คำถามที่ผมพบบ่อยคือ “อะไรคือความแตกต่างระหว่าง IoT และ IIoT?”
IIoT หรือ Industrial IoT เป็นประเภทย่อยของ IoT แต่มีความแตกต่างอยู่หลายส่วนตั้งแต่ Things ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ประเภทอุปกรณ์ที่ใช้ และจุดประสงค์กรอบการใช้งาน
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า IoT คืออะไร?
IoT ย่อมาจาก Internet of Things คือ เทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงาน รถยนต์ สกู๊ตเตอร์ จักรยานที่มีเซ็นเซอร์ในตัว เครื่องใช้ภายในบ้าน กล้องอัจฉริยะ นาฬิกาเด็กหุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ และอื่น ๆ สามารถเชื่อมโยงและรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างง่ายดายและสามารถสั่งการเพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น Smart Device, Smart Home, Smart Network เป็นต้น ซึ่งการเชื่อมโยงนั้น จะสามารถเก็บและรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้แล้ว ยังมีระบบคลาวด์ที่จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลผ่านออนไลน์ โดยที่เราสามารถควบคุมหรือกำหนดความเป็นส่วนตัวและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา
ดูบทความอื่นที่ คู่มือสอนการเลือกใช้ระบบ Industrial IoT ในโรงงานของคุณ
มาดูกันว่า ความแตกต่างระหว่าง IIoT และ IoT ต่างกันอย่างไร
IIoT Industrial Internet Of Things เป็นส่วนหนึ่งหรือส่วนย่อยของ IoT โดย IIoT ถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต แต่ IoT ถูกใช้เพื่อทำให้ผู้บริโภค (Consumer) ใช้ชีวิตได้สะดวกและง่ายขึ้น ซึ่งข้อแตกต่างหลักๆระหว่าง IIoT และ IoT ที่จะพูดถึงในบทความนี้จะมี 3 ประเด็น คือ Things ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต, ประเภทอุปกรณ์ที่ใช้ และจุดประสงค์การใช้งาน
Things ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
Things สำหรับ IoT
Things หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ๆ ที่เชื่อมต่อ ใน IoT นั้นเราจะนึกถึง Consumer Base, บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) เป็นการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวก หรือ Wearables เช่น Smart Watch, Smart Band เป็นต้น
Things สำหรับ IIoT
ส่วน Things หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ๆ ที่เชื่อมต่อ ใน IIoT นั้นเราจะนึกถึง เครื่องจักรต่างๆ ซึ่งมีองค์ประกอบเป็น เซ็นเซอร์ (Sensor), มิเตอร์ (Meter), Actuators และ Controller
ประเภทอุปกรณ์ที่ใช้
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ IoT
ใช้อุปกรณ์ที่พลังงานต่ำ, มีการเชื่อมต่อหรือการสื่อสารที่หลากหลาย เช่น Zigbee, LoRaWAN (Long Range Wide Area Network) เป็นต้น, เน้นสินค้าที่ราคาถูก และมีความยืดยุ่น (Flexible) ใช้งานได้หลายประเภท โดย Embedded System ที่เป็นที่นิยม อาทิเช่น Raspberry Pi หรือ Arduino
จะเน้นอุปกรณ์ที่มีความ ทนทาน อย่างน้อยทนอุณหภูมิได้มากว่า 50°C ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์เกรดอุตสาหกรรม (Industrial Grade) จะไม่ค่อยเห็นการนำ Raspberry Pi หรือ Arduino มาใช้ในงานอุตสาหกรรม เพราะว่าไม่สามารถทนสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมได้และไม่มีการทดสอบหรือมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมอีกด้วย , ความเสถียร (Stable), ความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ IIoT เพราะไม่ต้องการให้มีการแฮก (Hack) เกิดขึ้น, การเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้ (Reliable Connection) เพราะการเชื่อต่อนั้นสำคัญมาก และจำเป็นต้องมี Buffer ซึ่งในกรณีที่ส่งสัญญาณแล้วไม่ไป สัญญาณมีปัญหา ตัวอุปกรณ์ต้องเก็บ Buffer ไว้ เมื่อสัญญาณกลับใช้งานได้ปกติก็จะทำการส่งข้อมูลออกไปและทำการเช็คว่าการส่งสำเร็จหรือไม
จุดประสงค์การใช้งาน
สำหรับ IoT นั้นเพื่อทำให้ผู้บริโภค (Consumer) ใช้ชีวิตได้สะดวกสบาย, ง่ายขึ้น และเพื่อสุขภาพ แต่สำหรับ IIoT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต
หวังว่าท่านผู้อ่านทั้งหลายจะเข้าใจความแตกต่างระหว่าง IoT และ IIoT แล้ว จากการที่ได้อ่านบนความนี้ไม่มากก็น้อย ถึงแม้ IIoT จะเป็นส่วนย่อยของ IoT ก็จะมีความแตกต่างกัน อาทิเช่น Things ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต, ความต้องการของอุปกรณ์ทั้ง ความทนทน, ความเสถียร, ความปลอดภัย, ความน่าเชื่อถือ เป็นต้น อีกทั้งยังแตกต่างในส่วนของจุดประสงค์การใช้งานเป็นสิ่งที่แตกต่างกับ IoT เทรนด์โดยรวม
บทความที่เกี่ยวข้องที่น่าสนใจ
ระบบ Industrial IoT ตอบโจทย์อะไรให้กับผู้ผลิต
คำตอบสั้นๆคือ “ใช่ มันดีจริง” แต่ทำไมถึงเป็นที่น่าสนใจ? อันนี้ต้องใช้เวลาในการอธิบาย เราเริ่มต้นจากการดูว่าเหล่าผู้ผลิตสามารถใช้เทคโนโลยี IIoT ทำอะไรได้บ้าง
IIoT Hardwares อุปกรณ์สำหรับระบบ Industrial IoT
IIoT Hardware เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Edge Devices มีอะไรบ้าง IIoT Gateway, Cellular Gateway, etc. แล้ว Sensor ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบหรือไม่
Industrial Internet Of Things (IIoT) คือะไร?
Things คือเครื่องจักรณ์ IIoT เป็นการเชื่อมสิ่งเหล่านี้เข้ากับอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะนำเอาข้อมูลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต และลดค่าใช้จ่าย
ประเภทงานที่นิยมใช้เทคโนโลยี IIoT
เทคโนโลยี IIoT นิยมใช้กับงาน 5 ประเภท คือ Visualization (SCADA), Energy Management, ดูประสิทธิภาพของการผลิต, ซ่อมบำรุง และ analytics