หลักการพื้นฐานในการเลือกใช้ Change Over Switch

Share this post

ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง “สวิตซ์” ซึ่งถ้ากล่าวถึงคำนี้หลายท่านคงนึกถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการตัดต่อวงจรทางไฟฟ้า แต่ในฉบับนี้ เราจะกล่าวถึงสวิตซ์ที่ใช้ตัดต่อระหว่างแหล่งจ่ายไฟ 2 แหล่งหรือที่นิยมเรียกว่า “change over switch” โดยมักนิยมใช้ตัดต่อระหว่างแหล่งจ่ายไฟปกติ (ไฟจากการไฟฟ้า) และแหล่งจ่ายไฟฉุกเฉิน (เครื่องกำเนิดไฟฟ้า)

รูปแบบของ Change Over Switch

สำหรับดีไซน์ของ change-over switch แบ่งได้ดังนี้ คือ 1. ดีไซน์ circuit breaker 2. ดีไซน์ load break switch และ 3. ดีไซน์ close transition

จากข้างต้นก็สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

Manual change-over switch

Manual change-over switch กล่าวคือ ต้องใช้คนในการโยกมือจับ (handle) เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งการรับไฟ

Motor driven change-over switch

Motor driven change-over switch กล่าวคือ จะมีอุปกรณ์ควบคุม (controller) เป็นสมองกลคอยสั่งให้มอเตอร์ขับเฟืองเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งการรับไฟ

ปัจจัยในการเลือกซื้อ change-over switch

สำหรับในคอลัมน์นี้เราจะกล่าวถึง ดีไซน์ load break switch เป็นหลักนะคะ หลายท่านคงสงสัยว่า …ในการเลือกซื้อ change-over switch นั้นมีประเด็นใดบ้างที่เราควรพิจารณา ตามไปดูที่ด้างล่างเลย

การเกิดอาร์ค

ถือว่าเป็นประเด็นแรกๆที่ผู้ออกแบบโครงสร้างสวิตซ์นั้นให้ความสำคัญ เนื่องจากการที่สวิตซ์เกิดอาร์คนั้นจะทำให้หน้าสัมผัสในการนำกระแสไม่เรียบ นั่นคือหน้าสัมผัสจะสัมผัสกันและนำกระแสได้เพียงบางส่วน โดยจะมีบางส่วนที่ไม่สัมผัสกัน ซึ่ง ณ จุดนี้เองที่เปรียบเสมือนความต้านทานที่เกิดขึ้นมหาศาล (เนื่องจากอากาศนั้นเปรียบเสมือน R=∞) ดังนั้นการที่กระแสพยายามที่จะเดินทางผ่านอากาศนั้นจึงทำให้เกิดความร้อนมาก (จากสูตร P=I2R) ส่งผลให้สวิตซ์มีอายุการใช้งานสั้นลง

จากปัญหาข้างต้นทำให้ผู้ผลิตสวิตซ์บางรายคิดค้น พัฒนาโครงสร้างที่จะทำให้สวิตซ์นั้นเกิดอาร์คน้อยที่สุด ซึ่งเราทราบกันอยู่แล้วว่าอาร์คจะเกิดมากกับหน้าสัมผัสที่เป็นเหลี่ยมๆ จึงมีการออกแบบหน้าสัมผัสแบบใหม่ให้มีความโค้งมนมากขึ้น นั่นก็คือหน้าสัมผัสแบบลูกกลิ้ง (roller contact) ซึ่งส่งผลให้การเกิดอาร์คน้อยลง สวิตซ์ก็จะมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ค่า ICW (Rated short-time withstand current)

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ICW คือ ค่าที่อุปกรณ์จะทนค่ากระแสลัดวงจรได้โดยที่อุปกรณ์ไม่เสียหาย เช่น ถ้าเกิดกระแสลัดวงจรที่จุด2 ก็จะให้ breaker B ตัดวงจรแต่!!!ถ้าเกิดกระแสลัดวงจรที่จุด1 ก็จะให้ breaker A ตัดวงจร ดังนั้น ATS ต้องสามารถทนกระแสลัดวงจรให้ผ่านตัวมันได้โดยที่ไม่เสียหาย แสดงว่า ถ้าอุปกรณ์ยิ่งมี ICW สูงก็ยิ่งดีค่ะ

ความสามารถในการรับกระแส (Ie)

การเลือกใช้สวิตซ์นั้นถ้าต้องการใช้กับโหลดหนักๆ (AC23) และใช้กับแหล่งจ่ายที่มีแรงดันสูงๆเช่น 690V จะส่งผลให้พิกัดกระแสที่สวิตซ์รับได้ลดลง เช่น change-over switch ขนาด 1600 A แต่เมื่อนำไปใช้กับโหลดมอเตอร์ที่แรงดัน 690 V อาจรับกระแสได้ 500 A ดังนั้นต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องนะคะ

ความเร็วในการเปลี่ยนตำแหน่ง (change over time)

คือเวลาในการเปลี่ยนตำแหน่ง I-0-II หรือ II-0-I ก็จะเลือกให้เวลาน้อยๆเพื่อให้ไฟเกิดการกระพริบน้อยที่สุด

ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments