เลือกสวิตซ์ต่างๆ อย่างไร? ในงานควบคุม

Share this post

หลายๆท่านคงคุ้นเคยกับตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า เช่น ตู้ควบคุมปั๊ม ตู้ควบคุมมอเตอร์ ที่ใช้ในอาคารและโรงงาน สิ่งแรกที่เราเห็นกันคุ้นตาคือ ปุ่มกดซีเล็คเตอร์ หลอดไฟและสวิทช์ต่างๆ บนหน้าตู้ ที่ใช้ในการควบคุมและแสดงผล ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากับอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุม ฉบับนี้เรามาดูวิธีการเลือกสวิทช์ควบคุมต่างๆ ให้เหมาะกับการใช้งานกันดีกว่า

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกสวิตซ์

ระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำ

พื้นที่ในการติดตั้งตู้ควบคุมอาจมีฝุ่นและความชื้นสูงหรืออาจเปียกน้ำได้ ดังนั้นควรเลือกสวิทช์ที่ป้องกันฝุ่นและน้ำได้แบ่งเป็นการป้องกันหน้าตู้และป้องกันภายในตู้

หน้าตู้

โดยส่วนใหญ่จะป้องกันตั้งแต่ระดับ IP65 ขึ้นไป ซึ่งสามารถป้องกันการฉีดล้างภายนอกตู้ได้ หรือระดับการป้องกันที่สูงขึ้น เช่น IP66, IP67, IP69K (IP69K สามารถทนแรงดันน้ำที่ 100 bars อุณหภูมิ 80 °C)

ภายในตู้

หมายถึงบริเวณขั้วต่อสายของสวิทช์ด้านหลังตู้ ส่วนใหญ่ต้องมีระดับป้องกัน IP20 เพื่อป้องกันนิ้วมือสัมผัสส่วนที่เป็นไฟฟ้า

วัสดุของอุปกรณ์

สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิตเป็น 2 ชนิดดังนี้

โลหะ

สามารถทนแรงกระแทกและความร้อนได้ดีกว่าแบบพลาสติก

พลาสติกหรือเทอร์โมพลาสติก

สามารถทนสารเคมี และการกัดกร่อนได้ดีกว่าแบบโลหะ และปัจจุบันสามารถทนความร้อนได้ดีพอๆกับแบบโลหะ

อุณหภูมิใช้งาน

ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ผลิต ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ -25°C ถึง 60°C

อายุการใช้งานหรือความทนทาน

จำนวนการตัดต่อทางกล MECHANICAL LIFF ของหน้าคอนแทค หากเป็นหลอดไฟ จะระบุเป็นชั่วโมงการใช้งาน เช่น 30,000 ชั่วโมงหรือ 100,000 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นหลอด LED เนื่องจากอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้และมีสีของแสงให้เลือกมากมาย

การต่อใช้งานหน้าคอนแทค

จำนวนหน้าคอนแทคที่ติดตั้งได้และความสะดวกในการต่อใช้งาน

สำหรับปัญหาของคุณภาพไฟฟ้าที่พบบ่อย ความจริงยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากมายที่ควรให้ความสำคัญ ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments