โครงสร้างและหลักการทำงานพื้นฐานของ SCR

วันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูโครงสร้างและหลักการทำงานพื้นฐานของ SCR ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนสวิตซ์เปิด-ปิดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมแล้วเราไปดูกันเลยครับผม

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับเอสซีอาร์ (SCR) ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

โครงสร้างและหลักการทำงานพื้นฐานของ SCR

เอสซีอาร์ (SCR: Silicon Control Rectifier) เป็นสารกึ่งตัวนำจำพวกไทริสเตอร์ (Thyristor) มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N ต่อชนกันทั้งหมด 4 ตอน เป็นสารชนิด P 2 ตอน และสารชนิด N 2 ตอน โดยเรียงสลับกัน มีขาต่อออกมาใช้งาน 3 ขา คือ ขาแอโนด (Anode) ขาแคโทด (Cathode) และขาเกท (Gate)

ภาพโครงสร้างภายในของ SCR

หลักการทำงานของ SCR จะทำหน้าที่เหมือนสวิตซ์ที่เปิด-ปิดไฟ สภาวะการทำงานของ SCR จึงสามารถแบ่งได้ 2 สภาวะคือ สภาวะนำกระแส เรียกว่า ON และสภาวะหยุดนำกระแส เรียกว่า OFF

เมื่อมีแรงดันตกคร่อมระหว่างขั้วแอโนดและคาโทดโดยให้ขั้วแอโนดและคาโทดเป็นไฟลบ รอยต่อ J1 และ J3 จะถูกไบแอสตาม ส่วน J2 จะถูกไบแอสย้อน ถ้าแรงดันที่ตกคร่อม SCR เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงแรงดันหนึ่งที่เรียกว่า แรงดันพังทะลุ (Breakover voltage) ตรงรอยต่อ J2 จะเกิด Breakover ทำให้เกิดกระแสไหลผ่านจากขั้วแอโนดมาที่คาโทด การทำงานในช่วงนี้จะเป็นเหมือนสวิตซ์ปิดหรือสภาวะหยุดนำกระแส หากจะให้ SCR อยู่ในสภาวะนำกระแสให้ป้อนกระแสเข้าที่ขั้วเกต (Gate)

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ SCR ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments