เมื่อซื้อดิจิตอลมัลติมิเตอร์มาแล้ว เบื่อไหมที่ต้องมานั่งอ่านวิธีการใช้งานจากคู่มือเล่มหนาปึ้ก กว่าจะเข้าใจคงกินเวลาไปเยอะ แต่จะดีกว่าไหมหากมีข้อมูลที่สั้น กระชับ มาให้คุณทำความเข้าใจใน การใช้งานมัลติมิเตอร์ (Multimeter) ที่เราได้รวบรวมข้อมูลไว้เพียงพอให้คุณได้อ่านกัน
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับมัลติมิเตอร์ (Multimeter) ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
การใช้งานมัลติมิเตอร์ (Multimeter)
สิ่งสำคัญในการใช้งานนั้นเราควรทราบถึงความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงบนตัว Multimeter และวิธีการใช้งานในหมวด Function ต่างๆ ซึ่งการทราบข้อมูลเหล่านี้จะเป็นวิธีการใช้งาน Multimeter ที่ถูกวิธีและเป็นการป้องกันอุปกรณ์เสียหายได้ด้วย
ภาพแสดงความหมายของสัญลักษณ์ที่อยู่บน Digital Multimeter ของ Keysight
ภาพแสดงส่วนประกอบที่อยู่บนด้านหน้าของ Digital Multimeter ของ KYORITSU
ภาพแสดงความหมายที่อยู่บน Function Switch ของ Digital Multimeter ของ KYORITSU
ภาพแสดงความหมายที่อยู่บน Display (LCD) ของ Digital Multimeter ของ KYORITSU
เมื่อเรานำ Digital Multimeter ไปวัดค่าต่างๆ เราควรหมุน Function Switch ไปให้ตรงกับตำแหน่งที่เราต้องการจะวัดเพื่อป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ ตัวอย่างเช่น
วัดค่าความดันกระแสตรง
หากนำ Digital Multimeter มาใช้วัดค่าความดันกระแสตรง ให้หมุน Function Switch ไปที่ตำแหน่ง DCV แล้วนำ Test Leads ไปวัดตรงจุดที่ต้องการ โดยสิ่งที่ควรคำนึงคือการนำ Test Leads วัดให้ตรงกับขั้วให้ถูกต้อง ซึ่งสีแดงจะอยู่ทางขั้วบวก (+) สีดำจะอยู่ทางขั้วลบ (-) ถ้าหากคุณสลับขั้ววัดแล้วล่ะก็ มัลติมิเตอร์ของคุณเสียหายแน่นอน
วิดีโอแนะนำการใช้ Continuity Check Function ดิจิตอลมัลติมิเตอร์รุ่น DT4256
การเสียบ Probe
นอกจากการหมุน Function Switch ให้ตรงกับค่าที่เราต้องการจะวัดแล้วนั้นการเสียบ probe ให้ถูกกับช่องเสียบก็สำคัญไม่แพ้กัน Digital Mutimeter ของ HIOKI ได้มีการออกแบบ terminal shutters มาเพื่อป้องกันการเสียบ prode ผิดช่อง
ภาพแสดงการทำงานของ terminal shutters จาก HIOKI
probe ที่ใช้กับตัว Digital Multimeter นั้นมีหลากหลายแบบให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้อย่างสะดวก สบาย เช่น prode แบบ BUS BAR CLIP จะเหมาะกับงานที่ใช้วัดกระแสสูงๆ เช่น การนำไปวัดค่าตรงแท่งตัวนำ (BUS BAR)
ภาพ BUS BAR CLIP ของ HIOKI
probe ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยจาก IEC 61010-031 นั้นจะมีความยาวของโลหะที่สัมผัสอยู่ที่ 19 มิลลิเมตร แต่เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้นได้มีมาตรฐานความปลอดภัย CAT III และ CAT IV ซึ่ง probe ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยนี้ จะมีโลหะที่สัมผัสอยู่ที่ 4 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่านั้น จึงทำให้ช่วยป้องกันการเกิดการลัดวงจรได้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง probe ของทาง HIOKI ได้มีการปรับเปลี่ยน probe ให้ตรงกับมาตรฐานนี้ เพื่อให้การใช้งานในแต่ละครั้งนั้นมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น และได้มีฟังก์ชันเพื่อใช้สำหรับทดสอบว่าสายไฟหรือ probe ที่เราใช้งานนั้นเกิดการชำรุดหรือไม่
ภาพแสดงการใช้งานแบบมีปลอกหุ้มกับไม่มีปลอกหุ้ม
วิดีโอแนะนำการใช้ Continuity Check Function ดิจิตอลมัลติมิเตอร์รุ่น DT4256
วัดค่ากระแสสูง
ถ้างานที่ต้องใช้วัดนั้นมีกระแสที่สูงควรใช้ Clamp sensor ในการวัด ซึ่งสามารถต่อเข้ากับตัว Digital Multimeter ได้และต้องใช้คู่กับ conversion adapter เพราะค่าที่ออกมาจากตัว Clamp sensor นั้นจะเป็นค่าแรงดันอย่างเดียว จึงต้องมีการผ่านตัว conversion adapter เพื่อส่งผ่านไปยัง Digital Multimeter เพื่อแสดงผล
ภาพแสดงการใช้งาน CLAMP SENSOR ของ HIOKI
การเชื่อมต่อข้อมูล
ในการใช้งานบางครั้งเราต้องการที่จะเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อไปใช้งานต่อ ดังนั้นเราควรมีสายเพื่อเชื่อมต่อเข้าตัวมัลติมิเตอร์กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านตัว USB Connection
ภาพแสดงการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านตัว USB Connection ของ HIOKI
การเปลี่ยนแบตเตอรี่
เครื่องมือวัดเหล่านี้ใช้งานด้วยแบตเตอรี่ขนาด AA หรือ AAA ซึ่งเวลาเราเปลี่ยนแบตเตอรี่ในแต่ละครั้งนั้นเราต้องตั้ง Function Swith ไปที่ตำแหน่ง Off ก่อนเสมอแล้วค่อยทำการขันสกรูออก หลังจากนั้นก็ทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เข้าไป สิ่งที่ควรคำนึงคือการวางขั้วของแบตเตอรี่ให้ถูกและเราไม่ควรนำแบตเตอรี่ใหม่และเก่ามาใช้ร่วมกัน
ภาพแสดงการเปลี่ยน Battery ของ Digital Multimeter
การวัดค่ากระแสและแรงดันที่ฝั่งขาออกของตัว Invertor หรือ AC Drive
หากเรานำเครื่องมือ TRUE RMS มาวัดสัญญาณ Output ของอินเวอร์เตอร์ เราสามารถใช้เครื่องวัดกระแสและแรงดันทางด้าน primary และกระแสทางด้าน secondary ได้ แต่ถ้าหากจะวัดแรงดันทางด้าน secondary เราจะใช้ค่า Average rectified เพื่อให้ค่าที่ได้นั้นมีความแม่นยำที่สุด
การทำงานของการวัดความต้านทานในตัวมัลติมิเตอร์จะหาได้จากกระแสที่ไหลผ่าน ดังนั้นวิธีการป้องกันความเสียหายที่เกิดจาก overvoltage นั้นจะป้องกันได้ด้วยกลไกการป้องกันกระแสไหลเกิน ซึ่งวิธีการในการคำนวณกระแสที่ใช้วัดความต้านทานนั้นจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบที่มีแรงดันคงที่และกระแสคงที่
นอกจากนั้นวิธีการในการป้องกันแรงดัน มีวิธีการโดยทางด้าน Input จะมีตัวต้านทาน 10 MΩ เพื่อทำหน้าที่ในการต้านทานแรงดันที่เข้ามาสูง ส่วนการป้องกันกระแสจะมีการติดตั้งฟิวส์เพื่อใช้ในการป้องกัน ซึ่งในระหว่างการวัดกระแสเมื่อกระแสไหลไปถึง detection resistor (shunt resistor) แล้วจะมีการคำนวณกระแสจากการเกิดแรงดันตก ดังนั้นการเลือกฟิวส์เพื่อมาใช้ในการป้องกันจะพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้
การที่เราจะใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ได้นั้น อย่างแรกเราต้องรู้จักสัญลักษณ์ค่าต่างๆที่อยู่บนตัวเครื่อง หากจำได้หมดแล้ว การใช้งานก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ดิจิตอลมัลติมิเตอร์สามารถใช้วัดค่าได้หลายค่า เช่น แรงดัน กระแส ความต้านทาน และอื่นๆอีกมากมาย
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อมัลติมิเตอร์ Multimeter ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ