การติดตั้งตัว Digital Counter

 ซีรีย์ของ Digital Counter ในครั้งนี้มาพบกับการติดตั้ง Digital Counter กันครับ หากสนใจอ่านเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูล Digital Counter หรือถ้ามีรุ่นสินค้าในใจแล้วไปเลือกซื้อดิจิตอล เคาเตอร์ แบบออนไลน์ได้ที่ทันทีที่ Factomart.com ครับ

การติดตั้ง Digital Counter

ในการติดตั้งตัวเครื่องนับจำนวน Digital Counter เข้ากับตัวเซ็นเซอร์แบบต่างๆ เพื่อใช้งานนับจำนวน หรือวัดระยะทางนั้นจำเป็นต้องตรวจสอบตำแหน่งของการเดินสายจากตัวเซ็นเซอร์ที่จะต่อเข้ากับเครื่องนับจำนวนให้ถูกต้อง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการเสียหายได้


 
ภาพการเชื่อมต่อสายของเซ็นเซอร์แบบ NPN และ PNP กับเครื่องนับจำนวน

 นอกจากวิธีการต่อใช้งานสัญญาณอินพุตแล้วยังมีเรื่องของการต่อสัญญาณเอาท์พุตประเภทต่างๆ ของตัว Digital Counter ที่จะนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เช่น เสียงเตือน Alarm, Tower Light หรือ PLC


 
ภาพการเชื่อมต่อเอาท์พุตของเครื่องนับจำนวนกับโหลด

สำหรับการเจาะหน้าตู้คอนโทรล หรือแผงหน้าปัดต่างๆ เพื่อติดตั้งตัว Digital Counter นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากถ้าเจาะขนาดผิดพลาดอาจทำให้การติดตั้งไม่เรียบร้อย ความแข็งแรงทนทานลดลง อีกทั้งยังทำให้เสียเวลาในการติดตั้ง หรืออาจทำให้ต้องเสียตู้คอนโทรลใบนั้นไปเลยก็ได้ ซึ่งมาตรฐานส่วนใหญ่แล้ว จะเรียกกันว่า Panel Cut Out ซึ่งจะบอกค่าตัวเลขพร้อมกับค่าผิดพลาดเป็นบวกไว้อย่างเดียวเนื่องจากถ้าเป็นลบด้วยอาจทำให้การใส่ตัว Panel Meter ทำไม่ได้ หรือแน่นเกินไป


 
ภาพตัวอย่างการระบุขนาดการเจาะหน้าตู้คอนโทรลเพื่อติดตั้ง Counter Autonics

หลังจากการติดตั้งตัวเครื่องนับจำนวนเข้ากับตู้คอนโทรลแล้ว จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อสายต่างๆ โดยในการเชื่อมต่อสายจากแหล่งจ่ายไฟ เช่น 220VAC มาให้กับตัว Digital Counter นั้น บ่อยๆ ครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นมักเกิดความเสียหายแก่ตัวมิเตอร์ จากการต่อสายผิด หรือสายไฟหลุดจากตัวเทอร์มินอล ดังนั้นควรต่อฟิวส์เพื่อช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้


 
ภาพการต่อแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง 220VAC ผ่านฟิวส์ เพื่อเข้าเครื่องนับจำนวนของ Enda

ภาพการใช้ Digital Counter Autonics วัดระยะทางจากตัว Encoder

ในส่วนสุดท้ายของการติดตั้งตัว Digital Counter นั้น จำเป็นต้องมีการตั้งค่าการใช้งานของตัวเครื่องนับจำนวนเพื่อให้สามารถแสดงค่าการนับได้อย่างถูกต้อง ในที่ที่ขอยกตัวอย่างจากภาพการใช้ CT6M Digital Counter Autonics วัดระยะทางของ Vinyl จากตัว Encoder ซึ่งจะต้องทำการแปลงค่าจากเส้นผ่านศูนย์กลางมาเป็นความยาวของเส้นรอบวง โดยในที่นี้ความยาวของเส้นรอบวงหาได้จาก 3.1416 x เส้นผ่านศูนย์กลาง (200mm) = 628.32 mm จากนั้นทำการหาค่าความยาวต่อพัลส์ซึ่งจากตัวอย่างใช้ Rotary Encoder ที่มีจำนวนพัลส์ 1000 พัลส์ต่อรอบ ดังนั้นความรอบต่อพัลส์จะได้เท่ากับ 628.32mm หารด้วยจำนวนพัลส์ต่อรอบ (1000) = 0.628
เมื่อเราได้ค่าความยาวต่อพัลส์แล้วก็สามารถนำเอาค่านี้ไปใส่ในตัวเครื่องนับจำนวนในส่วนของ Prescale Function เพื่อให้เครื่องสามารถรับรู้ได้ว่าเมื่อมีสัญญาณพัลส์เข้ามา 1 พัลส์ หน้าจอจะต้องแสดงค่า 0.628mm.

สำหรับข้อมูลการติดตั้ง Digital Counter ที่ทางทีมงาน Factomart.com เตรียมไว้ให้ทุกท่านนั้นคงจะเป็นประโยชน์ให้ท่านไม่มากก็น้อยนะครับ อย่าลืมว่าถ้ามีข้อสงสัยทางเรามีทีมงาน Technical Engieer ตอบคำถามท่านทุกช่องทางครับ หากสนใจอ่านเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่ศูนย์รวมข้อมูล Digital Counterหรือถ้ามีรุ่นสินค้าในใจแล้วไปเลือกซื้อดิจิตอล เคาเตอร์ แบบออนไลน์ได้ที่ทันทีที่ Factomart.com ครับ

Facebook Comments