แหล่งกำเนิดแสงของระบบวิชั่น มีแบบใดให้เลือกบ้าง

Share this post

การเลือกแสงในระบบวิชั่นเซนเซอร์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แหล่งกำเนิดแสงนั้นมีให้เลือกหลายแบบ เราต้องรู้ว่าแต่ละแบบมันมีทิศทางการทำงานอย่างไร ข้อดีและข้อเสีย จึงให้เราตัดสินใจเลือกใช้งานได้ถูกต้อง ไม่ทำให้การตรวจสอบเกิดข้อผิดพลาดภายหลังได้

การเลือกแสงให้ถูกต้องเป็นส่วนสำคัญในการนำอุปกรณ์วิชั่นไปประยุกต์ใช้งานจริงในกระบวนการตรวจสอบถึงแม้ว่า อุปกรณ์กล้องวิชั่นจะมีประสิทธิภาพสูง หากใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ผลการตรวจสอบผิดเพี้ยนได้ ดังนั้นหากเราเลือกแหล่งกำเนิดแสงที่เหมาะสมแล้วถึงแม้ว่าตัวอุปกรณ์จะสเป็คไม่สูงมากก็จะสามารถให้ผลลัพธ์ ในการตรวจสอบที่ดีได้ ซึ่งก็จะเป็นการประหยัดเงินได้ทางหนึ่งเพราะไม่ต้องซื้อกล้องวิชั่นที่มีสเป็คสูงเกินไป

โดยแหล่งกำเนิดแสงสามารถแบ่งได้ 6 ประเภท พร้อมข้อมูลการเปรียบเทียบระหว่างแสงแต่ละประเภทรวมถึงตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้งานในแต่ละแบบ

แหล่งกำเนิดแสงแบบ Back light

แสงแบบ Backligh คือแหล่งกำเนิดแสงที่มีความเข้มแสงต่ำ ส่วนใหญ่จะติดตั้งไว้ด้านหลังของวัตถุด้วยจุดประสงค์ในการให้เกิดเงาของวัตถุขึ้นเพื่อที่จะให้วัตถุมีขนาดและรูปร่างสำหรับให้อุปกรณ์วิชั่นเซ็นเซอร์ตรวจจับ แหล่งกำเนิดแสงแบบนี้ใช้เพื่อตรวจจับหาช่องว่างหรือหลุม รูปร่างวัตถุ รอยแตกหรือรอยขีดข่วน รวมถึงฟองอากาศบนชิ้นส่วนเป้าหมายได้ชัดเจน

จุดเด่นของแสงแบบ Back light คือ ตัวระบบวิชั่นเซ็นเซอร์จะไม่เห็นพื้นผิวของวัตถุ เซ็นเซอร์จะเห็นเพียงแต่เงาของวัตถุเพื่อตรวจสอบชิ้นงาน ทำให้เห็นรูปทรงและขนาดของวัตถุได้เด่นชัดมากขึ้น ข้อเสียก็คือกล้องจะไม่เห็นพื้นผิวของชิ้นงาน

ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ตรวจสอบขนาดของขวด ใช้ตรวจสอบชิ้นงานตามขนาดและรูปร่าง และใช้ตรวจสอบรอยแตกหรือรอยร้าวของวัตถุ

แหล่งกำเนิดแสงแบบ Area Light

แหล่งกำเนิดแสงที่มีความเข้มของแสงมากจะทำให้เกิดแสงจ้า ทำให้เห็นเงาและพื้นผิวของวัตถุได้ชัดเจนขึ้น

จุดเด่นคือ แสงสว่างจะสร้างเงาเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในเชิงลึก สามารถเจาะจงพื้นที่ต้องการตรวจสอบ สามารถหลีกเลี่ยงแสงจ้าของพื้นผิวสะท้อนเมื่อทำมุมเอียงจากเลนส์ได้ ข้อเสีย คือ แสงที่ออกมานั้นอาจจะทำให้เกิดเงาที่ไม่ต้องการได้ มีแสงสะท้อนที่ค่อนข้างสูง

ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ตรวจสอบรอยหยัก ตรวจหารอยบุบในท่อโลหะ ตรวจสอบการพิมพ์บนพื้นผิวสะท้อน และตรวจความแตกต่างระหว่างพื้นผิวขรุขระและเรียบได้

แหล่งกำเนิดแสงแบบ Ring Light

แหล่งกำเนิดแสงให้แสงสว่างในพื้นที่ขนาดจำกัดตรงกลาง เปิดเป็นรูเพื่อเอาไว้สำหรับติดกับตัววิชั่นเซ็นเซอร์ แสงออกจากวงแหวนเป็นรูปวงกลมหรือวงแหวนของแสงที่มีความสว่างและความเข้ม ซึ่งให้ความสว่างแบบไร้เงาและมีความคมชัดของภาพดี แสงจากวงแหวนมีการใช้งานได้หลากหลาย แต่มันอาจทำให้เกิดแสงสะท้อนบนชิ้นงานที่สะท้อนแสงได้

จุดเด่นคือ ให้แสงสว่างถึงแม้วัตถุมีขนาดเล็ก ช่วยลดเงาบนภาพในส่วนที่ยื่นออกมา แสงจะอยู่ตรงกลางของวัตถุที่จะจับภาพ ข้อเสีย คือ เมื่อวัตถุมีขนาดใหญ่ด้านมุมของภาพอาจมองไม่เห็น มีแสงสะท้อนสูง ภาพที่ถ่ายออกมาอาจจะเห็นแสงสะท้อนของเหล่งกำเนิดแสงเป็นทรงกลม

ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ตรวจสอบวันที่และงานจับการยิงจากสัญลักษณ์จากเครื่องอิงค์เจ็ต ตรวจสอบฉลาก และตรวจสอบการซ้อนของแผ่นวัตถุ

แหล่งกำเนิดแสงแบบ Low-Angle

แหล่งกำเนิดแสงมุมต่ำช่วยเพิ่มความคมชัดของคุณลักษณะพื้นผิวมากยิ่งขึ้นด้วยการติดตั้งในแนวตั้งฉากกับตัวกล้อง โดยใช้มุมเอียงเล็กน้อยของแหล่งกำเนิดแสง

จุดเด่นคือ ตรวจสอบความผิดปกติของพื้นผิวจุดเด่น เช่น ฝุ่น  รอยบุบ  รอยขีดข่วนและข้อบกพร่องของพื้นผิวอื่นๆ ได้ดี และสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวของชิ้นงานที่นูนขั้นมา เช่น การแกะสลัก ลายนูนบน PCB ข้อเสียคือ จะต้องติดตั้งแหล่งกำเนิดแสงอยู่ใกล้กับวัตถุ แสงทำให้เกิดจุดร้อนและแสงเงา

ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ตรวจสอบการเช็คลูกสูบ และตรวจสอบหาพื้นผิวที่หายไป

แหล่งกำเนิดแสงแบบ Diffused Light

แหล่งกำเนิดแสงแบบโดมนี้จะให้แสงแบบรอบทิศทาง และโดมนี้จะช่วยลดการเกิดแสงจ้าและเงาได้ดี

จุดเด่นคือ ช่วยลดแสงสะท้อนและเงาได้ดี แสงสว่างที่ออกมาจากโดมจะนุ่มนวล ข้อเสียคือ ใช้พื้นที่เป็น 3 เท่าในการส่องสว่างของวัตถุ และพื้นผิวที่สัมผัสแสงจะไม่ค่อยชัดเจนเหมือนกับแบบที่สัมผัสแสงโดยตรง

ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ตรวจสอบการพิมพ์วันที่ที่ก้นกระป๋อง เช่น COKE PEPSI โซดา ใช้ตรวจสอบการพิมพ์บนพลาสติกใส และตรวจสอบการพิมพ์บนขวดใส

แหล่งกำเนิดแสงแบบ On-Axis Light

แหล่งกำเนิดแสงแบบนี้จะช่วยลดในการสะท้อนของพื้นผิววัตถุได้เป็นอย่างดี การกระจายแสงแบบนี้จะส่องแสงไปตั้งฉากกับเป้าหมายและใช้กระจกส่งแสงสะท้อนที่มุม 90 องศาไปยังเป้าหมาย วิธีการนี้ช่วยลดการเกิดเงาและมีแสงสะท้อนน้อยมาก สามารถตรวจสอบวัตถุมันวาวหรือโปร่งใสได้

จุดเด่นคือ ให้แสงสว่างมากกว่าแบบ Ring Light และให้แสงได้ดีแม้มีการสะท้อนของวัตถุ ข้อเสียคือ แสงที่ได้ออกมาจะได้แค่ 25% ของแสงที่ออกมา ตัวของแหล่งกำเนิดแสงจะต้องใกล้กับวัตถุ และตัวของแหล่งกำเนิดแสงจะต้องใหญ่กว่าวัตถุที่จะตรวจสอบ

ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ตรวจสอบการพิมพ์วันที่ที่ก้นกระป๋อง เช่น COKE PEPSI โซดา ใช้ตรวจสอบการพิมพ์บนพลาสติกใส และใช้ตรวจสอบการพิมพ์บนขวดใส

ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments