การเลือก Soleneoid Valve

การเลือก Solenoid Valve ให้ถูกกับงานที่ใช้ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน มาดูกันว่าเราจะมีหลักการเลือกโซลินอยด์วาล์วอย่างไรกันบ้างในบทความนี้ สำหรับท่านที่สนใจหัวข้ออื่นๆ ของโซลินอยด์ วาล์ว สามารถติดตามอ่านต่อได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูล Solenoid Valve หรือหากต้องการสั่งซื้อโซลินอยด์ วาล์ว ออนไลน์ได้ทันทีที่ Factomart.com

การเลือกโซลินอยด์วาล์ว

เมื่อเราทราบถึงระบบการทำงานของวาล์วและได้เห็นชิ้นส่วนต่างๆของวาล์วแล้วก็ถึงเวลาที่จะมาเลือกมันให้ถูกกับการใช้งานของเราแล้วสิ่งจำเป็นที่จะต้องพิจารณาก็ประกอบด้วย

– ชนิดของของไหล (medium) พิจารณาว่ามีคุณสมบัติการกัดกร่อนมากน้อยเพียงใด เพื่อเลือกตัวเรือน(body) ของวาล์วว่าควรจะเป็นวัสดุแบบใด เช่น เลือกเป็นสเตนเลส 316 เมื่อของไหลมีความเป็นกรดเป็นด่างสูงเป็นต้น อีกเหตุผลที่ต้องเลือกให้ถูกต้องกับชนิดของไหลก็คือ ซีล โดยพิจารณาว่าเป็น nitride rubber, fluoroelastomer หรือ PTFE ซึ่งซีลแต่ละชนิดเหมาะกับการใช้กับของไหลที่ต่างกันซึ่งผู้ผลิตมักมีรายละเอียดระบุไว้ให้ทราบ

– ความดันของระบบ (pressure) เพื่อเลือกชนิด และขนาดของวาล์วที่เหมาะสม สำหรับระบบที่ใช้ความดันสูงกว่า 1 bar โดยเฉพาะวาล์วที่เป็นระบบเปิดปิดทางอ้อมและแบบลูกผสม  จะต้องมีการควบคุมอัตราการไหลของขาออกเพื่อรักษาความต่างศักย์ของความดัน (pressure drop) ระหว่างขาเข้าและขาออกให้ไม่เกิน 1 bar   
 ส่วนวาล์วที่เป็นระบบเปิดปิดโดยตรงก็เลือกตัวที่รองรับกับความดันและอัตราการไหลที่จะใช้งานตามตารางของผู้ผลิตได้เลย หากขาเข้าไม่มีความดันของของเหลวแต่ต้องการเปิดให้ไหลในอัตราที่มากเราอาจต้องพิจารณาเลือกใช้วาล์วระบบเปิดปิดแบบลูกผสม

– อุณหภูมิ อุณหภูมิของของไหลทำให้เราต้องเลือกชนิดของซีลและคอยล์ผู้ผลิตจะมีซีลที่เหมาะสมใช้กับของไหลที่มีอุณหภูมิสูง เช่น fluoroelastomer และ PTFE ให้เลือกใช้ ส่วนคอยล์นั้นมักมีให้เลือกเป็น class F ซึ่งเป็นคอยล์มาตรฐานของโซลินอยด์วาล์วทั่วไปและ class H ซึ่งมักใช้กับของไหลที่มีความร้อนสูง (max 180 degree C)

 – อัตราการไหล ดูอัตราการไหลของวาล์วแต่ละขนาดจากค่า Kv ซึ่งเป็นค่าอัตราการไหลของน้ำที่ความต่างศักย์ของความดันขาเข้า และ ขาออกที่ 1 bar วาล์วที่มีขนาดเกลียวเท่ากันอาจมีอัตราการไหลที่แตกต่างกันเป็นเท่าๆ ตัวก็ได้ ดังนั้นเราจะนำเอาขนาดของเกลียวมาพิจารณาเป็นหลักไม่ได้ เราอาจย่อหรือขยายขนาดของเกลียวได้หากเลือกอัตรา การไหลของวาล์วนั้นถูกต้องกับการใช้งาน

– ไฟฟ้าที่ใช้ควบคุม ดูว่าเป็น AC หรือ DC โวลต์เท่าไร เช่น 24VDC หรือ 220VAC เป็นต้น ปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆคือออกแบบไว้เป็นแบบใช้กับไฟฟ้าชนิด DC แต่เผลอไปเข้าไฟ 220 VAC ทำให้คอยล์ไหม้ตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้งาน

 –  สถานที่ที่ติดตั้ง หากบริเวณที่ติดตั้งวาล์วเป็นบริเวณไวไฟที่ต้องควบคุม (Explosion proof) ต้องเลือกคอยล์ของโซลินอยด์วาล์วเป็นแบบ Explosion proof ที่เหมาะสมกับ zone ที่กำหนดด้วย

นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นที่ใช้เป็นหลักในการเลือกใช้โซลินอยด์วาล์วแล้ว  ยังมีเรื่องปลีกย่อยอื่นๆอีกบ้าง เช่น วาล์วได้มาตรฐาน รับรองตามที่ต้องการหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาเลือกเป็นกรณีไป เมื่อเราเลือกวาล์วได้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว วาล์วนั้นก็จะมีอายุ การใช้งานที่ยาวนานจนลืม ประหยัดทั้งเงินและเวลาในการซ่อมบำรุง สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราใช้เครื่องมือได้ดีและเต็มประสิทธิภาพ

ข้อมูลวิธีการเลือกที่เราเตรียมไว้นี้เป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานของการเลือกใช้โซลินอยด์ วาล์ว หากท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามกับทาง Technical Engineer ของเราเพิ่มเติมได้ทุกช่องทางครับ สำหรับท่านที่สนใจหัวข้ออื่นๆ ของโซลินอยด์ วาล์ว สามารถติดตามอ่านต่อได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูล Solenoid Valve หรือหากต้องการสั่งซื้อโซลินอยด์ วาล์ว ออนไลน์ได้ทันทีที่ Factomart.com

Facebook Comments