5 ข้อที่คุณต้องรู้ ไว้เลือกซื้อมัลติมิเตอร์ (Multimeter)

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์นั้นก็มีหลากหลายแบบในท้องตลาด แล้วแบบไหนล่ะที่จะเข้ากับงานของคุณที่สุด ไม่อยากเสียเวลาต้องไปเดินหา หรือเสียเงินไปฟรีๆ หมดกังวลได้ เราขอเสนอ วิธีการเลือกดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ที่จะช่วยให้คุณรู้ถึงการเลือกดิจิตอลมัลติมิเตอร์ เพื่อช่วยให้งานของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับมัลติมิเตอร์ (Multimeter) ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

วิธีเลือกดิจิตอลมัลติมิเตอร์ เพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ 1. ความละเอียด ความเที่ยงตรง และจำนวนดิจิตที่ต้องการใช้งาน 2. โหมดการวัดค่า 3. Input Impedance ของ Digital Multimeter 4. ฟังก์ชั่นในการวัดค่าพื้นฐาน 5. ความปลอดภัยของเครื่องมือวัด

งานจะละเอียดหรือเที่ยงตรงก็อยู่ที่คุณเลือก Multimeter Digit อย่างไร

เราควรจะเลือกของเรื่องความละเอียด ความเที่ยงตรง และจำนวน digit ที่ต้องการใช้งานว่าละเอียดมากน้อยแค่ไหน ถ้างานของเราต้องการความละเอียดสูงแต่เราไปใช้มิเตอร์ที่มีความละเอียดต่ำ ทำให้ค่าที่วัดได้เป็นค่าผิดพลาด พอผิดพลาดเยอะค่าที่ได้ก็ไม่ถูกต้อง

ภาพแสดงผลบนหน้าจอมัลติมิเตอร์

ตัวอย่างการดู Multimeter digit เช่น มิเตอร์ 3½ การแสดงผลสูงสุดได้ ±1,999 หรือ 2,000 Count ส่วน 4½ แสดงผลได้สูงสุด ±19,999 หรือ 20,000 Count ซึ่งเลข 4 คือ ตัวเลขศูนย์สี่ตัวที่สามารถนับได้เต็มหลัก เมื่อเราต้องการมิเตอร์วัดความละเอียดสูงๆ ระดับไมโคร มิลิ เราควรจะเลือกมิเตอร์ที่มีความละเอียดอย่างน้อยควรจะ 40,000 – 50,000 Count ขึ้นไป

Average vs True-RMS แบบไหนที่ใช่สำหรับงานคุณ?

โหมดการวัด มี 2 แบบใหญ่ๆ คือ

แบบ Average

เหมาะกับงานวัดค่ากระแสหรือแรงดันของโหลดที่เป็นเชิงเส้น เช่น โหลดของฮีทเตอร์ โหลดมอเตอร์ ค่าความถี่พื้นฐาน 50 Hz ไม่มีฮาร์โมนิกเพิ่มเข้ามา และยังคงเป็น DC

แบบ True-RMS

เหมาะกับงานอุตสาหกรรม พวกโหลดที่ไม่เป็นเชิงเส้น เช่น Inverter, UPS, SMPS อุปกรณ์เหล่านี้หากทำงานจะทำให้รูปคลื่นผิดเพี้ยน เพราะประกอบด้วยความถี่ 50 Hz รวมกับค่าฮาร์โมนิก สามารถใช้มิเตอร์แบบ Average วัดได้ แต่ความถี่ 50 Hz จะทำให้วัดค่าได้ไม่ตรง แต่หากใช้แบบ True-RMS จะวัดได้ทั้งค่าความถี่ 50 Hz รวมกับฮาร์โมนิก ทำให้ได้ค่ามากกว่าแบบ Average

งานคุณจะไม่ผิดพลาด ถ้าเลือก Input Impedance ให้มากเข้าไว้

Input Impedance ของ Digital Multimeter ควรมากกว่า 1 MΩ ยิ่งมากจะยิ่งดี ถ้าเราใช้ Digital Multimeter วัดค่าโวลต์ เราจะเอาตัวมิเตอร์ขนานกับโหลด ขณะที่ขนานกับโหลด ตัวมิเตอร์มีความต้านทานต่ำจะทำให้ตัวมันเองทำหน้าที่เป็นโหลด ทำให้เกิดการแชร์กระแสเข้ามา ค่าที่วัดได้จะผิดพลาด

เพราะฉะนั้นเราควรเลือกมิเตอร์ที่มีค่า Input Impedance สูง ซึ่งรุ่นที่ทางเราแนะนำนั้นมีค่า Input Impedance สูงอยู่แล้ว

ฟังก์ชันยิ่งมาก ต่อให้งานยากก็ไม่กลัว

ฟังก์ชั่นการใช้งานพื้นฐานทั่วไป สิ่งที่ควรต้องมีเลยก็คือ สามารถวัดค่าความต่างศักย์หรือค่ากระแสได้ทั้ง AC และ DC สามารถวัดค่าความต้านทานได้ตั้งแต่ 0.01 – G Ω , MΩ หรือ 100 MΩ ขึ้นอยู่กับรุ่นหรือฟังก์ชั่น โหมด Continuity โหมดวัดความต่อเนื่อง ใช้ทดสอบสายไฟว่าขาดหรือไม่ โหมดเช็คไดโอด เช็คว่าไดโอดช็อตหรือไม่

มิเตอร์ที่มีราคาสูงขึ้นมาหน่อยก็จะสามารถวัดค่าเก็บประจุ ค่าความถี่หรืออุณหภูมิได้ แต่โดยส่วนใหญ่มิเตอร์ที่วัดอุณหภูมิจะต้องต่อเข้ากับเซ็นเตอร์หรือหัววัดอุณหภูมิภายนอก พร้อมมีฟังก์ชันพิเศษเพิ่มเข้ามา เช่น Square-Wave Generator, Data Logging, AC+DC, % Scale 4-20mA, Temperature Sensor, dB และ Conductance

ตอนนี้เราไปดูตัวฟังก์ชั่นพิเศษในการเลือกใช้ Multimeter รุ่น DT4282 ของแบรนด์ Hioki ซึ่งทาง Hioki มีการยกตัวอย่างให้เห็นกัน ดังนี้

ฟังก์ชั่น Low-pass filler

ภาพแสดงฟังก์ชั่น low-pass filter ของ Multimeter รุ่น DT4282 ของแบรนด์ Hioki

ฟังก์ชั่น Low-pass filler นอกจากแบรนด์ Hioki ทางแบรนด์ Keysight มีฟังก์ชั่นนี้เช่นกัน ซึ่งสังเกตจากรูปฟังก์ชั่นนี้เป็นการเทสอินเวอร์เตอร์ เช็คด้านเอาต์พุตและอินพุตเปรียบเทียบกัน โดยทดสอบที่ความถี่ 50 Hz

กราฟฝั่งซ้ายมือเป็นการปิดฟังก์ชั่น Low-pass filler จะทำให้ตอนวัดค่ามีสัญญาณรบกวนเข้ามาด้วย วัดแรงดันได้ 231.15 V ส่วนกราฟฝั่งขวามือเป็นการเปิดฟังก์ชั่น Low-pass filler จะทำให้ตอนวัดค่าไม่มีสัญญาณฮาร์โมนิกเข้ามารบกวน วัดแรงดันได้ 202.30 V

ฟังก์ชั่น AC+DC

ภาพแสดงฟังก์ชั่น AC + DC ของ Multimeter รุ่น DT4282 ของแบรนด์ Hioki

ฟังก์ชั่น AC+DC หากเราอยากรู้ว่า EV Charger มีริปเปิ้ลเยอะไหม ถ้าเราเอามิเตอร์ทั่วไปมาวัด AC Volt ตามรูปก็จะวัดได้แค่ประมาณ 100 V แต่ถ้านำมิเตอร์ที่มีฟังก์ชั่น AC + DC ค่าที่วัดได้ก็จะออกมาเป็น 100.49 V ค่า Average อยู่ตรงกลาง มีค่า Peak ด้านบวกและด้านลบ ทำให้รู้ค่าริปเปิ้ลว่าเท่าไหร่ และสามารถนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพ EV charger ได้

ฟังก์ชั่น % Scale 4-20mA

ภาพแสดงฟังก์ชั่น % Scale 4-20mA ของ Multimeter รุ่น DT4282 ของแบรนด์ Hioki

ฟังก์ชั่น % Scale 4-20mA ในงาน process control จาก Temperature, Pressure หรือจาก Flow rate แปลง 4-20mA เป็น 0 -100%

ฟังก์ชั่นการวัดกระแสในหน่วย µA

ภาพแสดงฟังก์ชั่นการวัดกระแส ของ Multimeter รุ่น DT4282 ของแบรนด์ Hioki

ฟังก์ชั่นการวัดกระแสในหน่วย µA รุ่นนี้ของ Hioki จะวัดได้ถึง 600 µA ซึ่งต้องเป็นมิเตอร์ที่มีความแม่นยำสูง และต้องวัด digit ได้ละเอียดถึง 4 หลักขึ้นไป วัดค่าได้ 50,000 – 60,000 count จากรูปนี้เป็นการเช็คกระแสที่ใช้ในหัว Burner เวลาที่มี spark ขณะจุดก๊าซจะมีกระแสจ่ายเข้าไปในคอยด์ และทำให้เกิดประกายไฟตรงนี้สามารถวัดปริมาณกระแสน้อยๆ ขนาดนั้นได้เลย

ฟังก์ชั่น True RMS

ภาพแสดงฟังก์ชั่น True RMS ของ Multimeter รุ่น DT4282 ของแบรนด์ Hioki

ฟังก์ชั่น True RMS ต้องบอกก่อนว่าแบบ True RMS กับ Average นั้นต่างกันอย่างไร? จากรูปถ้าเราใช้มิเตอร์ทั่วๆไปวัด โดยใช้ค่า Average-value ค่าที่ได้เป็น 3.76 ซึ่งวัดที่ความถี่ 50 Hz เท่านั้น

ถ้าเราใช้มิเตอร์แบบ True RMS วัด สังเกตรูปคลื่นที่เราต้องการวัดเป็นรูปคลื่นที่น่าจะถูกตัดสัญญาณไปบางส่วนหรือมีฮาร์โมนิกเข้ามาปนอยู่ด้วย วัดค่าได้ 6.35 V ในโรงงานอุตสาหกรรมค่าตรงนี้มีความสำคัญมาก มันบอกถึงการปรับปรุงคุณภาพของระบบไฟฟ้า เครื่องจักร และความเที่ยงตรงในการวัด

ฟังก์ชั่นที่สามารถต่อเข้าคอมพิวเตอร์ได้

ภาพแสดงฟังก์ชั่นเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของ Multimeter รุ่น DT4282 ของแบรนด์ Hioki

ฟังก์ชั่นที่สามารถต่อเข้าคอมพิวเตอร์ได้ เพื่อใช้ดาวน์โหลดข้อมูลลง Data Logger นำมาเก็บในคอมพิวเตอร์เพื่อทำรีพอร์ต คอมพิวเตอร์จะมีซอฟต์แวร์ไว้ติดตั้งจะเชื่อมต่อผ่าน USB ตัวมิเตอร์เองจะเชื่อมต่อผ่านอินฟราเรด เนื่องจากการเชื่อมต่อแบบไร้สายมีโอกาสเกิดสัญญาณรบกวนขึ้นได้ จึงใช้แสงแทน

CAT มาตรฐานความปลอดภัย ที่คุณไม่ควรลืม

Measurement Categories หรือ CAT มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดไฟฟ้า แบ่งตามประเภทการวัดได้ดังนี้

  • CAT I (Category I) เป็นการวัดแรงดันไฟฟ้าในเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังงานต่ำ เป็นต้น
  • CAT II (Category II) เป็นการวัดแรงดันจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, ปลั๊กไฟ เป็นต้น
  • CAT III (Category III) เป็นการวัดแรงดันระดับสายส่งไฟฟ้าในอาคาร เช่น แผงควบคุมไฟฟ้า, เบรกเกอร์, สายเคเบิ้ล เป็นต้น
  • CAT IV (Category IV) เป็นการวัดแรงดันระดับสายส่งไฟฟ้านอกอาคาร เป็นจุดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันหลัก

ภาพแสดงการใช้ Measurement Categories

Measurement Categories เมื่อเรานำดิจิตอลมัลติมิเตอร์มาใช้งานว่าจะใช้วัดในจุดไหนเพื่อให้ปลอดภัย โดยปกติแล้วแบ่งเป็น CAT II, CAT III, CAT IV ส่วนตัวเลขด้านหลังจะบอกถึงค่าแรงดัน เช่น CAT III 600V มันก็คือ มิเตอร์ตัวนี้ใช้กับ CAT III แรงดันไม่ควรเกิน 600 V

 ภาพแสดงการใช้ Measurement Categories ในบ้านหรือโรงงาน

ในเรื่อง Categories ถ้าเราดูจากส่วนที่เป็นรูปบ้านหรือโรงงาน มีหม้อแปลงแรงดัน Medium Volt เป็นระดับแรงดันที่ใช้ตามบ้านเรือนหรือ 22 kV แปลงเป็น 380 V ถ้าเราต้องการวัดหรือตรวจสอบแรงดันตรงจุดนี้เราต้องใช้มิเตอร์อย่างน้อยเป็น CAT IV ขึ้นไป ส่วนตรงจุดที่ต่อเข้ากับตู้ MDB จะใช้แค่ CAT III และส่วนสุดท้ายเป็น outlet ตามปลั๊กไฟต่างๆ ก็ใช้แค่ CAT II

ถ้าคุณคิดจะซื้อแล้วนั้น แล้วมีงบประมาณหรือใช้ในโรงงานก็ขอแนะนำให้ซื้อรุ่น CAT IV 600V หรือ CAT III 100V ไปเลย

สำหรับข้อมูลการเลือกดิจิตอลมัลติมิเตอร์ก็จบลงเพียงเท่านี้ บทความที่เราจัดเตรียมไว้คงช่วยให้คุณพบดิจิตอลมัลติมิเตอร์รุ่นที่ตรงใจ ใช้งานคุ้มค่า ไม่เสียเงินเปล่า

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อมัลติมิเตอร์ Multimeter ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments