ความปลอดภัยของพนักงานที่ทำงานใกล้เครื่องจักรนั้นย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าพื้นที่ใด ผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ถ้าไม่อยากเกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อพนักงาน ผู้ผลิตควรออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์เซฟตี้ที่มีหลากหลายชนิดที่รองรับการทำงานของเครื่องจักรได้ทุกรูปแบบ
การออกแบบและติดตั้ง Machine Safety
Machine Safety อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรมีให้เลือกหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะเหมาะกับลักษณะงานที่แตกต่างกัน ในการออกแบบและติดตั้งนั้นอาจจะเลือกใช้เพียงแค่แบบใดแบบหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าต้องการเพิ่มความปลอดภัยหรือเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้นควรเลือกใช้หรือออกแบบให้ใช้อุปกรณ์เซฟตี้หลายๆ อย่างร่วมกัน
หากเราคิดจะใช้อุปกรณ์ป้องกันแล้ว เราควรรู้จักมัน เลือกใช้มันให้เหมาะสมและถูกวิธีเพื่อให้ได้ความปลอดภัยและประโยชน์จากมันสูงสุด เพราะถ้าเลือกใช้อุปกรณ์ไม่ถูกต้องเหมาะสม มันจะทำให้เราเสียเงินมากเกินไป หรือที่แย่กว่านั้นมันอาจจะกลับกลายเป็นอันตรายแก่เราก็ได้ โดยมีอุปกรณ์ป้องกันที่น่าสนใจต่างๆ ดังนี้
Low-resolution 2-beam safety grid
เป็นม่านแสงเซฟตี้ที่เอาไว้ตรวจจับตัวคน มีจำนวนลำแสงแค่ 2 เส้น ระยะห่างระหว่างลำแสงค่อนข้างมาก ตั้งแต่ 500 mm, 800 mm, 900 mm หรือ 1200 mm และยิงแสงได้ระยะทางไกลถึง 70 m มีราคาถูกเหมาะใช้ตรวจจับคนในพื้นที่กว้างๆ โดยติดตั้งให้สูงระดับเข่าถึงเอว เช่น ติดตั้งในพื้นที่ประกอบรถยนต์ เครื่องตัดท่อ หรือบนสายพานลำเลียง
Low-resolution 3 or 4-beam safety grid
มีคุณสมบัติเช่นเดี๋ยวกับแบบ 2-beam แต่จะตรวจจับทั้งตัวคน มีจำนวนลำแสงแค่ 3-4 เส้น ระยะห่างระหว่างลำแสงจะประมาณ 300-400 mm ขึ้นอยู่กับความสูงของม่านแสง
Standard-resolution safety light screen
ม่านแสงนิรภัยแบบมาตรฐาน สำหรับตรวจจับมือคน ข้อเท้า หรือแขน มีระยะห่างระหว่างลำแสง 30 mm. จำนวนลำแสงขึ้นอยู่กับความสูงของม่านแสง ระยะยิงไกล 15 m ออกแบบมาให้ใช้กับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เครื่องจักรที่มีชิ้นส่วนหมุนหรือเครื่องยิง ป้องกันไม่ให้มือหรือแขนโดนกระแทกหรือถูกบีบ
High-resolution safety light screen
ม่านแสงนิรภัยแบบทความละเอียดสูง สำหรับตรวจจับมือคน ข้อเท้า หรือแขน มีระยะห่างระหว่างลำแสง 14 mm. จำนวนลำแสงขึ้นอยู่กับความสูงของม่านแสง ระยะยิงไกล 8 m ออกแบบมาให้ใช้กับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องการความปลอดภัย เช่น เครื่องจักรที่มีความร้อน อุปกรณ์เชื่อมโลหะ พื้นที่ของหุ่นยนต์ เป็นต้น
Safety Laser Scanner
เครื่องสแกนเลเซอร์ ใช้ตรวจสอบบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานที่มีความอันตรายสูง ใช้ติดตั้งได้ทั้งพื้นที่อยู่กับที่หรือพื้นที่ที่มีการเคลื่อนไหว ติดตั้งได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน สามารถตรวจสอบได้ครอบคลุมถึง 300 องศา เช่น ติดตั้งไว้ที่พื้นเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลเข้าไปในพื้นที่อันตราย ติดตั้งไว้ที่ด้านบนประตูในพื้นที่ที่ไม่สามารถติดม่านแสงนิรภัยได้ หรือติดตั้งบนยานพาหนะเพื่อกำจัดความเสี่ยงของการชนกับวัตถุหรือผู้คนที่อยู่ในเส้นทาง
Two-hand control
เป็นสวิตซ์ที่ถูกออกแบบมาให้มี 2 ปุ่มกด หลักการทำงานคือ ต้องกดปุ่มทั้ง 2 ปุ่ม พร้อมกันเท่านั้น เครื่องจักรจึงจะสามารถทำงานได้ จะมี sensor ที่คอยรับสัญญาณ ในเวลาที่เท่ากัน ถ้าหากกดไม่พร้อมหรือเกินช่วงเวลาที่กำหนด เครื่องก็จะไม่สามารถทำงานได้ อุปกรณ์เซฟตี้นี้จึงเหมาะกับการใช้กับเครื่องจักรที่มีอันตรายสูงๆ
Safety Interlock Switch
เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ด่านสุดท้ายก่อนที่คนจะเข้าใกล้เครื่องจักร โดยเป็นสวิตซ์ที่ประตูทางเข้าบริเวณเครื่องจักรที่มีการล้อมรั้วหรือกั้นพื้นที่ เพื่อไม่ให้คนเข้าไปได้ วิธีทำงานคือ เมื่อประตูเปิด เครื่องจักรจะหยุดทำงาน โดยสวิตช์แบบนี้จะมีหลายรูปแบบ เช่น แบบบานหมุนพับ แบบแม่เหล็ก แบบสลักเสียบ แบบสวิทช์หมุน หรือแบบ fiber optic แล้วแต่ความสะดวกของผู้ออกแบบ
กลอนจะล็อคไม่ให้เปิดประตูได้ จะเปิดประตูได้ก็ต่อเมื่อพนักงานตั้งใจมากดปุ่มคลายล็อค และเครื่องจักรก็จะหยุดการทำงาน เครื่องจักรจะกลับมาทำงานก็ต่อเมื่อพนักงานออกมาจากบริเวณเครื่องจักรแล้วกดปุ่มสตาร์ทเพื่อสั่งให้เครื่องจักรทำงานต่อไป
Safety Rope Pull Switch
ถือว่าเป็นอุปกรณ์เซฟตี้อีกหนึ่งอย่างที่มีวิธีการใช้งานที่ง่ายมาก การติดตั้ง Safety Rope Pull Switch มีข้อควรระวังคือ การตั้งค่าความตึงสลิง โดยทั่วไป Rope Pull จะมีสถานะการทำงาน 3 แบบ คือ ปกติ, มีการดึง และสลิงขาด ในการตั้งความตึงสลิงให้พอดีต้องให้อยู่ในช่วงที่มาร์คไว้ ดังรูป ซึ่งจะเห็นว่าจะมีช่วงสีเขียวคือช่วงที่พร้อมทำงาน เมื่อตั้งได้แล้วจึงทำการดึงปุ่ม reset ขึ้นเพื่อพร้อมทำงาน
กลอนจะล็อคไม่ให้เปิดประตูได้ จะเปิดประตูได้ก็ต่อเมื่อพนักงานตั้งใจมากดปุ่มคลายล็อค และเครื่องจักรก็จะหยุดการทำงาน เครื่องจักรจะกลับมาทำงานก็ต่อเมื่อพนักงานออกมาจากบริเวณเครื่องจักรแล้วกดปุ่มสตาร์ทเพื่อสั่งให้เครื่องจักรทำงานต่อไป
ความจริงแล้วเพื่อความปลอดภัยสูงสุด เราควรจะออกแบบให้มีการใช้อุปกรณ์เซฟตี้หลายๆ อย่างร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น ล้อมรั้วโดยใช้ประตูแบบล็อค ถ้าประตูเปิดหุ่นยนต์จะหยุดทำงาน พื้นที่ภายในใช้เลเซอร์สแกนเนอร์ ถ้ามีคนอยู่ในพื้นที่หุ่นยนต์จะหยุดทำงานทันที และบริเวณเตรียมของก็ใช้ม่านแสงนิรภัยเพื่อกั้นไม่ให้คนเอามือเข้าไป
จะเห็นได้ว่าหากจะให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ อุปกรณ์ป้องกันเหล่านี้จะช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับพนักงานได้เป็นอย่างมาก ในแต่ละพื้นที่จะมีความเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์แต่ละชนิดต่างกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบของวิศวกร ในพื้นที่เดียวก็ใช้หลายอุปกรณ์ร่วมกันได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดอุบัติเหตุร้ายแรงระหว่างปฏิบัติงาน
ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ