การเลือกใช้ Digital Counter

 ซีรีย์ของ Digital Counter ในครั้งนี้มาพบกับการเลือกใช้ Digital Counter กันครับ ซึ่งจะบอกทุกขั้นตอนในการเลือกให้ท่านสามารถเลือกได้ทันทีหลังจากที่อ่านจบ หากสนใจอ่านเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูล Digital Counter หรือถ้ามีรุ่นสินค้าในใจแล้วไปเลือกซื้อดิจิตอล เคาเตอร์ แบบออนไลน์ได้ทันทีที่ Factomart.com ครับ

การเลือกใช้ Digital Counter

การเลือกใช้งานตัว Digital Counter นั้นจะมีวิธีการเลือกตามการใช้งานที่ต้องการ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ประเภทหรือชนิดของเซ็นเซอร์ที่ใช้ต่อกับตัว Digital Counter ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบที่เป็น Dry Contact เช่น Limit Switch และแบบที่เป็นทรานซิสเตอร์ NPN และ PNP เช่น เอาท์พุตของเซ็นเซอร์ประเภทต่างๆ ซึ่งในการเลือกนั้นจะต้องสัมพันธ์กับความเร็วในการนับของเซ็นเซอร์ เช่น ถ้าชิ้นงานวิ่งด้วยความเร็วสูงก็ต้องใช้เซ็นเซอร์ประเภทที่เอาท์พุตเป็นแบบทรานซิสเตอร์ ซึ่งจะรองรับความเร็วได้สูงถึงหนึ่งแสนพัลส์ต่อวินาที ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องนับจำนวนแต่ละประเภทด้วย


 
ภาพแสดงการปรับค่า Counting Speed ของ Counter Autonics

2. จำนวนหลักในการนับสูงสุดของตัวเครื่องนับจำนวน โดยสามารถแสดงได้เป็น 4 หลัก 6 หลัก และ 8 หลัก ซึ่งสามารถนับค่าได้สูงสุดตามจำนวนหลักที่สามารถแสดงได้เช่น 6 หลัก จะสามารถแสดงค่าได้สูงสุด 999999

ภาพแสดงการนับค่าได้สูงสุดของเครื่องนับจำนวน Autonics

3. ภาคจ่ายไฟสำหรับตัว Digital Counter นั้นโดยปกติจะนิยมใช้ค่าแรงดันที่เป็นมาตรฐานที่ใช้ในโรงงานอยู่แล้ว เช่น 110VAC หรือ 220VAC บางครั้งอาจจะมีการใช้ระดับแรงดันไฟฟ้าที่เป็น DC 24V เนื่องจากต้องการความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงรักษา
4. ภาคจ่ายไฟสำหรับตัวเซ็นเซอร์ จะใช้สำหรับเป็นแหล่งจ่ายให้กับตัวเซ็นเซอร์ที่นำมาต่อเข้ากับเครื่องนับจำนวนซึงจะมีค่าแรงดัน 12VDC ดังนั้นต้องตรวจสอบด้วยค่าเซ็นเซอร์สามารถรับค่าแรงดันเท่านี้ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้สามารถใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอกได้ และทำการการเชื่อมกราวด์ของแหล่งจ่ายภายในกับภายนอกเข้าด้วยกัน ก็สามารถใช่้งานได้ตามปกติ
5. ขนาดในการติดตั้ง หรือ Size ในการติดตั้งเครื่องนับจำนวน Digital Counter บนแผงหน้าปัด หรือที่ตู้คอนโทรล ซึ่งโดยปกติแล้วในประเทศเรานั้นจะอ้างอิงขนาดของตัวมิเตอร์กันที่มาตรฐาน DIN 43700 ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานนี้ถูกแทนที่ด้วยมาตรฐานใหม่คือ IEC 61554:2002-08 โดยจะเป็นขนาดของการเจาะรูบนแผงหน้าปัดเพื่อใส่ตัว Panel Meter ปัจจุบันขนาดที่มีใช้กันบ่อยๆ ได้แก่ขนาด 48*48mm,  ขนาด 36*72mm, ขนาด 72*72mm และขนาด 48*96mm

ภาพตัวอย่างขนาดติดตั้งของเครื่องนับจำนวน ขนาด 72*72mm

6. สัญญาณเอาท์พุตของเครื่องนับจำนวน Digital Counter นั้น โดยปกติแล้วจะเลือกใช้งาน หรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งาน เช่น ถ้าต้องการดูค่าอย่างเดียวก็ไม่จำเป็นต้องเลือกใช้งาน แต่ถ้าต้องการใช้ Relay สำหรับตัดวงจรไฟฟ้า สามารถเลือกใช้งานตัว Digital Counter ที่มีฟังก์ชั่น Preset ซึ่งโดยทั่วๆ ไปจะมีให้เลือก 1 หรือ 2 Presets

ภาพ Digital Counter แบบ 1 Preset ของ Autonics

7. ต้องการเชื่อมต่อกับตัวคอนโทรลเลอร์อื่นๆ เช่น PLC, PC หรือไม่ สำหรับเครื่องนับจำนวนบางรุ่นสามารถเชื่อมต่อสัญญาณผ่านการสื่อสารแบบอนุกรม RS-485 โดยใช้การสือสารผ่าน MODBUS Protocol ได้ ซึ่งจะสามารถเก็บข้อมูลการทำงานของตัว Counter หรือสั่งเปลี่ยนแปลงค่า Set Point SV ผ่านระบบออนไลน์ได้

 
ภาพการติดต่อสื่อสารผ่านระบบ RS-485 ของ Counter Autonics

8. มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำ IP ในการเลือกใช้งาน Digital Counter โดยส่วนใหญ่จะต้องถูกติดตั้งในบริเวณโรงงาน ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องฝุ่น ดังนั้นควรเลือก Digital Counter ที่มีการปิดมิดชิด โดยมี IP สูงๆ


 
ภาพการบอกคุณสมบัติการทนน้ำและฝุ่นของเครื่องนับจำนวน

เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลการเลือก Digital Counter ทางทีมงาน Factomart.com หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านไม่มากก็น้อยนะครับ อย่าลืมว่าถ้ามีข้อสงสัยทางเรามีทีมงาน Technical Engieer ตอบคำถามท่านทุกช่องทางครับ หากสนใจอ่านเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่ศูนย์รวมข้อมูล Digital Counter หรือถ้ามีรุ่นสินค้าในใจแล้วไปเลือกซื้อดิจิตอล เคาเตอร์ แบบออนไลน์ได้ทันทีที่ Factomart.com ครับ

Facebook Comments