บทที่ 4.3 เปรียบเทียบแต่ละวิธีการสตาร์ทสำหรับคอมเพรสเซอร์ Compressor

Compressor เป็นโหลดที่ใช้กันหลากหลายในอุตสาหกรรม เช่น อุตสหหกรรมอิเล็กตรอนิกค์, ยานยนต์ และอื่นq ส่วน Compressor นั้นก็มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ชนิดลูกสูบ (piston)  ถ้าเป็น Piston compressor  นั้นแรงบิดกับความเร็วจะเพิ่มเป็นแบบเชิงเส้นกัน แต่ถ้าเป็น compressor ชนิด Screw หรือ Screw compressor ที่ใช้สำหรับระบบที่ต้องการอัตราการไหลของลมที่สูงๆนั้น จะมีการเพิ่มของแรงบิดที่ไม่เป็นเชิงเส้นกับความเร็ว ทั้งนี้ในการต่อกันระหว่างมอเตอร์กับคอมเพรสเซอร์ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ Belt แต่ในบางกรณีก็ยังมีใช้การต่อแบบ toothed couplings และโดยส่วนใหญ่จะสตาร์ทมอเตอร์แบบไม่มีโหลดสำหรับการสตาร์ทใช้งานของโหลดประเภทนี้ ดังนั้นควรสตาร์ทด้วยวิธีไหนดี ถึงจะเหมาะและคุ้มค่าสุดสำหรับโหลดนี้

สตาร์ทโดย Direct online (DOL)

ปั้มลมในอุตสาหกรรม หรือเครื่องอัดอากาศในระบบท่อนั้น มักจะใช้ตัวเพิ่มพลังงานให้กับอากาศอยู่ 2 แบบ คือแบบ Piston compressor ใช้กับระบบขนาดเล็ก และแบบ Screw compressor ใช้กับระบบขนาดใหญ่ ซึ่งทั้ง 2 แบบมีคุณลักษณะของโหลดที่ต่างกัน คือ Piston จะมีภาระโหลดที่เพิ่มขึ้นเป็นเชิงเส้น ส่วน Screw จะมีภาระโหลดที่เพิ่มขึ้นเป็นแบบกำลังสอง ดังนั้นโหลดประเภทนี้จึงมีค่า moment of inertia และค่า breaking torque ที่ไม่สูงมากในช่วงเริ่มต้น start motor แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ตรงอุปกรณ์ส่งกำลังจากตัวมอเตอร์ไม่ยังตัวปั้มลม ซึ่งมักจะใช้สายพาน ในช่วงสตาร์ทมอเตอร์จะเกิดความเครียดสูงมากที่ตัวพูลเล่และสายพาน ทำให้เกิดการลื่นไถลและสร้างความร้อนสูง ส่งผลให้ตัวอายุการใช้งานของอุปกรณ์ส่งกำลังต่างๆ สั่นลง

สตาร์ทโดย สตาร์-เดลต้า (Star-Delta)

หากใช้การสตาร์ทแบบ Star-Delta นั้นจะมีปัญหาในเรื่องของแรงบิดและกระแสช่วงสตาร์ทถ้าต้องใช้ค่าน้อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถเร่งความเร็วไปถึงความเร็วสูงสุดของมอเตอร์ได้ และขณะที่สลับจากสตาร์ทเป็นเดลต้านั้น จะทำให้เกิดกระแสและแรงบิดกระชาก (peaks) ส่งผลให้เกิดความเครียดเชิงกลกับอุปกรณ์แมคคานิกในระบบได้ เช่น Belt, coupling และ Bearing

สตาร์ทโดย ซอฟสตาร์ท (Soft Starter)

สำหรับซอฟสตาร์ทนั้นจะสามารถตั้งค่าของ starting torque ได้ ซึ่งการตั้งค่านั้นขึ้นอยู่การประยุกต์ใช้งานที่แตกต่างกัน  ซึ่งสามารถลดปัญหาในเรื่องของความเครียดเชิงกลกับอุปกรณ์แมกคานิกส์ในระบบได้ เช่น coupling, Bearing และ การลื่นไถลของสายพาน (Belt slipping) ด้วยเหตุนี้ทำให้ประหยัดค่าซ่อมบำรุงได้มากเลยทีเดียว

New call-to-action