มาหาคำตอบกันว่า MCCB คืออะไร?

เบรกเกอร์ MCCB

Share this post

เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบ เคยสงสัยไหมว่าจะเลือกแบบไหน ถ้างานของคุณมีแรงดันไฟไม่เกิน 1,000 โวล์ตแล้วล่ะก็ MCCB หรือ Molded Case Circuit Breaker ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเลยล่ะ เพราะมีพิกัดกระแสลัดวงจรสูงตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักร้อยแอมป์

หากคุณยังมีข้อสงสัยหรืออยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ MCCB เพิ่มเติม คุณสามารถเข้าไปดูได้ที่ MCCB Knowledge Center หรือถ้าคุณอยากได้ MCCB ไปใช้งานสักตัวสองตัว ก็เข้ามาที่นี่ได้เลย MCCB Category แหล่งรวมสินค้าหลายแบรนด์ หลากหลายรุ่นที่มีให้คุณเลือกอย่างสะใจ และสามารถสอบถามข้อมูลจากทีมงาน Factomart ได้ตลอดเวลา

MCCB คืออะไร?

MCCB (Molded Case Circuit Breaker) คือเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ห่อหุ้มปิดมิดชิดด้วย molded จำนวน 2 ส่วน ที่ทำการทดสอบ Dielectric strength ก่อนที่จะวางจำหน่าย ส่วน molded ทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้มปกปิดเซอร์กิตเบรคเกอร์ ส่วนใหญ่ทำจาก phenolic

เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ทำหน้าที่หลัก 2 อย่างคือ ทำหน้าที่เป็น สวิตช์เปิด-ปิด ด้วยมือและเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ (กระแสเกินเนื่องจากโหลดเกินหรือลัดวงจร) เมื่อเซอร์กิตเบรกเกอร์เปิดวงจรจะสังเกตเห็นว่าด้ามจับคันโยกจะเลื่อนมาที่ตำแหน่ง Trip ซึ่งจะอยู่กึ่งกลางระหว่าง ON และ OFF (ลักษณะนี้เซอร์กิตเบรกเกอร์ได้เปิดวงจรออกจากระบบเรียบร้อยแล้ว)

เมื่อทำการแก้ไขสิ่งผิดปกติออกจากระบบก็จะสามารถโยกเลื่อนกลับไปต่อใช้งานได้เช่นเดิม ด้วยการ reset คือ กดลงตำแหน่ง OFF ก่อน จากนั้นจึงเลื่อนไปยังตำแหน่ง ON ถ้าเลื่อนไปยังตำแหน่ง ON ผลปรากฏว่าด้ามจับรีกลับมาที่ตำแหน่ง Trip แสดงว่า ขณะนั้นเกิดสภาวะกระแสเกินเนื่องจากกระแสไหลเกิน จะต้องหาสาเหตุของสภาวะผิดปกติและแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถดันด้ามจับไปตำแหน่ง ON ได้ การทำงานแบบนี้เรียกว่า Quick make หรือ Quick break

Molded Case Circuit Breaker ที่จำหน่ายในท้องตลาดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ Thermal magnetic circuit breaker และ Electronic trip circuit breaker

Thermal magnetic circuit breaker

MCCB

จากรูปที่คุณเห็นเป็นตัวอย่างขนาด 1 ขั้ว (one pole) และ 2 ขั้ว (two pole) MCCB ชนิดนี้มีอุปกรณ์สำหรับการสั่งปลดวงจรจำนวน 2 ส่วนคือ Thermal Unit และ Magnetic unit

Thermal Unit

ใช้สำหรับปลดวงจรออกเมื่อกระแสเกินเนื่องจากโหลดเกิน (over load) จากรูปเมื่อกระแสเกินเนื่องจากโหลดเกินไหลผ่านแผ่นไบเมทอล (bimetal) จะเกิดความร้อนจนโก่งงอไปปลดอุปกรณ์ทางกล (mechanical) ทำให้เซอร์กิตเบรคเกอร์ปลดวงจรออกหรือที่เรียกว่า เซอร์กิตเบรคเกอร์ทริป (trip)

MCCB

โดยทั่วไปการสั่งปลดวงจรของ Thermal unit จะใช้เวลานานพอสมควร ขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสและความร้อนที่จะทำให้แผ่นไบเมทอลเกิดการโค้งงอ ดังนั้นเมื่อเกิดการลัดวงจรจึงต้องมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง เพื่อปลดวงจรออกอย่างรวดเร็ว

Magnetic unit

ใช้สำหรับปลดวงจรออกเมื่อกระแสเกินเนื่องจากลัดวงจร (short circuit) จากรูปถ้าหากเกิดการลัดวงจรหรือกระแสสูงๆ ประมาณ 8-10 เท่าขึ้นไปไหลผ่านจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก และเกิดแรงขึ้นจำนวนหนึ่งจนสามารถดึงอุปกรณ์ทางกล ทำให้เซอร์กิตเบรคเกอร์ปลดวงจรออกได้

MCCB

การสั่งปลดวงจรของ magnetic unit จะรวดเร็วมาก ดังนั้น MCCB ชนิดนี้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ทั้ง 2 ส่วนเพื่อทำหน้าที่ปลดวงจร

Electronic trip circuit breaker

Electronic trip MCCB หรือ solid state trip จะใช่วงจรอิเล็กทรอนิกส์วิเคราะห์ค่ากระแส เพื่อส่งปลดวงจร ภายในจะมีหม้อแปลงกระแส (current transformer: CT) ทำหน้าที่แปลงกระแสให้มีขนาดต่ำลง โดยมีไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำหน้าที่วิเคราะห์ค่าของกระแสที่ไหลผ่าน ถ้าหากสูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ก็จะสั่งให้ tripping coil ดึงอุปกรณ์ทางกลเพื่อให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ปลดวงจร

เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้จะมีปุ่มปรับค่ากระแสและเวลาปลดวงจร นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า ammeter & fault indicator โดยจะแสดงสาเหตุการผิดปกติของวงจรและค่ากระแสได้อีกด้วย ทำให้การวิเคราะห์หาสาเหตุในการปลดวงจรทำได้อย่างรวดเร็ว

MCCB

ดังนั้น MCCB หรือ Molded Case Circuit Breaker ก็คือเซอร์กิตเบรกเกอร์แบบหนึ่งที่่นิยมใช้ในงานที่มีแรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์ ใช้เปิดปิดวงจรเมื่อกระแสเกินจากโหลดเกินหรือลัดวงจร นิยมใช้ในตู้ไฟฟ้า Local panel ในโรงงานอุตสาหกรรม และถ้าคุณยังมีข้อสงสัยหรืออยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ MCCB เพิ่มเติม คุณสามารถเข้าไปดูได้ที่ คู่มือและศูนย์รวมข้อมูล MCCB

Facebook Comments