หลังจากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานและประเภทต่างๆ ของ Converter ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาดูวิธีการเลือกซื้อ Converter กันครับ ว่าก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกซื้อนั้นเราควรดูที่อะไรบ้าง
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Converter คอนเวอร์เตอร์ ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
วิธีการเลือก Converter
ประเภท
อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Transmitter/Converter) เป็นอุปกรณ์ที่มีหลายประเภท ซึ่งอาจจะแบ่งตามการรับสัญญาณอินพุต ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 แบบ แบบที่รับสัญญาณอินพุตแบบประเภทเดียว เช่น Voltage Converter, Current Converter, Temperature Converter หรือแบบที่สามารถรับสัญญาณอินพุตได้หลากหลาย เช่น Universal transmitter, Programmable transmitter ซึ่งควรทราบว่างานที่เราจะนำไปใช้ด้วยนั้นเป็นงานประเภทไหน หากเป็นงานที่ทราบแน่ๆ ว่าต้องรับแต่สัญญาณที่เกี่ยวกับเทอร์โมคัปเปิลหรืออาร์ทีดี เราก็ควรเลือกแบบ Temperature Converter
Input
ควรทราบชนิดของอินพุตว่าต้องการแบบไหน เช่น Thermocouple, RTD, Ohm, AC Current, DC Current, VDC, VAC และควรดูว่าแต่ละสัญญาณที่รับนั้นมีช่วงอยู่ที่เท่าไร ช่วงการใช้งานก็สำคัญควรดูว่าช่วงการใช้งานของอุปกรณ์นั้นสามารถรองรับการใช้งานที่เราจะนำมาใช้หรือไม่
หากในบางงานเราต้องการสัญญาณไปส่งต่อให้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น PLC, Controller อุปกรณ์ Isolated repeater/splitter รุ่น 3108 ของ PR Electronics เป็นตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยท่านได้ สามารถแยกสัญญาณกระแสไฟฟ้าออกเป็นสองทางได้ มีการตอบสนองที่น้อยกว่า 7ms มีขนาดที่บางถึง 6mm
ภาพ Isolated repeater/splitter รุ่น 3108 ของ PR Electronics
และหากต้องการนำสัญญาณไปใช้กับอุปกรณ์ที่รับสัญญาณต่างกัน Isolated converter/splitter รุ่น 3109 ของ PR Electronics สามารถแยกสัญญาณเอาท์พุตได้ทั้งแรงดันและกระแส สามารถเลือกสัญญาณเอาท์พุตเป็นแบบใดก็ได้ด้วย DIP Switch ทั้งรุ่น 3108 และ 3109 นี้ สามารถติดตั้งบน DIN Rail แบบธรรมดาหรือจะใช้กับ Power Rail
ภาพ Isolated converter/splitter รุ่น 3109 ของ PR Electronics
Output
อุปกรณ์ Converter เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณต่างๆ ให้เป็นสัญญาณมาตรฐาน โดยสัญญาณมาตรฐานก็มีทั้ง สัญญาณกระแสไฟฟ้ามาตรฐาน เป็นการส่งสัญญาณในรูปของกระแสตรง (DC Current) โดยมาตรฐานที่ได้ยินกันบ่อยๆ ได้แก่ 4-20mA และสัญญาณแรงดันไฟฟ้ามาตรฐาน เป็นการส่งสัญญาณในรูปของแรงดันไฟฟ้า (DC Voltage) เช่น 0-10V
ภาพแสดงรายละเอียด Current Converter ของ ENDA รุ่น ECCC
ความแม่นยำ/การตอบสนอง
ค่าความแม่นยำ (accuracy) และค่าการตอบสนอง (Response time) เป็นค่าที่แสดงถึงว่าอุปกรณ์นี่มีความผิดพลาดมากน้อยแค่ไหน ความแม่นยำ เที่ยงตรง และความเร็วในการตรวจจับไวหรือไม่ อย่าง 3000 Series ถึงจะเป็นรุ่นที่ออกแบบให้มีขนาดที่เล็ก บางมากถึง 6mm แต่คุณสมบัติทางความไว ความแม่นยำถือว่าไม่ได้ลดลงไปตามขนาดเลย แถมยังมีความไวและแม่นยำสูงอีกด้วย
วิดีโอแนะนำ 3000 series ของ PR Electronics
จากที่เราได้รู้จัก Converter กันไปแล้วว่ามีหน้าที่ทำอะไร ทาง Factomart.com ได้จัดทำเนื้อหาที่เกี่ยวกับคอนเวอร์เตอร์ไม่ว่าจะเป็น หลักการทำงาน, ประเภทต่างๆ, วิธีการติดตั้งใช้งาน, การประยุกต์ใช้งาน ผู้อ่านสามารถเข้าไปเลือกศึกษาได้เลยครับผม หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ ทาง Factomart.com ยินดีให้คำปรึกษาครับผม หรือหากสนใจต้องการเลือกชมสินค้าสามารถเข้ามาได้ที่ Factomart.com ครับ
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Converter คอนเวอร์เตอร์ ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ