ยินดีต้อนรับครับผม กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความดีๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์อุตสาหกรรม วันนี้เราจะพาผู้อ่านทุกท่านมาพบกับหลักการทำงานของเจ้าอุปกรณ์ทดสอบความเป็นฉนวน Insulation Tester หรือบางคนเรียกกันว่า Mega Ohm Meter (เมกะโอห์มมิเตอร์)
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Insulation & Megaohm Testers ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
หลักการทำงานของ Insulation tester (เมกะโอห์มมิเตอร์)
เครื่องทดสอบความเป็นฉนวน Insulation Tester หรือ เมกะโอห์มมิเตอร์ มีหลักการทดสอบคล้ายกับการตรวจสอบหาจุดรั่วของท่อประปา คือ เราจะอัดแรงดันน้ำสูงๆ เข้าไปในท่อเพื่อหาจุดรั่ว เครื่องทดสอบความเป็นฉนวนก็เช่นกันหากจะหาว่าอุปกรณ์มีไฟรั่วหรือไม่ ก็จะทำการป้อนแรงดันสูงๆ เข้าไป ซึ่งเครื่องทดสอบความเป็นฉนวนก็จะทำหน้าที่จ่ายแรงดันนี้เข้าไปในวงจรเพื่อหาจุดรั่วไหลของกระแส และนอกจากนั้นในการทดสอบความต้านทานฉนวนยังสามารถทดสอบการเกิดอาร์กของไฟฟ้าได้เช่นกัน โดยหลักการทดสอบฉนวน มีดังต่อไปนี้
หลักการทำงานในการวัดความต้านทานฉนวน
เมื่อป้อนแรงดันกระแสตรงที่มีค่าสูงๆ ให้กับตัวต้านทานฉนวนที่ต้องการวัด (Rx) ทำการวัดค่ากระแส (I) และค่าแรงดันที่ตกคร่อม (V) ตัวต้านทานฉนวน (Rx) หลังจากนั้นนำค่าแรงดันตกคร่อมที่ได้ (V) มาหารด้วยกระแส (I) ก็จะได้ค่าความต้านทานฉนวน (Rx)
นอกจากนี้ทาง Factomart.com ยังได้จัดทำเนื้อหาไม่ว่าจะเป็น ประเภทต่างๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน, วิธีการเลือกซื้อ, การใช้งานเบื้องต้น, เทคนิคและข้อควรระวังในการใช้ สามารถเข้าไปเลือกศึกษาได้เลยนะครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือต้องการเลือกชมสินค้าสามารถเข้ามาได้ที่ Factomart.com ได้เลยครับ
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Power Quality Analyzer ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ