าย ใช้ค่าใช้จ่ายน้อย
- ข้อเสีย ก็คือ การที่่อยู่คนละวงแลนกัน คนละวงเน็ตเวิร์กกันนะครับเราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ถ้าไม่ได้ต่อตรงเข้ากับเน็ตเวิร์กที่อยู่ในเน็ตเวิร์กเดียวกับระบบ OT ของเราที่ตัวอุปกรณ์ของเราอยู่เราไม่สามารถที่จะremoteหรือว่าเข้าจากทางEnternet หรือจากทาง Cloud เพื่อเข้ามาดูข้อมูลถ้าไม่อยู่ในไซต์งานหรือที่เดียวกับที่เน็ตเวิร์กนั้นอยู่ได้เราต้องมีการต่อตรงเข้ากับทาง เน็ตเวิร์กนั้นๆด้วยตัวอุปกรณ์เราไม่ว่าจะเป็นตัว PC มือถือ แทบเล็ตการทำ IOT หรือ Internet of Things นั้นก็เป็นไปไม่ได้ถ้าเราไม่ใช้วิธีการแยกเน็ตเวิร์กออกจากกัน เราก็จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันซึ่งอุปกรณ์ป้องกันนี้ ทางIT จะเข้าใจนะครับ
แต่ว่าเราก็จะต้องใช้ ตัวอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในอุตสาหกรรมตั้งแต่ Firewall ตัวที่ Encryption Data
VPN virtual private network ในการที่เราต้องการที่จะ remote เข้ามา
อันนี้เป็นตัวอย่างครับ
ด้ายซ้ายมือ คือเป็นวง IT ของเราหรือวงแลนที่อยู่ในออฟฟิต มีตัววงไอพีตามนี้ที่นี้ตัว Firewall ก็คือ สามารถแยกตัว OT เป็นส่วนของการผลิตไม่ว่าจะเป็นลายการผลิต 1 ลายการผลิต 2 ออกจากทาง IT ในขณะที่ยังต่อกันอยู่สามารถที่จะคอนฟิกตัว Firewall ให้สามารถที่จะเข้าไปดูข้อมูลในวงทางด้านขวามือมีอุปกรณ์อีกประเภท 1 ที่ทำลักษณะที่ว่าWhitelistting control
Whitelisting control คือ ให้เฉพาะบางตัวอุปกรณ์ต่อเข้ากันได้หรือบ่างแอพพลิเคชั่น บางซอฟแวร์สามารถที่จะสือสารได้
อะไรที่ไมใช้ แอพพลิเคชั่นพวกนี้หรืออะไรที่ไม่ใช้ Protocol พวกนี้จะตัดออกมีโปรแกรมที่สามรถสังเกตได้ว่าตอนนี้เรามีแอททีวิตี้ อะไรที่ผิดปกติเรากำลังโดน Attack อยู่ อันนี้เป็นสินค้าของแบรนด์ Moxa
สภาพแวดล้อมในอุตสาหกรรม
หลังจากเรื่องของ Security ความปลอดภัยเราต้องใช้ตัวอุปกรณ์ที่สามารถทนสภาพแวดล้อมในการผลิตได้
- ด้านซ้ายเป็นตัวอย่างของอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ It (Information Technology)
- ด้านขวาเป็นตัวอย่างของตัวอุปกรณ์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมในระบบ OT (Operational Technology)
อุปกรณ์ It
ส่วนใหญ่จะอยู่ในห้อง Server ที่สภาพแวดล้อมสะอาดปราศจากฝุ่นมีการควบคุมอุณหภูมิความชื่น
ตัวอุปกรณ์เองก็ระบายความร้อนด้วยตัวพัดลมจำเป็นต้องมีตัวขยับอยู่ตลอดเวลาถ้าสภาพแวดล้อมไม่สะอาดก็จะมีฝุ่นเข้าไปติดทำใหตัวพัดลมทำให้มีปัญหาได้ ตัวพัดลมก็เป็น component ตัวหนึ่งซึ่งมีโอการเสียได้ทำให้ระบบมีปัญหาอุปกรณ์ที่ออกแบบไว้ในระบบ It ยังไม่มีการเทสการป้องกันการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นได้ในการผลิต
อีกทั้งยังต้องใส่ rack หรือ Cabinet เพื่อจะติดตั้งอีกด้วย
Networking ที่ออกแบบมาไว้สำหรับอุตสาหกรรม
มีตั้งแต่ ลบ -10°C ถึง -60°C เป็นอย่างน้อย และมีที่ทนอุนหภูมิได้มากกว่านั้น ก็คือ -40°C จนถึงประมาณ 70°C หรือมีรุ่นที่ไปถึง 85°C อีกด้วย
ตัวอุปกรณ์เน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรมจะไม่ใช้ตัวพัดลมในการระบายความร้อนแต่จะใช้เป็นพวก Heat sink ซึ่งจะไม่มีพาสที่มันขยับแล้วก็จะไม่ใช้เป็นจุดที่สามารถเสียได้มีการออกแบบป้องกันและทดสอบเทสเรื่องของแรงสั่นสะเทือนเรื่องของเซิส มีการเทสตัว IP (ingress protection)กันน้ำกันฝุ่นอีกด้วยอุปกรณ์เน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรมได้มีการออกแบบให้เหมาะสมกับการติดตั้งในลักษณะอุตสาหกรรมอีกด้วยซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งกับราง DIN rail ไม่เหมือนกับอุปกรณ์ที่ออกแบบไว้สำหรับระบบไอที ที่ออกแบบไว้สำหรับติดตั้งเฉพาะใน Lab
ตัวอย่างสำหรับอุปกรณ์เน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรม
Switch 2 ตัว นี้มี 8 พอตทั้งคู่ ตัวอินเตอร์เน็ตพอร์ตจะมีอยู่ 8 พอร์ตที่นี้มันรันได้ที่ความเร็ว 10/100 ก็คือเต็มที่ 100 Mbps ซึ่งไม่ได้เป็นสเป็คที่ดีขนาดนั้นเพราะว่าในระบบไอทีหลังๆรันกันในประมาณ 1 Gbps ทั้งหลากหลายแล้วแต่สำหรับการสื่อสารกันในระบบอุตสาหกรรม 100 Mbps ถือว่าเหลือเฟือแล้ว แต่ดูลักษณะนี้นะครับมี fiber port อยู่ซึ่ง fiber port นี้เป็นแบบมัลติโหมดได้ 2 กิโล แต่ว่า ซิงเกิลโหมดนี้ได้เต็มที่ถึง 30 กิโลเมตรนะครับ สเป็คอย่างอื่นนะครับเราสามารถเห็นได้ทั้วๆไปใน Managed Switch สำหรับระบบไอทีแต่ผมอยากจะไฮไลทางด้าน Housting เป็นแบบเหล็กเหมาะสำหรับทางอุตสาหกรรมมีการเทส IP (ingress protection) แต่ว่าไอพีไม่ได้เยอะแค่ 30 มี Mounting พิเศษสำหรับ DIN-Rail เหมาะกับการติดตั้งในทางที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมี Operating Temperature เป็น standard Operating Temperature : -10°C ถึง 70°C แน่นอนว่าไม่ได้ระบายความร้อนด้วยพัดลม ระบายความร้อนด้วย Heatsink ไม่มีพาทที่ขยับอยู่ตลอดเวลา
ระยะในการเดินสาย
ระยะในการเดินสายในโรงงานผลิตมักจะมีระยะห่างในแนวราบค่อนข้างที่จะห่างกันอยู่ตั้งแต่ห้องคอนโทรลไปจนถึงเครื่องจักรที่ผลิต
ในระบบไอทีเรามักจะเจอสายอินเตอร์เน็ตเคเบิลที่มีระยะอยู่ที่ 100 เมตร
RS-485 ในอุตสาหกรรมเรามักจะเจอสาย Serial Rs-485 มีระยะไกล 1.2 กิโลเมตร แต่จำกัดที่ Master/Slave topology หมายถึงว่าตัว Master ต้องไปคุยกับตัว Slave ทีละตัวเพื่อที่จะเอาข้อมูล ตัวมันเองนี้ส่งข้อมูลได้ช้าด้วย จำกัดที่10 Mbps(Megabit per second)
Ethernet Cable พวก CAD5, CAD5E, CAD6 เป็น 100 Mbps(Megabit per second) กลายเป็น 1 กิกกะบิตต่อเซ็ก แล้วครับเพราะฉะนั้นความเร็วในสายอินเตอร์เน็ตเร็วกว่ามาก ในลายผลิตจะมี นอยส์ จากสัญญานไฟฟ้าซึ่งสร้างสัญญานรบกวนในสายอินเตอร์เน็ตพอสมควรเพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องมี ชิวกันสัญญานรบกวนด้วยสายประเภท CAD6A เป็นสิ่งที่แนะนำนะครับ ตัวอินเตอร์เน็ตเคเบิลใช้มากที่สุดแล้วก็เป็น ระบบพับแอนสโปคก็คือ หลายๆตัวคุยกับหลายๆตัวได้ ก็ต่างคนต่างคุยไม่ได้มีข้อจำกัดเหมือนกับ RS-485 นอกจากสัญญานรบกวนที่ต้องมี ชิวแล้วตัวอินเตอร์เน็ตเคเบิลมีข้อจำกัดเรื่องระยะ100เมตรแล้วถ้าเกิดบูทระยะหน่อยอย่างมากก็ได้300เมตร
Fiber Optic เพราะฉะนั้นแล้วจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแปลงสัญญานจากที่ใช้สายอินเตอร์เน็ตเคเบิลมาเป็นใช้ Fiber Optic เพื่อเพิ่มระยะในการส่งสาย Fiber Optic
- ข้อดีคือส่งสัญญานได้ถึง 10Gbps(Gigabit per second)แล้วก็สามารถส่งได้ไกลมาก ไกลมากถึง
20-40 กิโลเมตรเลยนะครับ - ข้อเสียคือติดตั้งยาก สาย Fiber Optic นี้เข้าหัวยากมากต้องมีอุปกรณ์พิเศษต้องมีอุปกรณ์ในการเทสตัวสัญญานด้วยเมื่อลากสายเสร็จแล้ว
แน่นอนว่าการส่งสัญญานเป็นแสง ตัวสายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจำเป็นต้องเป็นสายเดียวเลยไม่สามารถมีการปรับ ต่อเชื่อม อะไรกันได้แต่มันเป็นทางเลือกที่สเถียน แล้วก็ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับงานพวกแบบ ทรานส์ฟอร์เมชั่น เทเลคอม
Wifi Wireless ในหลายๆกรณีเราไม่สามารถที่จะลากสายสัญญานได้เนื้องจากทางข้อจำกัดทางกายภาพและใน ทาง ฟิสสิโค ไม่สามารถลากสายได้เราก็จะมี ออฟชั่นที่จะส่งสัญญานแบบไวเลสสัญญานไวเลสที่นิยมใช้ที่สุดก็เป็นสัญญานไวไฟไม่ต้องขออนุญาตอะไรมากถ้ากำลังส่งไม่เกินอาจจะมีการส่งสัญญานผ่านสัญญานวิทยุหรือสัญญานอื่นด้วยแต่ไม่ได้เป็นที่แพร่หลายกันขนาดนั้น สัญญาน wifi ก็ใช้ได้ระยะมีจำกัดเหมือนกันแต่ว่าสามารถติดตั้งเป็นบูทที่ว่าเป็นตัว รีพีสเตอร์คอยบูทตัวสัญญานในแต่ละจุด ซึ่งเอา เซพๆเลยก็ประมาณสัก 46เมตรถึง 92เมตรสัก 40กว่าเมตร ก็ติดตัวรีพีสเตอร์ ที่ต้องการ
Cellular Gateway และท้ายสุดเป็นเทรนใหม่แทนที่จะต้องลากสายจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งเราใช้วิธีต่อตัวอุปกรณ์ ตั้งแต่ เซนเซอร์ แอคชูเอเตอร์ คอนโทรลเลอรขึ้น Cloud ไปเลยแล้วอุปกรณ์พวกนี้เมื่อขึ้น Cloud ไปแล้วก็คือไปคุยกันใน Cloud แทนก็จะไม่มีข้อจำกัดของระยะเรียกว่าเป็นเทรนของ Internet of Things หรือ IOT
ตัวอย่างการว่างเน็ตเวิร์กเพื่อที่จะคลอบคลุมระยะทางในการผลิต
อันนี้เป็นตัวอย่าง plant floor การผลิตในชอปที่มีเครื่องจักร CNC อันนี้เป็นตัวอย่าง ไดอะแกรมของ supplier ของเรา แบรนด์ Antaira จากทางอเมริกา
ด้านซ้ายล่างก็คือเป็นลัษณะรูปสัญญานไวไฟ เป็นเหมือนพัดสีเขียว
- Ethernet เป็น สีน้ำเงิน
- Fiber Optic เป็น สีส้ม
- Serial เป็น สีแดง
ด้านขวาอันนี้เป็นแบบลากสายทั้งหมด
ตัวเครื่องจัก CNC ส่งสัญญาน Serial อาจจะเป็น Protocal อย่างเช่น มอสบัสที่ใช้ในอุตสาหกรรมเข้ามาที่ตัวแปลง จาก Serial ให้กลายเป็นสัญญานที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เข้าตัว Switch ตัว Switch ต่ออินเตอร์เน็ตเข้าหากันในรูปแบบ ring topology รูปแบบ ring topology นี้เอาไว้สำหรับสร้าง redundancy กรณีที่มีสายใดสายหนึ่งขาดและสามารถที่จะสือสารต่อกันได้เครื่อง CNC สี่ตัวนี้นะครับส่งสัญญานผ่านสาย Fiber Optic ไปที่ห้องคอนโทรรูมที่ใช้สาย Fiber Optic น่าจะเป็นเรื่องของระยะทางที่จะต้องส่ง
ด้ายซ้ายเป็นแบบระบบWIFI
ตัวเครื่องจักร CNC ซ้ายมือ 4 ตัวนี้ครับส่งสัญญานเข้าห้องควบคุมคอนโทรบลรูมเหมือนกันเพียงแต่ทำโดยระบบ Wifi แปลงจากสัญญาน Serial ไปเป็น Wifi โดยตรง Setup เป็นตัว Client แล้วก็ส่งเข้าตัว accesspointที่อยู่ที่ห้อง คอนโทรรูม
โปรโตคอลที่ใช้ในอุตสาหกรรม
อย่างแรกเลยโปรโตคอลขึ้นอยู่กับแบรนด์ผู้ผลิตทีนี้ Serial หรือ Ethernet นะครับ Serial ไม่ว่าจะเป็น RS-485หรือ RS-232หรือเป็น Ethernet TCP/IP เป็นวิธีการสือสารแต่ตัวโปรโตคอลที่ใช้ในการสือสารเปลียบสะเหมือนภาษาที่ใช้เราอาจจะใช้วิธีในการสือสารเหมือนกันแต่ว่าถ้าเราใช้คนละภาษาก็จะสือสารกันไม่รู้เรื่องทำไม่ถึงใช้ภาษาไม่เหมือนกันเพราะว่าแต่ละแบรนด์เขาก็อย่ากจะให้คุณใช้แต่อุปกรณ์ของเขาก็เลยมีการกำหนดภาษาของตัวเองอธิเช่นอย่างซีเมนก็จะคุยกันแบบprofi bus ใน Serial แล้วก็พวก profi net ใน Ethernetตัวมอสบัสค่อนข้างที่เป็นภาษาที่เปิดมีหลายผู้ผลิชใช้งานได้แล้วก็มีภาษาหลางที่เป็น Opensource เช่น OPCUAที่ใช้ในการสือสารกันจะเห็นได้บ่อยในระบบSCADAที่ต้องต่อเข้ากับทางตัวคอมพิวเตอร์มักจะใช้OPCUAเป็นภาษากลาง ในเอสแต่ภาษาที่ค่อนข้างที่จะใช้กันเยอะในสำหรับอุปกรณ์IOT ก็จะเป็นภาษาโปรโตคอล MQTT
ความยากลำบากจะเกิดขึ้นก็คือเวลาที่เราต้องเอาอุปกรณ์ที่คุยภาษาหนึ่งมาสือสารกับอุปกรณ์ที่คุยกับอีกภาษาหนึ่งก็เลยเกิดขึ้นกับพวกอุปกรณ์ที่เอาไว้แปลภาษาเรียกว่าโปโตคอล คอนเวอร์เตอร์ แต่ว่าเราต้องคำนึงถึงภาษาที่ใช้หรือโปรโตคอลที่ใช้ในแต่ละวิธีการสื่อสารเสมอครับ
บทสรุป
เราได้พูดถึงปัจจัยหลายๆอย่างในระบบเน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรมตั้งแต่เมื่อไหร่ที่การผลิตต้องใช้ระบบเน็ตเวิร์ก ผลกระทบของการไม่ออกแบบให้ดี OT กับ IT ต่างกันอย่างไรตัวผลิตภันแล้วก็แบรนด์ที่ Factomart และ Compomax Group จัดจำหน่าย Challenge ของระบบเน็ตเวิร์กในอุตสาหกรรม อันนี้คือจบพาส 1 ของวีดีโอของเราสรุปง่ายๆเลยครับใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานที่เหมาะสมนะครับงานในอุตสาหกรรมก็ใช้อุปกรณ์ที่เป็น Industrial เกย ระบบเน็ตเวิร์กนะครับควรที่จะเชื่อถือได้แล้วก็ปลอดภัยสำหรับงานอุตสาหกรรมในพาส 2 ผมจะพูดถึงตัวอย่างของอุปกรณ์ Industrial Network ในอุตสาหกรรมไล่เป็นส่วนให้ดูกัน
สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้ขอบคุณครับ