สวัสดีครับ….ยินดีต้อนรับสู่บล็อก Factomart.com ครับผม เมื่อครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงประเภทของ Temperature RTD วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการเลือก Temperature RTD กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลยครับ
วิธีการเลือก Temperature RTD
- ชนิดของ RTD: ควรทราบว่าย่านการวัดว่างานที่เราจะใช้วัดนั้นมีช่วงอุณหภูมิเท่าไร ต้องการความละเอียดในการวัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งชนิดของ RTD ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดคือ RTD Pt100 หรือถ้าต้องการความละเอียดมากขึ้นก็อาจจะเลือก RTD Pt500 หรือ Pt1000 แทน
- Class of RTD Pt: ควรทราบคลาสของอาร์ทีดีที่เราจะใช้งานให้ดูจากความต้องการในการวัดว่าเราต้องการความละเอียดในการวัดมากน้อยเพียงใด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมเลือกใช้คลาส B ซึ่งแต่ละคลาสจะแบ่งได้ดังนี้
– คลาส AA ความแม่นยำในการวัด ± (0.10 + 0.0017 * |t|) °C
– คลาส A ความแม่นยำในการวัด ± (0.15 + 0.0020 * |t|) °C
– คลาส B ความแม่นยำในการวัด ± (0.30 + 0.0050 * |t|) °C
– คลาส C ความแม่นยำในการวัด ± (0.60 + 0.0100 * |t|) °C
หมายเหตุ |t| คือ อุณหภูมิใดๆ ที่จะเป็นค่าบวกเสมอ
- วงจรการต่อ RTD: การต่อวงจรอาร์ทีดีนั้นที่นิยมใช้กันในภาคอุตสาหกรรมจะเป็นแบบ 3 สาย
ภาพรายละเอียดต่างๆ ของ RTD
- ต้องทราบขนาดของ Protection Tube: ต้องทราบว่า Protection Tube เป็นชนิดใดเป็นแบบ Stainless หรือ Ceramic และต้องการขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวของ Protection Tube เท่าใด
- ควรสายขนาดของเกลียวและชนิดของสาย: หากเซ็นเซอร์อาร์ทีดีที่เราเลือกมีเกลียว เราควรทราบขนาดของเกลียว และถ้าเป็นเซ็นเซอร์ที่เป็นแบบออกสายก็ให้ดูว่าเราต้องการชนิดสายแบบใด เป็นแบบ PVC, Teflon, Shield, Fibergass และต้องการความยาวสายเท่าไร
- อุปกรณ์เสริม: ในงานบางอย่างต้องการป้องกันไม่ให้ตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเซ็นเซอร์ จำเป็นต้องใช้เทอร์โมเวลล์ (Thermowell) เพื่อป้องกันตัวเซ็นเซอร์ได้
เป็นอย่างไรบ้างครับกับวิธีการเลือกใช้ Temperature RTD หากผู้อ่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หลักการทำงานของ Temperature RTD, ประเภท Temperature RTD, ความแตกต่างระหว่างเทอร์โมคัปเปิลกับ Temperature RTD, การติดตั้ง Temperature RTD หรือการประยุกต์ใช้งาน Temperature RTD สามารถเข้าไปเลือกอ่านได้เลยครับ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการเลือกชมสินค้าสามารถเข้ามาได้ที่ Factomart.com