บทที่ 3.1 การสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง Direct On Line (DOL)

การสตาร์ทโดยตรง เป็นการต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้ากำลังเข้าสู่ตัวมอเตอร์เพื่อเริ่มเดิน (start) มอเตอร์โดยตรง โดยไม่ผ่านอุปกรณ์หรือวิธีการลดแรงดันใด ๆ ก่อนถึงตัวมอเตอร์ เป็นการสตาร์ทด้วยแรงดันเต็มพิกัด (Full Voltage Starting) วิธีการสตาร์ทมอเตอร์แบบนี้เป็นที่นิยมกันมากใช้สำหรับมอเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งมอเตอร์จะถูกต่อผ่านอุปกรณ์สตาร์ทแล้วต่อเข้ากับสายไฟกำลังโดยตรง ทำให้มอเตอร์สตาร์ทด้วยแรงดันเท่ากับสายจ่ายแรงดันทันที

ทำไมถึงเป็นที่นิยมในการใช้งาน Start Motor ? และ ขนาดมอเตอร์ที่เหมาะสำหรับการสตาร์ทโดยตรง

การสตาร์ทมอเตอร์แบบ DOL เป็นวิธีการสตาร์ทที่ทุกคนรู้จักกัน เนื่องด้วยการต่อใช้งานที่ง่ายไม่ซับซ้อน ใช้อุปกรณ์น้อย แถมราคาก็ไม่แพง ทั้งนี้เป็นการสตาร์ทมอเตอร์ที่ให้แรงบิดและกระแสขณะสตาร์ทสูงที่สุดมีค่าประมาณ 6 – 8 เท่าของกระแสพิกัด และเนื่องด้วยกระแสสูงขณะสตาร์ททำให้เกิดแรงดันของระบบไฟฟ้าตก ส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดเกิดความเสียงหายได้ ด้วยเหตุนี้การสตาร์ทด้วยวิธีนี้จึงเหมาะกับมอเตอร์ที่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณไม่เกิน 7.5kW หรือ 10แรงม้า  ทั้งนี้ยังมีโหลดบางประเภทที่ต้องการแรงบิดในการสตาร์ทที่สูงหรือมีการสตาร์ทในขณะมีโหลดต่ออยู่ ฉะนั้นการสตาร์ทมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ยังคงมีใช้กันอยู๋ แต่ต้องมีการออกแบบแหล่งจ่ายเป็นกรณีพิเศษเพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้า

สตาร์ทมอเตอร์แบบโดยตรง Direct On Line DOL

ข้อดี-ข้อเสีย ของการสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง (DOL)

ข้อดีของ DOL

  1. ราคาถูก เพราะใช้อุปกรณ์น้อย
  2. วงจรไม่ซับซ้อนต่อง่าย
  3. ให้แรงบิดสูง
  4. ซ่อมบำรุงรักษาง่าย
  5. ไม่ก่อให้เกิด Harmonics ในระบบ

ข้อเสียของ DOL

ข้อเสียทางไฟฟ้า

  1. เกิด Inrush Current ที่มอเตอร์ (ขณะมอเตอร์เริ่มทำงานจะกินกระแสในระบบมากกว่าปกติถึง 6-8 เท่า) มีผลทำให้ไฟตก ถ้าขนาดหมอแปลงไม่พอ

ข้อเสียทางกล

  1. ต้องออกแบบตัว Mechanic Support ให้รองรับกับแรงบิดช่วงสตาร์ท 1.5 เท่า ของแรงบิดมอเตอร์ปกติ
  2. ถ้าต่อมอเตอร์ใช้งานในระบบของไหล เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มไฮดรอลิค แล้วมีการหยุดมอเตอร์ทันทีทันใด จะทำให้เกิน Water Hammer, Water Surge ซึ่งมีผลทำให้ท่อระเบิด หรือใบพัดหัก

สิ่งที่ต้องพิจารณาสำหรับระบบนี้

1. ขนาดพิกัดของมอเตอร์จะต้องเล็กกว่าระบบไฟฟ้าหลัก เพื่อป้องกัน Inrush Current

2. ระหว่าง Load กับตัว Motor จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน Damping จากการ Starting

3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการสตาร์ทมอเตอร์ต้องทนกระแสสตาร์ทได้อย่างน้อย 5 – 8 เท่าของกระแสปกติ AC-3, AC-4

4. โหลดที่ต่อกับตัวมอเตอร์ต้องทนแรงบิดได้อย่างน้อย 1.5 เท่าของแรงปิดปกติ

Direct online ตอบโจทย์จุดมุ่งหมายหลักในการสตาร์ทและควบคุมมอเตอร์แค่ใหน?

1 เพื่อที่จะสตาร์ทมอเตอร์ให้สำเร็จ
การสตาร์ทโดยตรงนั้นสามารถสตาร์ทได้สำเร็จเนื่องด้วยทอร์กช่วงเริ่มสตาร์ทสูงมากทำให้สามารถเร่งความเร็วไปถึงพิกัดความเร็วของมอเตอร์ได้

2 เพื่อที่จะไม่สร้างปัญหาให้กับระบบไฟฟ้าในไซด์งาน
การสตาร์ทโดยตรงนั้นจะสร้างปัญหาให้กับระบบไฟฟ้าในไซด์งาน เนื่องจากช่วงเริ่มสตาร์ทนั้นจะมอเตอร์จะใช้กระแสสูงประมาน 6-8 เท่าของพิกัดกระแสมอเตอร์ ทำให้เกิดกระแสกระชาก (inrush current) ในระบบ ทั้งนี้การสตาร์ทแบบนี้จะไม่เกิดปัญหาในเรื่องสัญญาณรบกวนของ harmonic เหมือน VFD

3 เพื่อที่จะการป้องกันอันตรายที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้กับผู้ใช้งานหรือผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
การป้องกันอันตรายที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้แก่ผู้ใช้งานหรือผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์และโอเวอร์โหลด ที่มีคุณภาพและมีการรับรองมาตราฐาน Coordination

4 เพื่อที่จะป้องกันความเสียหายของระบบไฟฟ้า ในกรณีที่มีอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
ป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดในกรณีต่าๆ เช่น สายพานลำเลียงขาด เกียร์พัง คัปปลิ้ง Coupling เสียหาย รัน Dry Pump ขณะไม่น้ำ ทำให้มอเตอร์ได้รับความเสียหาย โดยการติดเซนเซอร์เพิ่ม เช่น เซนเซอร์วัดความมเร็ว เพื่อป้องกันกรณีสายพานลำเลียงตกหรือขาด, เซนเซอร์วัดระดับน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดรัน Dry Pump ขณะไม่น้ำ ,เซนเซอร์วัดการสั่นสะเทือน (Vibration sensor) เพื่อสังเกตการสั่นของมอเตอร์ที่ผิดปกติจากปัญหาต่างๆ เช่น เกียร์พัง, คัปปลิ้ง (Coupling) และ ลูกปืน (Bearing) มีการสึกหรอ เป็นต้น

5 เพื่อที่จะควบคุมทิศทางของตัวมอเตอร์ เช่น การกลับทางหมุน (เฉพาะบางงานเท่านั้น)
สามารถกลับทิศทางได้ โดยการเพิ่มแมกเนติกและโอโวโหลดอีกหนึ่งชุด ทั้งนี้ก็ควรระวังจะต้องมีการทำอินเตอร์ล็อคการทำงานของแมกเนติกโดยห้ามทำงานพร้อมกัน

6 เพื่อที่ต้องการปรับแรงบิดและความเร็วรอบในขณะที่มอเตอร์ทำงานอยู่
การสตาร์ทแบบ DOL ไม่สามารถรปรับแรงบิดและความเร็วรอบในขณะที่มอเตอร์ทำงานอยู่ได้

7 เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอุปกรณ์แมกคานิคที่ต่อพวงกับมอเตอร์ (ไม่ลด)
อุปกรณ์ทางแมคคานิกสึกหรอง่าย และยังเกิดปัญหาอีกมากมายเช่น การไถลของสายพาน,  water hammer, อุปกรณ์ gearbox มีอายุการใช้งานที่สั้นลง ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการซ่อมบำรุง

8 เพื่อที่จะได้ประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดพลังงาน ลดการเกิด Inrush Current และสามารถลดความเร็วรอบของมอเตอร์ลงได้ (ทำไม่ได้)

9 เพื่อที่จะได้ความคุ้มค่ากับการลงทุนของระบบการสตาร์ทมอเตอร์ที่สุด
เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุนในการติดตั้งการสตาร์ทแบบ DOL นั้น เหมาะกับมอเตอร์ที่มีขนาดไม่เกิน 7.5kW เพื่อไม่ส่งผลกระทบมากในระบบไฟฟ้าที่เกิดจากกระกระชากขณะเริ่มสตาร์ท, เหมาะกับมอเตอร์ที่ไม่ต้องการปรับความเร็วรอบ และไม่เหมาะกับงานปํ๊ม ทั้งนี้การซ่อมบำรุงหลังการติดตั้งก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ ซึ่งการสตาร์ทแบบนี้ถือได้ว่าต้องมีการซ่อมบำรุงหลังการติดตั้งค่อนข้างสูง เนื่องจากอุปกรณ์ต่อพ่วงมีการสึกหรอง่าย

อุปกรณ์และหน้าที่ในการสตาร์ทมอเตอร์

การสตาร์ทมอเตอร์แบบง่าย และคนมันนึกถึงเป็นอันดับแรก เพราะวงจรไม่ซับซ้อน แถมอุปกรณ์ที่ใช้ก็น้อย ไม่สับสน และหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด เหมาะกับผู้ที่อยากจะลองต่อมอเตอร์ใช้งานเอง

อ่านเพิ่มเติม >>

สำหรับการสตาร์ทมอเตอร์แบบโดยตรง (DOL: Direct online) แล้ว ถือเป็นวิธีที่ง่ายและราคาถูก ในการสตาร์ทมอเตอร์ จึงเป็นวิธีแรกๆก็ว่าได้ที่หลายๆท่านจะเลือกใช้ หากเลือกใช้แล้วไม่ส่งผลกระทบมากมายทั้งในทางไฟฟ้าและทางกล ดังนั้นการสตาร์ทด้วยวิธีนี้จึงเหมาะกับมอเตอร์ขนาดเล็กที่มีกำลังไฟฟ้าไม่เกิน 7.5kW หากต้องการสอบถามหรือสนใจชุดการสตาร์ทแบบ Direct online สามารถติดเราได้ที่ info@factomartหรือผ่าน LifeChat ที่ด้านล่างขวามือของหน้าจอ อย่าลืมช่วยกด Like และ Share เป็นกำลังใจให้ทีมงานของเรา และกด Subcribe วิดีโอ จะได้ไม่พลาดบทความอื่นๆ ในอนาคต ขอบคุณครับ