คู่มือการเลือก รีเลย์ OMRON ให้ถูกต้องก่อนเลือกซื้อ

Share this post

เนื่องจาก รีเลย์ OMRON มีหลายรุ่นมากกกกๆๆ ทำให้ผมคนหนึ่งแหละที่มีปัญหาในการเลือกใช้ ควรเลือกรุ่นไหนดี เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน ดังนั้นในบทความนี้ อยากจะนำเสนอวิธีการเลือกรีเลย์ ของแบรนด์ OMRON อย่างง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกให้กับหลายๆท่าน เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

จากบทความของ Factomart เอง ก่อนหน้าที่เราได้นำเสนอวิธีการเลือกรีเลย์ไปบ้างแล้ว ซึ่งจะกล่าวถึง 9 ปัจจัยที่คุณต้องจำไว้จะได้ไม่พลาดเมื่อเลือกรีเลย์ เนื่อหาน่าสนใจขนาดไหนสามารถเข้าไปอ่านได้ที่บทความที่มีชื่อว่า เลือก Relay อย่างไรอย่างกับมีมือโปรมาด้วย

ประเด็นที่ที่จะมานำเสนอในบทความนี้จะประด้วยดังนี้

การจำแนก รีเลย์ OMRON ตามการใช้งาน

รีเลย์ Omron จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Mechanical Relay และ Solid State Relay

Mechanical Relay

Mechanical Relay หรือเรียกทั่วไปว่า General-purpose relay สัญญาณรีเลย์ประเภทนี้จะมีการโอนสัญญาณด้วยการเคลื่อนไหวทางกล มีการเชื่อมต่อและใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการควบคุมเครื่องจักร เปิด/ปิดหน้าคอนแทค เพื่อเปิด/ปิด สัญญาณ กระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้า

รีเลย์ omron
รีเลย์ omron

ตัวอย่างรีเลย์ประเภท Mechanical Relay

Solid State Relay

SSR ไม่มีการเคลื่อนที่ด้วยชิ้นส่วนกลไกหรือหน้าคอนแทค จะถูกแทนที่ด้วยสารกึ่งตัวนำ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รีเลย์แบบ SSR เปิด/ปิด สัญญาณ กระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ใน SSR

รีเลย์ omron

ตารางเลือกประเภทรีเลย์ตามการใช้งาน

ตารางนี้จะอธิบายการเลือกใช้รีเลย์ตามการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นสำหรับ Control Panel , แบบ Built-in, แบบ Work-saving หรือแบบ PCB ที่แต่ละการใช้งานจะมีรุ่นรีเลย์ที่เหมาะสมระบุไว้ชัดเจน รีเลย์แต่ละรุ่นจะเหมาะกับการใช้งานรูปแบบต่างๆ ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

[TS_Advanced_Tables id=”37″ table_scope=”tablesaw”]

วิธีการเลือกรีเลย์จากแคตตาล็อก

ส่วนนี้จะเป็นวิธีการเลือกรุ่นรีเลย์จากแคตตาล็อกของ OMRON โดยจะเป็นรีเลย์แบบ General-purpose relay รวมถึงการเลือก Socket ให้เหมาะสมกับรีเลย์แต่ละรุ่น

รุ่น MY, LY, MYA

Relay Omron

จากภาพด้านบนเป็นแคตตาล็อกรีเลย์ Omron รุ่น MY, LY, MYA ที่นำมาเป็นตัวอย่างในการเลือกรีเลย์ไปใช้งาน การเลือกรีเลย์จากแคตตาล็อกนั้นจะดูที่แรงดันขดลวด กระแส หน้าคอนแทค เป็นหลัก

หากคุณต้องการรีเลย์ที่มี แรงดัน 12VDC หรือ 24VDC ทนกระแสสัก 5 A หน้าคอนแทคแบบ 3PDT 11 ขา ก็จะได้รีเลย์เป็นรุ่น MY3 หรือ MY3N ถ้าต้องการตัวแสดงสถานะให้เลือกรุ่น MY3N รีเลย์รุ่นนี้จะมีราคาประมาณ 300 – 500 บาท และใช้ Socket รุ่น PYF11A ประกอบ

[TS_Advanced_Tables id=”38″ table_scope=”tablesaw”]

รีเลย์รุ่น MY มีพิกัดแรงดันแบบ AC และ DC โดยมีแรงดัน DC ตั้งแต่ 6 – 125 V และแรงดัน AC ตั้งแต่ 6 – 240 V พิกัดกระแส 3 – 5 A มีหน้าสัมผัสหลายแบบทั้ง DPDT, 2PDT, 3PDT, 4PDT

รีเลย์รุ่น LY มีพิกัดแรงดันแบบ AC และ DC โดยมีแรงดัน DC ตั้งแต่ 6 – 110 V และแรงดัน AC ตั้งแต่ 6 – 240 V พิกัดกระแส 10 A มีหน้าสัมผัสหลายแบบทั้ง DPDT, 3PDT, 4PDT

รีเลย์รุ่น MYANA2  มีพิกัดแรงดันแบบ AC อย่างเดียว โดยมีแรงดัน VAC 220 พิกัดกระแส 3 A มีหน้าสัมผัสแบบ 8PST

รุ่น MK-I และ MK-S

[TS_Advanced_Tables id=”41″ table_scope=”tablesaw”]

รีเลย์รุ่น MK[ ]-I มีพิกัดแรงดันแบบ AC และ DC โดยมีแรงดัน DC ตั้งแต่ 6 – 125 V และแรงดัน AC ตั้งแต่ 6 – 240 V พิกัดกระแส 10 A มีหน้าสัมผัสหลายแบบทั้ง DPDT, 3PDT

รีเลย์รุ่น MK[ ]-S มีพิกัดแรงดันแบบ AC และ DC โดยมีแรงดัน DC ตั้งแต่ 6 – 110 V และแรงดัน AC ตั้งแต่ 6 – 220 V พิกัดกระแส 10 A มีหน้าสัมผัสหลายแบบทั้ง DPDT, 3PDT

รุ่น MM และ G2A

[TS_Advanced_Tables id=”42″ table_scope=”tablesaw”]

รีเลย์รุ่น MM มีพิกัดแรงดันแบบ AC อย่างเดียว โดยมีแรงดัน VAC 220 พิกัดกระแส 7.5 A มีหน้าสัมผัสแบบ DPDT และ 3PDT

รีเลย์รุ่น G2A มีพิกัดแรงดันแบบ AC และ DC โดยมีแรงดัน DC ตั้งแต่ 6 – 100 V และแรงดัน AC ตั้งแต่ 6 – 220 V พิกัดกระแส 1 A มีหน้าสัมผัสแบบ 4PDT

รุ่น G2R และ G6B

[TS_Advanced_Tables id=”43″ table_scope=”tablesaw”]

รีเลย์รุ่น G2R มีพิกัดแรงดันแบบ AC และ DC โดยมีแรงดัน DC แบ 12 V และ 24 V และแรงดัน AC 220 V พิกัดกระแส 5 – 16 A มีหน้าสัมผัสแบบ DPDT และ SPDT

รีเลย์รุ่น G2A มีพิกัดแรงดันแบบ DC อย่างเดียว ขนาด DC 24V พิกัดกระแส 2 – 5 A มีหน้าสัมผัสแบบ 4PST

Facebook Comments