กลับมาอีกครั้งกับซีรีย “การบำรุงรักษาระบบควบคุม และแจกจ่ายกระแสไฟฟ้า” ซึ่งคราวที่แล้วเราได้พูดเกี่ยวกับเนื้อหาว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเบรกเกอร์ MCCB ควรที่จะเปลี่ยนเมื่อไหร่? และเห็นได้ชัดว่าเบรกเกอร์ไม่สามารถทนการลัดวงจรได้หลายๆ ที อีกทั้งยังมีอันตรายในการรีเซ็ตเบรกเกอร์ตัวใหญ่ๆ ที่มีขนาดมากกว่า 100A และเราก็เข้ามาถึงเนื้อหาของบทความนี้ซึ่งก็คือว่า ถ้าเบรกเกอร์ตัวใหญ่ทริป (MCCB) จะรีเซ็ตมันอย่างไรให้ปลอดภัย และสามารถไปอ่านบทความเกี่ยวกับเบรกเกอร์ MCCB เพิ่มเติม ได้ที่ คู่มือและศูนย์รวมเบรกเกอร์ MCCB
เรามาพูดถึงแนวทางในการรีเซ็ต MCCB กัน ก่อนอื่นเห็นได้ชัดเลยว่าเวลาที่ MCCB ทริปแล้ว หน้าตาของมันจะไม่เหมือนกับเบรกเกอร์ลูกย่อย MCB ทริป เนื่องด้วยตำแหน่งตัวคันโยกจะอยู่ตรงกลาง ดูรูปด้านบน ตามความรู้สึกของเราก็จะคิดว่ายกเบรกเกอร์ขึ้นก็ได้แล้ว แต่ความจริงเวลาที่เบรกเกอร์ทริปเราจะไม่สามารถยกคันโยกขึ้นไปเปิดทันทีได้ และคุณไม่ควรทำแบบนั้นได้เลย เพราะการรีเซ็ตเบรกเกอร์ที่ทริปเลย โดยที่ยังไม่ได้ตรวจสอบสาเหตุการทริปจะเป็นอันตรายอย่างมาก
จากการที่แสดงให้เห็นในครั้งที่แล้ว ทางผู้ผลิตมีการปรับประกันว่า เบรกเกอร์ทนกระแสลัดวงจรได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น ถ้ากรณีที่เบรกเกอร์ทริปแล้วยังมีกระแสลัดวงจรในระบบอยู่ ในขณะที่เรารีเซ็ตตัวเบรกเกอร์ MCCB อาจจะ fail ได้ ซึ่งในกรณีที่แย่ที่สุดก็คือ ตัวเบรกเกอร์เองอาจระเบิดใส่คนที่ไปรีเซ็ตมัน มีเรื่องจริงเรื่องหนึ่งที่คนชอบเอามาทำเป็นเรื่องตลก ก็คือเหล่าวิศวกรมันจะไม่กล้ารีเซ็ตเบรกเกอร์ตัวใหญ่ๆ เอง แล้วสั่งให้ช่างไฟในโรงงานเป็นคนไปทำเสียมากกว่า และบางทีช่างไฟยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงพอ
[thrive_leads id=’5897′]
ที่นี่เราจะมาดูขั้นตอนที่ควรทำก่อนที่จะรีเซ็ตเบรกเกอร์ตัวใหญ่กัน มีขั้นตอนดังนี้
- หาสาเหตุว่าอะไรทำให้เบรกเกอร์ MCCB ทริป
- แก้ไขสาเหตุที่ทำให้เบรกเกอร์ทริป
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบรวมถึงตัวเบรกเกอร์สามารถรีเซ็ตใหม่ได้
- วิธีการรีเซ็ตใหม่
เรามาดูทีละขั้นตอนอย่างละเอียดกัน
หาสาเหตุว่าอะไรทำให้เบรกเกอร์ MCCB ทริป
- หาดูว่าเฟสหรือวงจรไหนทริป จากการที่ดูว่ามีเบรกเกอร์ย่อยตัวไหนตัดอยู่ด้วย เพื่อที่จะหาพื้นที่ในไซด์นั้นว่าปัญหาอยู่ที่พื้นที่ตรงไหน
- เช็คดูว่าโหลดหรือสายไฟเส้นไหนมีความเสียหายหรือมีรอยไหม้เกิดขึ้น
- ถ้าหาไม่เจอ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดตรงขาออกเบรกเกอร์เทียบกับกราวด์ดู
- สรุปให้ได้ว่าอะไรที่ทำให้ตัวเบรกเกอร์ทริป ซึ่งจากบทความที่แล้วเราได้มีการพูดถึงว่ามี 3 เหตุผลด้วยกันที่เบรกเกอร์ทริปนั้นก็คือ
- โอเวอร์โหลด Overload
- กระแสลัดวงจร Short-circuit
- Shunt Trip เบรกเกอร์ทริปจากคำสั่งวงจรป้องกันต่างๆ เช่น Protection Relay
แก้ไขสาเหตุที่ทำให้เบรกเกอร์ทริป
1. จากรูปเห็นได้ว่า เบรกเกอร์ที่มีโหลดมอเตอร์นั้นทริปอยู่หลังจากนั้นทำการตรวจสอบที่มอเตอร์และสายไฟแล้วไม่เห็นความผิดปกติ ทุกอย่างยังสามารถใช้งานได้ เราสามารถจะสรุปว่าเป็นโอเวอร์โหลดได้เมื่อเจอช็อตเซอร์กิตตรงไหน เบรกเกอร์ไม่ได้ทริปจากวงจรต่างๆ บางทีจะเห็นได้จากการที่มีโหลดเพิ่มเติมเข้ามาใช้ ควรปลดโหลดที่เพิ่มเข้ามาใหม่ออก การที่สรุปว่าเป็นโอเวอร์โหลดได้นั้นก็คือจะไม่เห็นความเสียหายในระบบ การรีเซ็ตเบรกเกอร์ที่เกิดจากโอเวอร์โหลดนั้นจะมีความเสี่ยงจากอันตรายต่ำ
2. จากรูปเห็นได้ว่า เบรกเกอร์ที่มีโหลดมอเตอร์นั้นทริปอยู่หลังจากนั้นทำการตรวจสอบที่มอเตอร์และสายไฟแล้วเห็นว่าที่สายไฟหรือมอเตอร์นั้นเสียหาย งั้นก็สรุปได้ว่าการทริปนี้มาจากระแสลัดวงจร Short-circuit เห็นได้จากรอยไหม้ของสายไฟหรือโหลด เช่น มอเตอร์ ก็ต้องลากสายใหม่หรือปลดโหลดจุดที่มีปัญหาออก เพื่อทำการแก้ไข
3. จาก Shunt Trip พวก Protection Relay ที่สั่งเบรกเกอร์ตัดนั้น ส่วนใหญ่จะมี Alarm บอกสาเหตุที่ทำให้ Protection Relay นั้นเกิด Alarm ขึ้น ซึ่ง Protection Relay มีอยู่หลายประเภท เช่น Over Voltage, Under Voltage และเฟสหาย ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นจากการจ่ายไฟจากการไฟฟ้าเอง
[thrive_leads id=’5904′]
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบรวมถึงตัวเบรกเกอร์สามารถรีเซ็ตใหม่ได้
ถ้าจะให้ดีให้ใช้โอห์มมิเตอร์เช็คให้ดีก่อนว่าปัญหาไม่มีแล้ว ถ้าสรุปได้แน่ชัดว่าปัญหาเกิดจากโอเวอร์โหลด ความเสี่ยงในการรีเซ็คข้างค่อนน้อย ถ้าสาเหตุมาจาก Shunt trip ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระแสลัดวงจร ความเสี่ยงในการรีเซ็คก็จะต่ำเช่นกัน สาเหตุอะไรที่เกี่ยวข้องกับซ็อตเซอร์กิตที่ทำให้เบรกเกอร์ทริปนั้นค่อนข้างจะมีความเสี่ยงในการรีเซ็ตค่อนข้างสูง และควรตรวจสภาพของตัวเบรกเกอร์ให้ดีก่อนที่จะรีเซ็ตมัน ควรที่จะตรวจดูว่าเบรกเกอร์ MCCB มีรอยเขม่าหรือรอยความเสียหายหรือไม่ อย่าลืมว่าตัวเบรกเกอร์ MCCB นั้นมีอายุงาน แล้วควรจะต้องดูว่ามันควรเปลี่ยนหรือรีเซ็ตใหม่มากกว่ากัน ถ้าอยากจะรู้ข้อมูลเพิ่มเติมให้ไปดูที่บทความ “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเบรกเกอร์ MCCB ควรที่จะเปลี่ยนเมื่อไหร่” เมื่อตรวจเช็คทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะมาดูวิธีการรีเซ็ตในหัวข้อถัดไป
วิธีการรีเซ็ตใหม่
การรีเซ็ตเบรกเกอร์ตัวใหญ่ๆ แตกต่างจากเบรกเกอร์ MCB ตรงที่เมื่อ MCCB ทริป ตัวคันโยกจะเด้งมาที่ตำแหน่งกึ่งกลางระหว่าง ON กับ OFF ตำแหน่งนี้เรียกว่า ทริป ถ้าจะรีเซ็ตเบรกเกอร์ก็ให้ดันคันโยกไปที่ตำแหน่ง OFF ก่อน จากนั้นค่อยดันไปที่ตำแหน่ง ON ทีหลัง เท่านี้เบรกเกอร์ MCCB ก็จะทำงานได้เหมือนเดิม
เมื่ิอรีเซ็ตเบรกเกอร์ตัวใหญ่ MCCB แล้ว ถ้าเบรกเกอร์นั้นยังทริปอีก ไม่ว่าทันทีหรือภายในไม่กี่นาที ให้กลับไล่กระบวนการหาสาเหตุให้อีกครั้งหนึ่ง ถ้าเบรกเกอร์มันทริปทันทีสาเหตุน่าจะมาจากกระแสลัดวงจร (Short-circuit) ซึ่งในขณะนั้นตัว MCCB ได้ทนกระแสลัดวงจรไปอีกทีนึง ถ้าเหตุการ์ณนั้นเกิดขึ้นควรจะเปลี่ยนตัว MCCB และในขณะที่ทำการรีเซ็ตควรจะใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุดกันไฟ ถุงมือกันไฟ หมวกป้องหันหรือแว่นตา และควรที่จะปิดฝาตู้ไฟก่อนที่จะรีเซ็ต ถ้าเกิดว่ามีประกายไฟหรือเบรกเกอร์ระเบิดมันจะได้เกิดภายในตู้ไฟ จะได้ไม่สามารถมาทำอันตรายแก้ตัวเราได้
ในบทความนี้เราได้พูดถึงวิธีการที่จะรีเซ็ตเบรกเกอร์ตัวใหญ่ให้ปลอดภัยด้วยการหาสาเหตุของเบรกเกอร์ทริปก่อน ถ้าสาเหตุมาจากซ็อตเซอร์กิตนั้นควรที่จะตรวจสภาพของเบรกเกอร์ให้ดีว่าอายุงานมันยังมีพอที่จะใช้งานต่อไปได้หรือไม่ การที่จะรีเซ็ตตัวเบรกเกอร์ในขณะที่ยังมีกระแสลัดวงจรอยู่นั้นเป็นเรื่องอันตรายมาก ซึ่งควรระวังเป็นอย่างมาก มันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ จากการระเบิดของตัวเบรกเกอร์ แล้วในบทความต่อไปของซีรีย์นี้ทางเราจะพูดถึง กรณีที่เราต้องเปลี่ยนเบรกเกอร์ตัวใหญ่ MCCB เราจะเลือกอย่างไรให้ถูกต้องและไม่เป็นอันตราย
สามารถไปอ่านบทความเกี่ยวกับเบรกเกอร์ MCCB เพิ่มเติม ได้ที่ คู่มือและศูนย์รวมเบรกเกอร์ MCCB ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรือสนใจข้อมูลเพิ่มเติมอะไร คุณก็คอมเม้นมาหาเราได้เลย ที่แถบคอมเม้นท์ด้านล่าง หรือกด Subscribe ไว้ติดตามบทความหรือวิดีโอใหม่ๆ ของเราได้เลยครับ