วิธีการเลือกใช้งาน ซีเล็คเตอร์สวิทช์ (Selector Switch)

กลับมาพบกับซีรีย์บทความ Selector Switch สวิทช์สำหรับการควบคุมกระแสไฟฟ้า ในส่วนสุดท้ายนี้เราขอนำเสนอการเลือกซีเล็คเตอร์สวิทช์

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับซีเล็คเตอร์สวิทช์ Selector Switch ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

วิธีการเลือกใช้งานซีเล็คเตอร์สวิทช์ (Selector Switch)

จำนวน Position ที่ต้องการควบคุม

ต้องทราบจำนวน Position ที่ต้องการควบคุม ซึ่งจะมีการควบคุมแบบ 2 ตำแหน่ง และ 3 ตำแหน่ง จึงต้องทราบวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งานก่อนทุกครั้ง โดย ซีเล็กเตอร์สวิทช์ 2 ทาง สำหรับการควบคุมแบบ 1 คำสั่ง และ ซีเล็กเตอร์สวิทช์ 3 ทางสำหรับการควบคุม 2 คำสั่ง เป็นต้น

รูปที่ 1 แบบ 2 position

ถ้าบิดไปทาง A หน้าคอนแทค 1,2,3 จะไม่ทำงาน แต่ถ้าบิดไปทาง B หน้าคอนแทค 1,2,3 จะทำงาน

รูปที่ 2 แบบ 3 position

ถ้าบิดไปทาง A หน้าคอนแทคที่ 1,2 จะทำงาน ถ้าบิดไปทาง B จะไม่มีหน้าคอนแทคใดทำงาน แต่ถ้าบิดไปทาง C หน้าคอนแทค 2,3 จะทำงาน

ประเภทของ ซีเล็กเตอร์สวิทช์

เลือกประเภทของซีเล็กเตอร์สวิทช์ ซึ่งมี 3 ประเภท โดยสามารถเลือกใช้ตามเหมาะสม เช่น แบบมาตรฐาน ใช้สำหรับควบคุมแบบระยะใกล้

แบบมาตรฐาน

ไม่มีไฟแสดงสถานะ

แบบมีไฟแสดงสถานะ

เหมาะสำหรับงานที่สามารถมองเห็นสถานะจากระยะไกล หรือใช้จำแนกเครื่องจักรด้วยสีของซีเล็กเตอร์สวิทช์

แบบใช้กุญแจในการบิด

เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ความปลอดภัยค่อนข้างสูงในการควบคุม จะใช้ได้เฉพาะกับผู้ที่ดูแลกุญแจเท่านั้น เช่น การควบคุมเครนยกสินค้าต่างๆ เป็นต้น

ลักษณะการบิด

ลักษณะการบิดของการทำงานของ ซีเล็คเตอร์สวิตช์ เช่น

บิดค้าง

เหมาะสำหรับงานที่ใช้การทำงานเป็นระยะเวลานานๆ เช่น บิดเพื่อทำการเปิดไฟแสดงสถานะทำงานของเครื่องจักร เป็นต้น

บิดเด้งกลับ (spring return)

เหมาะสำหรับใช้ในการจูนตำแหน่งการทำงาน(จะแม่นกว่า) เช่น การทำงานของเครน เป็นการทำงานไม่ซับซ้อน จะใช้สั่งการทำงานในระยะเวลาสั้นๆ

มีกุญแจ

และแบบ เลือกตามลักษณะการทำงาน และ ที่ถูกออกแบบมา สามแบบนี้ นั้น มาเพื่อความปลอดภัย

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง (Diameter)

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง(Diameter) หรือขนาดรูเจาะที่ใช้ใส่ซีเล็กเตอร์สวิทช์ โดยมาตรฐานทั่วไปจะเป็นขนาด 22 sq.mm ซึ่งแต่ละขนาดนั้นจะมีผลต่อพื้นที่หน้าตู้

สี

สีของซีเล็คเตอร์สวิตช์ (Selector Switch) เช่น สีดำ, สีเขียว, สีเหลือง, สีแดง, สีน้ำเงิน เป็นต้น ซึ่งขึ้นกับความต้องการของการใช้งานจริง โดยอิงชาร์จสีเพิ่มเติมไว้ด้วยลิงค์

หน้าคอนแทค

เลือกแบบนี้เพราะอะไร ต้องทราบหน้าคอนแทคที่ต้องการนำไปใช้งาน เพื่อใช้เซตคำสั่งของซีเล็กเตอร์สวิทช์ โดยจะมีให้เลือกแบบ NO และ NC โดย ซีเล็กเตอร์สวิทช์ของแบรนด์ Lovato สามารถเพิ่มคอนแทคได้ถึง 3 แถว 9 คอนแทค

แรงดันไฟฟ้า

ต้องทราบแรงดันไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเลือก แรงดันของหลอดไฟ LED ในซีเล็กเตอร์สวิทช์ ซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่ 12VDC, 24VDC/AC, 110VAC, 230VAC เป็นต้น

การเลือกซีเล็คเตอร์สวิทช์มีความสำคัญนะคะ เพราะส่งผลโดยตรงต่อการควบคุมกระแสไฟฟ้า ดังนั้นหากท่านยังไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถาม ทางทีม Technical Engineer

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Selector Switch ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments