การเชื่อมต่อ Ethernet กับอุปกรณ์ตรวจวัดพลังงาน

Share this post

โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมี Ethernet ที่เป็นเครือข่ายภายในใช้งานอยู่แทบทุกโรงงาน Ethernet ถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย เพื่อให้กระบวนการเป็นไปอย่างอัตโนมัติและสร้างความสะดวก รวดเร็วในการทำงานมากขึ้น ส่วนของระบบพลังงานจึงมีการถูกนำไปเชื่อมกับ Ethernet ด้วย มาดูกันว่าเราจะนำทั้ง 2 ส่วนนี้มาเชื่อมกันอย่างไร

การเชื่อมต่อ Ethernet กับอุปกรณ์ตรวจวัดพลังงาน

ก่อนที่จะเข้าเรื่องของ Ethernet เรามารื้อฟื้นความจำเกี่ยวกับการ Link Digital meter แบบ RS-485 กันสักนิดก่อนนะคะ จะได้ไม่สับสนและมองเห็นข้อแตกต่างของการ Link Ethernet กับการ Link แบบ RS-485

การสื่อสารแบบอนุกรม (RS-485)

การสื่อสารแบบอนุกรม (RS-485) เป็นการสื่อสารผ่านสายเคเบิลแบบอนุกรมทั่วไป การรับส่งจะเป็นแบบ Half-Duplex โดยระยะทางในการเชื่อมต่อจะอยู่ที่ประมาณ 1,200m ด้วยความเร็วสูงสุด 38,400 บิตต่อวินาที (38.4 kbps) และสื่อสารด้วยโปรโตคอล Modbus RTU

การสื่อสารแบบ Ethernet

การสื่อสารแบบ Ethernet หรือที่เราคุ้นเคยกันในรูปแบบของระบบ LAN การสื่อสารแบบนี้จะต่างจากการสื่อสารแบบ RS-485 ที่การรับส่งสัญญาณจะเป็นแบบ Full Duplex ซึ่งทำให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับตัวอุปกรณ์มีความรวดเร็วมากขึ้น โดยสื่อสารผ่านสาย LAN ระยะในการเชื่อมต่อได้เพียง 100 เมตร แต่สามารถขยายระยะในการสื่อสารได้โดยใช้อุปกรณ์ Repeater หรือในระบบ LAN จะเรียกว่า Hub หรือ Switch ก็จะสามารถลากสายได้อีก 100 เมตรและยังสามารถต่อ Repeater ขยายระยะทางได้โดยไม่จำกัด

สำหรับความเร็วในการรับส่งสัญญาณของระบบนี้ โดยทั่วไปจะมีความเร็วสูงถึง 100,000,000 บิตต่อวินาที (100 Mbps) และเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ไม่จำกัดจำนวน เพราะใช้หมายเลข IP Address ในการระบุอุปกรณ์บนระบบสื่อสาร มีลักษณะการควบคุมแบบ Server – Client

จากรูปข้างต้น จะแสดงการเชื่อมต่อมิเตอร์ในหลายๆรูปแบบ ซึ่งจะมีทั้งการเชื่อมต่อแบบ pulse output, แบบ RS-485 และแบบ Ethernet โดยจะเห็นว่า ถึงแม้เราจะ link มิเตอร์ในหลายๆ รูปแบบที่แตกต่างกัน แต่สุดท้ายแล้วก่อนที่จะเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ เราก็ใช้วิธีการเชื่อมต่อที่เป็นแบบ Ethernet ซึ่งข้อดีของการ link แบบ Ethernet ก็คือ เรามาสามารถเข้าไปดูข้อมูลของมิเตอร์ผ่าน Web browser หรือ Tablet/Smart phone ได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น

นอกจากนั้น เทคโนโลยีสมัยนี้ไม่ได้จำกัดความสามารถของมิเตอร์ที่จะให้มิเตอร์ 1 ตัวเชื่อมต่อกับระบบซอฟต์แวร์ได้แค่แบบเดียวเท่านั้น ยกตัวอย่าง Digital meter ของ Lovato ที่จะมี port สื่อสารอยู่ทั้งหมด 2 com port ในมิเตอร์ตัวเดียวกัน หมายความว่า ถ้าเรามี Digital meter ทั้งหมด 10 ตัว มิเตอร์ทุกตัวเชื่อมต่อกันแบบ RS-485 และมิเตอร์ตัวสุดท้ายก่อนที่จะเชื่อมต่อเข้าระบบคอมพิวเตอร์ เราก็เชื่อมต่อด้วยวิธี Ethernet นั่นเอง โดยใช้ 1 com port เชื่อมต่อมิเตอร์ตัวอื่นๆ แบบ RS-485 ส่วนอีก com port ก็เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วย Ethernet แทน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เราไปดูรูปด้านล่างกันเลยค่ะ

จากบทความที่กล่าวมาทั้งหมด คุณคงจะเห็นประโยชน์ของการ Link Digital meter แบบ Ethernet แล้วใช่มั้ย แต่จะบอกว่าการ Link ด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดก็คงจะไม่ได้ เพราะแต่ละวิธีก็มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไป คุณลองดูละกันว่า แบบไหนที่เหมาะสมกับงานของคุณที่สุด ฉบับนี้คงต้องจบเพียงเท่านี้ ฉบับหน้าจะมีอะไรดีๆ มาฝากต้องติดตามกันต่อไปนะครับ

ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments