เบรกเกอร์ของ Schneider Electric เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทยโดยเฉพาะเบรกเกอร์ รุ่น Square D ที่เป็นแบบ plug in ที่นิยมใช้ในตึกรามบ้านช่องในไทย เราได้รวบรวมเอาข้อมูลต่างๆมาไว้ในหน้านี้
รุ่นเบรกเกอร์ของ Schneider Electric
เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB Miniature Circuit Breaker ของ Schneider
เบรกเกอร์ MCB Schneider แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม Square D กลุ่มผลิตภัณฑ์ฝั่งอเมริกา ลูกเบรกเกอร์รุ่นนี้จะเป็นสีดำทั้งหมด (รุ่น QOE, QOvs, QObvs) และกลุ่ม Merlin Gerin กลุ่มผลิตภัณฑ์ฝั่งยุโรป (รุ่น Acti 9) ตัวเบรกเกอร์เป็นสีขาว Schneider Electric เข้าซื้อกิจการทั้ง Square D และ Merlin Gerin สำหรับประเทศไทยแบรนด์ Square D นับว่ามีประวัติที่ยาวนาน เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมเป็นตัวเลือกลำดับแรกๆ สำหรับบ้านพักอาศัย ทั้ง Square D และ Acti 9 มีเบรกเกอร์ MCB และเบรกเกอร์ RCBO
เบรกเกอร์ MCCB Molded Case Circuit Breaker ของ Schneider
เบรกเกอร์ MCCB มีขนาดใหญ่และทนกระแสลัดวงจรได้สูงกว่าเบรกเกอร์ MCB นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม จะติดตั้งในตู้ Local pannel ตัวเบรกเกอร์ MCCB ส่วนใหญ่เป็นสีดำ มีหลากหลายรุ่นให้เลือกตามการใช้งาน เบรกเกอร์ MCCB ของ Schneider แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่ม Compact เบรกเกอร์คุณภาพดี ราคาสูง (รุ่น NS, NG160, NSX, NSXm) และกลุ่ม EasyPact เบรกเกอร์คุณภาพดี ราคาไม่แพง (รุ่น EZC, CVS) นอกจากนี้ยังมีรุ่นพิเศษคือ รุ่น PowerPact ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายในตัว
เบรกเกอร์ ACB Air Circuit Breaker ของ Schneider
นับว่าเป็นเบรกเกอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเบรกเกอร์ทั้งหมดของไฟฟ้าแรงดันต่ำ ใช้เป็นเบรกเกอร์แหล่งจ่ายไฟหลัก เนื่องจากมีพิกัดกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องสูง มีขนาดใหญ่และแข็งแรง สามารถเพิ่มอุปกรณ์ช่วยต่างๆ เข้าไปได้ เหมาะสำหรับติดตั้งในอาคาร โรงงาน และเรือ เบรกเกอร์ ACB Schneider แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่ม MasterPact (รุ่น NW, MTZ, NT, UR) และกลุ่ม EasyPact รุ่น MVS ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากด้วยคุณภาพดีในราคาไม่สูงเกินไป ใช้งานได้หลากหลายประเภท
ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต Consumer Unit ของ Schneider Electric
ปัจจุบันมี 2 รุ่น คือ รุ่น Classic และรุ่น Classic Plus มีความแตกต่างกันที่โฮลติ้งจะเป็นแบบเหล็กและแบบพลาสติก รุ่น Classic Plus ถูกออกแบบมาอย่างดีสำหรับติดตั้งในบ้านหรือคอนโดมิเนียม ด้วยพื้นที่จำกัดของคอนโดมิเนียมทำให้ไม่สามารถซ่อนตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทไว้ได้ จึงต้องมีการออกแบบให้ทันสมัยเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปมีทั้งแบบ Single bus และ Split bus (ดูข้อมูลแบบ Split bus เพิ่มเติมที่นี่)
ตู้โหลดเซ็นเตอร์ Load Center Schneider Electric
ตู้โหลดเซ็นเตอร์หรือโหลดเซ็นเตอร์ เป็นตู้สำหรับควบคุมระบบไฟฟ้าในอาคารขนาดกลางและใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ตู้โหลดเซ็นเตอร์ Schneider ที่ได้รับความนิยม คือ รุ่น QO™ รองรับวงจรย่อยได้ตั้งแต่ 2 – 42 วงจร วัสดุทำจากเหล็ก แข็งแรง ทนทาน ติดตั้งได้ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง พร้อมฝาครอบกันน้ำ และมีสกรูแบบพิเศษช่วยประหยัดแรงงานและเวลาในการติดตั้ง ออกแบบด้วยดีไซน์คลาสสิค ให้ความกลมกลืน เหมาะสำหรับบ้านและอาคารสมัยใหม่
เลือกซื้อเบรกเกอร์หลากรุ่น หลายแบรนด์ง่ายๆ ที่นี่
มองหาเซอร์กิต เบรกเกอร์รุ่นที่ตรงใจในราคาดีๆ มีหลายรุ่น หลายแบรนด์ ให้คุณเลือก ไม่ผิดหวังแน่นอน
แหล่งรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเบรกเกอร์
เคยสงสัยไหมว่าเบรกเกอร์คืออะไร? มาทำความรู้จักกับเบรกเกอร์ให้ดีขึ้น พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับเบรกเกอร์ไม่ว่าจะเป็นชนิด ขนาดหรือการเลือกเบรกเกอร์ที่คุณอาจรู้แล้วหรือไม่เคยรู้มาก่อน