กระบวนการทดสอบคุณภาพสินค้าที่เป็นวัตถุดิบทำได้อย่างไร

Share this post

การทดสอบคุณภาพวัสดุต่างๆ คอนกรีต เหล็ก หรืออิฐ ของตัวสินค้าก่อนที่จะนำออกจำหน่าย แน่นอนว่าหากจะมั่นใจในคุณภาพสินค้าเต็ม 100% มีขั้นตอนอย่างไรเพื่อให้สินค้าไปถึงมือผู้บริโภคอย่างมีคุณภาพ ใช้งานได้ดี ไม่เสียหาย ต้องใช้อุปกรณ์ใดเพื่อตรวจสอบ ไปดูกันเลยครับ

ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การที่โรงงานแห่งหนึ่งจะผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุดิบ เช่น อิฐและเหล็ก คุณภาพของสินค้าที่เป็นวัตถุดิบนั้นจำเป็นต้องตรงกับข้อกำหนด (Specifications) คุณภาพของสินค้า เพื่อให้มั่นใจจึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control) ของตัวสินค้าก่อนที่จะนำออกจำหน่าย แน่นอนว่าหากจะมั่นใจในคุณภาพสินค้าให้เป็น 100% จะต้องตรวจสอบงานทุกชิ้น

ในทางปฎิบัติทางโรงงานจึงใช้วิธีการสุ่มทดสอบ (Sampling Test) ในการทดสอบนั้นจะมีการตกลงจำนวนสินค้าที่ทดสอบว่าต้องผ่านการทดสอบเท่าใดจึงเป็นที่ยอมรับของลูกค้าในสินค้าแต่ละล็อต เช่น การดึงตัวอย่างมาทดสอบ 10 ชิ้นในสินค้า 1,000 ชิ้นเพื่อทดสอบคุณภาพ โดยที่ลูกค้ากำหนดว่า 10 ชิ้นที่สุ่มมานั้นต้องผ่านการทดสอบทั้งหมดจึงจะยอมรับการส่งมอบสินค้า เรามาดูขบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่เป็นวัตถุดิบกันดีกว่า ว่าทำกันอย่างไร

ประเภทการทดสอบและการตรวจสอบคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพหรือการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีวิธีการตรวจสอบดังนี้

วิธีตรวจสอบทุกชิ้น (Screening inspection)

การตรวจสอบทุกชิ้นจะเป็นการตรวจสอบสินค้าแบบ 100% เป็นวิธีที่ง่ายและใช้กันทั่วไป เพื่อใช้หาของเสียจากกระบวนการผลิต เช่น การตรวจหลอดไฟว่าให้แสงสว่างได้ หรือตรวจขวดแก้วว่าไม่มีรอยร้าว แต่วิธีการนี้ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะได้สินค้าสมบูรณ์ทุกชิ้น เพราะวิธีนี้จะใช้เวลาตรวจสอบมาก ทำให้เกิดความล่าช้า พนักงานเกิดความเบื่อหน่ายง่าย

ในทางปฏิบัติจริงวิธีการนี้จะทำให้เปลืองเงินและใช้เวลางานมากเกินไป และในสินค้าบางอย่างก็ไม่สามารถตรวจได้ เช่น การตรวจสอบหาความชิ้นของเส้นหมี่อบแห้ง ที่ต้องนำเส้นหมี่ไปอบเพื่อระเหยน้ำแล้วมาคำนวณหาค่าความชิ้น การทดสอบแบบนี้จะทำให้สินค้าได้รับความเสียหาย สูญเสียสินค้าเยอะเกินไป อาจทำให้การผลิตขาดทุน ดังนั้นจึงไม่สามารถทำการตรวจสอบทุกชิ้นได้

แต่ก็มีอีกวิธีที่เป็นที่นิยม และไม่สูญเสียสินค้าไปเสียเปล่า คือ การสุ่มตัวอย่างทดลอง (Sampling) วิธีนี้มักนิยมทดสอบในกรณีที่ประกอบเป็นชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะเป็นหน้าที่ของอีกหน่วยงานหนึ่งแยกจากฝ่ายผลิตคือ แผนกควบคุมคุณภาพ (Quality control department ; QC.)

วิธีการสุ่มตัวอย่างจากแต่ละรุ่น (Sampling)

การสุ่มตัวอย่างจากสินค้าในแต่ละรุ่น เป็นการหลีกเลี่ยงวิธีตรวจสอบแบบ 100% ไม่ทำให้สินค้าเสียหายเยอะเกินไป โดยในการผลิตสินค้าครั้งละจำนวนมากๆ รวมกันเป็นกลุ่มจะเรียกว่า รุ่น (Lot) เช่น วัตถุดิบที่ส่งเข้ามาในโรงงานในแต่ละครั้ง หรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จในแต่ละช่วงเวลา หรือในแต่ละวัน ถือเป็น 1 รุ่น แทนที่จะทำการตรวจสอบทุกชิ้น ก็จะสุ่มเลือกบางชิ้นในแต่ละรุ่นมาทำการตรวจสอบเท่านั้น และมีเกณฑ์ที่กำหนดในการตัดสินใจว่าจะยอมรับ (Accept) หรือจะปฏิเสธ (Reject) วัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปทั้งรุ่น (Lot) ที่สุ่มมาทำการตรวจสอบ

วิธีตรวจสอบตามขบวนการผลิต (Process inspection)

เป็นการตรวจสอบในระหว่างขบวนการผลิต จะมีพนักงานตรวจสอบในพื้นที่การผลิต เพื่อตรวจสอบวิธีการและเงื่อนไขในการผลิต รวมถึงสุ่มชิ้นงานระหว่างการผลิต (Work in process) มาทำการตรวจสอบ การตรวจสอบวิธีนี้ทำให้สามารถแก้ข้อผิดพลาดทันทีที่พบเห็น เช่น การตรวจสอบในสายการผลิต โดยพนักงานทุกคนที่ทำงานในสายการผลิตทุกจุดเป็นผู้ตรวจสอบไปในตัวด้วย หรืออาจมีพนักงาน QC มาเป็นผู้สุ่มตัวอย่างจากแต่ละตำแหน่งในสายการผลิตไปตรวจสอบ ข้อจำกัดของการตรวจสอบวิธีนี้ก็คือผู้ตรวจไม่สามารถจะตรวจชิ้นงานได้ทุกชิ้น ชิ้นงานบางชิ้นงานจะพลาดการตรวจ และอาจจะเป็นชิ้นที่มีปัญหาคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน

ตัวอย่างการทดสอบคอนกรีต

ตัวอย่างการทดสอบการรับแรงอัดจากจุดแตกหักของวัสดุ ตามมาตรฐาน ASTM C42 ซึ่งเป็นการทดสอบการรับแรงอัดของคอนกรีตด้วยวิธี Coring Test ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบแบบกึ่งทำลาย แต่เป็นวิธีการที่ให้ผลการทดสอบที่ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งกระบวนการทดสอบคอนกรีตนั้นไม่สามารถที่จะกระทำได้ในไลน์การผลิต เนื่องจากต้องผสมคอนกรีตจากวัตถุดิบที่เป็นซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำ แล้วรอให้แข็งตัวจนกลายเป็นคอนกรีตก่อน ดังนั้นใน Coring Test จะเป็นการเจาะเอาตัวอย่างของคอนกรีตมาทดสอบ

โดยปกติแล้วการใช้เครื่อง Universal Testing Machine (UTM) เหล่านี้จะต้องใช้มิเตอร์ที่มีคุณภาพในการรับค่าจากเซ็นเซอร์ หรือ Load Cell ที่เป็น Pressure Sensor อย่างมิเตอร์แบรนด์ RED LION CONTROLS จากอเมริกา ที่มีการตอบสนองที่เร็วและแม่นยำมากจึงเหมาะกับการใช้งานทดสอบประเภทนี้ ในการที่จะวัดค่าแรงอัดที่สูงสุดนั้น ต้องเริ่มจากการเพิ่มแรงอัดเข้าไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่สินค้ารับแรงอัดไม่ไหวและหักหรือเกิดรอยร้าวขึ้น ซึ่งจุดนั้นจะใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ซึ่งค่าแรงอัด ณ จุดสูงสุด

ค่า Maximum จะแสดงผลในเสี้ยววินาทีเท่านั้น หลังจากนั้นค่าแรงอัดจะลดลงทันทีเนื่องจากตัวสินค้าสูญเสียสภาพลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมิเตอร์ที่จะนำมาใช้วัดแรงอัดค่าสูงสุดนั้นจำเป็นต้องบันทึกค่าแรงอัดที่สูงสุดนั้นได้ ในมิเตอร์จาก RED LION CONTROLS นั้นสามารถใช้ฟังก์ชันพิเศษที่บันทึกค่าจุดสูงสุด (MAX) ได้อย่างแม่นยำ เช่น ถึงกี่ทศนิยม ซึ่งจะทำให้ได้สินค้าที่ถูกต้องตามที่ลูกค้ายอมรับได้

เมื่อตัวอย่างทดสอบแตกหักแล้วควรจะมีกระบวนการที่หยุดเครื่องทดสอบโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหากเครื่องทดสอบยังทำงานต่อไป ซึ่งมิเตอร์ RED LION CONTROLS มี Function Contact Relays เพื่อตอบสนองปัญหานี้โดยเฉพาะ

ทำไมถึงต้องใช้เหล็กดัดควบคู่กับคอนกรีต??

เนื่องจากคอนกรี ทนต่อแรงบีบเป็นพิเศษ แต่ไม่ทนต่อแรงดึง ในขณะที่ เหล็กนั้นทนต่อแรงดึงเป็นพิเศษ แต่ไม่ทนต่อแรงบีบ ซึ่งการใช้สองอย่างผสมกันนั้นจะทำให้ค่าความทนทานทั้งแรงบีบและแรงดึงที่เหมาะสม

ยังมีกระบวนการทดสอบคุณภาพสินค้าอีกประเภทหนึ่งนั่นก็คือ การวัดแรงดึง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ทดสอบประเมินความแข็งแรงของโลหะหรือโลหะผสม ในการทดสอบนี้เป็นการนำตัวอย่างสินค้าที่จะทดสอบมาดึงอย่างช้าๆ แล้วบันทึกค่าของความเค้นและความเครียด จากการหาสมการหรือสูตรมาใส่ แล้วมาสร้างกราฟเป็นเส้นโค้งตามมารตฐานของการทดสอบ เช่น มาตรฐานของ ASTM, มาตรฐาน BS, JIS หรือแม้แต่ มอก. ซึ่งมาตรฐานต่างๆ จะมีการกำหนดขนาดและรูปร่างของตัวอย่างที่จะนำมาทดสอบไว้ เพื่อให้ผลการทดสอบเชื่อถือได้

เช่น เราสามารถนำมิเตอร์ RED LION CONTROLS มาใช้งานในลักษณะที่ว่าต้องการทดสอบชิ้นงานโดยใช้แรงดึงก็ได้ เช่นโรงงานลวดเหล็ก ต้องการทดสอบชิ้นงานโดยใช้แรงดึง เพื่อประเมินความแข็งแรงของโลหะหรือโลหะผสมด้วยการใช้ วิธีดึงจนขาดในช่วงเวลาสั้นๆ ด้วยอัตราคงที่

ในบางลักษณะงาน เราจำเป็นจะต้องดูค่าเป็นกราฟหรือเก็บบันทึกค่าข้อมูลของผลลัพธ์เป็นไฟล์ EXCEL เป็นรูปแบบของ Spreadsheet เราจำเป็นต้องมีผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่เป็น Data Logger อาทิเช่น HMI แบบจอสัมผัส (Touch Screen)

จะเห็นได้ว่ากระบวนการทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบอย่างคอนกรีตและเหล็กเส้นจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน มีประสิทธิภาพสูง และมีฟังก์ชันพิเศษในการบันทึกข้อมูล จึงขอแนะนำอุปกรณ์จากแบรนด์ RED LION CONTROLS เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับและนิยมใช้ทั่วโลก

ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments