หลักการทำงานของ Digital counter

กลับมาพบกับบทความบล็อกในซีรีย์ของ Digital Counter กันครับ ในครั้งนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ Digital counter ไว้ให้ท่านมากมาย เพียงแค่คลิ๊กเข้าไปอ่านก็จะช่วยให้เข้าใจและเลือกอุปกรณ์ไปใช้งานได้แน่นอนครับ มาเริ่มด้วยหลักการทำงานของ Digital Counter กันก่อนเลย รับรองข้อมูลแน่นแบบที่ไม่เคยอ่านที่ไหนมาก่อน หากสนใจอ่านเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูล Digital Counter หรือถ้ามีรุ่นสินค้าในใจแล้วไปเลือกซื้อดิจิตอล เคาเตอร์ แบบออนไลน์ได้ที่ทันทีที่ Factomart.com ครับ

หลักการทำงานของ Digital Counter

    หลักการทำงานของ Digital Counter นั้น เป็นการประยุกต์ใช้ตัววงจรดิจิตอล และระบบของไมโครคอนโทรลเลอร์ในการนับจำนวนสัญญาณอินพุต โดยสัญญาณอินพุตที่ว่าจะป็นสัญญาณพัลส์เท่านั้น ในการนำจำนวนของสัญญาณพัลส์จะมีค่าของระดับสัญญาณที่เป็นตัวบ่งบอกได้ว่าระดับสัญญาณที่มีลอจิกเป็น 0 หรือเป็น 1 นั้นจะต้องมีระดับแรงดันไฟฟ้าที่อยู่เท่าไร

ภาพแสดงระดับแรงดันที่สถานะลอจิก 1 และ 0

จากภาพแสดงระดับแรงดันที่สถานะลอจิก 1 และ 0 จะเห็นได้ว่าวิธีการรับสัญญาณอินพุตของตัว Digital Counter นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้
1.    Voltage Input หรือการสัญญาณจากเซ็นเซอร์ชนิดที่มีสัญญาณเอาท์พุตเป็นแบบ PNP โดยจากตัวอย่างนี้ สัญญาณอินพุตที่จะทำให้ตัว Counter มองเป็นลอจิก “1”, “H” เพื่อนับนั้น จะมีค่าตั้งแต่ 5-30VDC และระดับแรงดันที่มองเป็นลอจิก  “0”, “L” นั้นคืออยู่ในช่วง 0-2VDC แต่ถ้าระดับสัญญาณอินพุตมีแรงดันอยู่ในช่วง 2-5VDC นั้นตัวเครื่องนับจำนวนอาจจะแปลความหมายเป็น 1 หรือ 0 ก็ได้ นั่นก็แปลว่าอาจเกิดการนับผิดพลาดขึ้นมาได้
2.    No Voltage Input หรือการสัญญาณจากเซ็นเซอร์ชนิดที่มีสัญญาณเอาท์พุตเป็นแบบ NPN โดยจากตัวอย่างนี้ สัญญาณอินพุตที่จะทำให้ตัว Counter มองเป็นลอจิก “1”, “H” เพื่อนับนั้น จะต้องทำการลัดวงจร Short Circuit ทางด้านอินพุต เพื่อให้ระดับแรงดันที่อยู่ภายในนั้นเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์ ซึ่งในสภาวะนี้ตัว Counter จะนับสัญญาณนั้น
 
ภาพวงจรการรับสัญญาณอินพุตแบบ NPN และ PNP

เมื่อเราได้ทราบถึงรูปแบบสัญญาณอินพุตของตัวเครื่องนับจำนวนแบบดิจตอลแล้ว ก็จะมาถึงในส่วนของรูปแบบการนับจำนวน ซึ่งในตัวเครื่องนับจำนวนนั้น โดยหลักๆ แล้วจะมีการนับจำนวนอยู่ 3 รูปแบบ คือ
1.    การนับขึ้น Count Up เป็นการนับสัญญาณพัลส์แบบนับขึ้นเพียงอย่างเดียว เมื่อมีการให่้สัญญาณอินพุตกับตัว Counter ตัวหน้าจอของเครื่องจะนำตัวเลขโดยบวกขึ้นไปเรื่อยๆ
ภาพการนับขึ้นของตัวเครื่องนับจำนวน

2.    การนับลง Count Down  เป็นการนับสัญญาณพัลส์แบบนับลงเพียงอย่างเดียว เมื่อมีการให่้สัญญาณอินพุตกับตัว Counter ตัวหน้าจอของเครื่องจะนำตัวเลขโดยลบลงไปเรื่อยๆ


ภาพการนับลงของตัวเครื่องนับจำนวน

3.    การนับขึ้น และลง Count Up-Down  เป็นการนับสัญญาณพัลส์แบบนับขึ้นหรือนับลงก็ได้ โดยจะอาศัยสัญญาณอินพุตอีกตัวที่เป็นตัวกำหนดว่าจะให้นับขึ้นหรือนับลง หรือจะใช้เป็นลักษณะนับแยกกันโดยกำหนดอินพุตให้เป็นตัวนับขึ้น และอีกอินพุตเป็นตัวนับลง


ภาพการนับขึ้นและลงของตัวเครื่องนับจำนวน

 เมื่อเครื่องนับจำนวนเริ่มนับสัญญาณอินพุตได้แล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องนับจำนวน เช่น ความเร็วของสัญญาณอินพุต หรือ Counting Speed จำนวนหลักของตัว Counter และปุ่มต่างๆ รวมถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ของตัวเครื่องนับ โดยในที่นี้จะขออธิบายแค่ส่วนที่จำเป็น ที่เป็นพื้นฐานของเครื่องนับจำนวนดังนี้

ภาพปุ่มต่างๆ ของตัวเครื่องนับจำนวน CT6M Series ของ Autonics

ภาพปุ่มต่างๆ ของตัวเครื่องนับจำนวน CT6M Series ของ Autonics จะขออธิบายการทำงานพื้นฐานของปุ่มเหล่านี้ เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างสะดวกตามตำแหน่งของตัวเลขต่างๆ ดังนี้
1.    เลข 1 LED แสดงผลค่า PV (Process Value) ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลการนับจำนวน โดยปกติจะมีให้เลือก ตั้งแต่ 4 หลัก 6 หลัก 8 หลัก ขึ้นอยู่กับจำนวนสูงสุดที่ต้องการนับ
2.    เลข 2 LED แสดงค่า SV (Set Value) จะใช้ในการแสดงค่าที่ต้องการตั้งให้เป็นค่าเป้าหมายในการนับ โดยเมื่อค่า SV และ PV เท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่าแล้วจะให้ทำอะไรต่อ
3.    เลข 3-7 จะเป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลสถานะต่างๆ โดยเครื่องนับจำนวนแต่ละยี่ห้ออาจจะมีรูปแบบการแสดงผลที่ไม่เหมือนกัน
4.    เลข 8 ปุ่ม RST หรือ Reset เป็นปุ่มที่ใช้ในการรีเซตค่าการนับที่อยู่ในส่วนของค่า PV ให้กลับมาเป็นศูนย์หรือค่าเริ่มต้นที่ได้ตั้งเอาไว้
5.    เลข 9 ปุ่ม MD หรือ Mode เป็นปุ่มที่ใช้ในการเข้าไปแก้ไขค่าต่างๆ ในตัวเครื่องนับจำนวน
6.    เลข 10 ปุ่มลูกศร หรือ Arrow Key ที่ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ บนหน้าจอ
7.    เลข 11,12,13 เป็นส่วนของฟังก์ชั่น Batch ซึ่งบางยี่ห้อ หรือบางรุ่นจะไม่มี ใช้สำหรับการนับจำนวนแบบเป็นชุด
    
    ฟังก์ชั่นพิเศษต่างๆ ที่อยู่ในตัว Digital Counter ที่เอื้ออำนวยให้การนับจำนวนชิ้นงาน หรือความยาวต่างๆ เป็นไปได้โดยง่ายนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายฟังก์ชั่น แต่ในที่นี้จะขออธิบายฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์และพบได้โดยทั่วไปในเครื่องนับจำนวนได้แก่ Prescale Function

 
ภาพการใช้งาน Prescale Function ของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล

จากภาพการใช้งาน Prescale Function ของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล Autonics  เป็นการใช้ตัว Digital Counter ในการวัดระยะของชิ้นงานเพื่อทำการตัดชิ้นงานไห้ได้ตามระยะ โดยเครื่องนับจำนวนจะรับสัญญาณจากตัว Rotary Encoder โดยถ้าไม่มีฟังก์ชั่น Prescale จะไม่สามารถแสดงค่าของระยะทางจริงที่หน้าจอได้ โดยในตัวอย่างจำนวนพัลส์ของ Rotary Encoder มีค่า 1000 พัลส์ต่อรอบ ซึ่งในการคำนวณการหมุน 1 รอบของ Rotary Encoder มีระยะทาง 69mm และระยะทางต่อ 1 พัลส์ มีค่าเท่ากับ 0.069mm โดยเมื่อตัว Digital Counter รับสัญญาณพัลส์ 1 พัลส์ หน้าจอจะแสดงค่า 0.069mm ซึ่งเป็นค่าระยะทางจริงที่ตัว Encoder หมุนไป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลในส่วนของหลักการทำงาน Digital Counter ทางทีมงาน Factomart.com หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านไม่มากก็น้อยนะครับ อย่าลืมว่าถ้ามีข้อสงสัยทางเรามีทีมงาน Technical Engieer ตอบคำถามท่านทุกช่องทางครับ หากสนใจอ่านเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่ศูนย์รวมข้อมูล Digital Counterหรือถ้ามีรุ่นสินค้าในใจแล้วไปเลือกซื้อดิจิตอล เคาเตอร์ แบบออนไลน์ได้ที่ทันทีที่ Factomart.com ครับ

Facebook Comments