สวัสดีครับ กลับมาอีกครั้งกับบทความของ Factomart วันนี้เรายังพูดถึงระบบไฟฟ้าในบ้านกันอยู่นะครับ โดยเฉพาะตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต คราวที่แล้วเราได้พูดถึง “3 แนวทางป้อนกันความเสี่ยงจาก ไฟดูด ในบ้านพักอาศัยที่มีต่อคน” ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของการปรับปรุง ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ในบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับครอบครัวของคุณ ซึ่งเราจะพูดถึงการเรโนเวท ตู้คอนซูมเมอร์ ที่มีอยู่แล้วในบ้านนะครับ ส่วนเรื่องของการติด ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ให้กับบ้านใหม่จะเลือกอุปกรณ์และเครื่องตัดไฟรั่วอย่างไร เราจะพูดถึงในครั้งหน้านะครับ เอาล่ะถ้าพร้อมแล้วเรามาพูดถึงการปรับปรุง ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต เพื่อเพิ่มความปลอดภัยกันเลยดีกว่าครับ
รู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้บ้านเรามีอุปกรณ์ป้องกันอะไรบ้าง?
อย่างแรกเลย เราต้องรู้ก่อนว่ามีอุปกรณ์อะไรอยู่บ้าง และมันปลอดภัยได้มาตรฐานหรือยัง? นะครับ เพราะฉะนั้นหา ตู้คอนซูมเอร์ ยูนิต ในบ้านของคุณก่อน แล้วก็เราต้องเปิดดูว่าข้างในมีอะไรติดตั้งอยู่บ้าง ในวิดีโอนี้เราใช้ตัวอย่าง ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต จาก Schneider Electric รุ่นคลาสสิค ที่ใช้กันเยอะในประเทศไทย ผลิตในประเทศไทยเองที่นิคมบางปูและขอบคุณทาง Schneider Electric ที่เป็นผู้สนับสนุนบทความของ Factomart นะครับ เมื่อเราหา ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต เจอแล้วก็ให้เปิดดูข้างในว่าอุปกรณ์อะไรบ้างที่อยู่ข้างใน
เมื่อเราหา ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต เจอแล้วก็ให้เปิดดูข้างในว่าอุปกรณ์อะไรบ้างที่อยู่ข้างใน เรามี 2 ตัวอย่างมาให้ดูกันครับ ทางด้านซ้ายเป็นแบบ DIN Rail และด้านขวาเป็นแบบ Plug-in ทั้ง 2 แบบนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเลย
ในความเห็นของ Factomart เราเห็นว่า ถ้าหากใช้ในบ้านแล้วเนี่ย แบบ Plug-in ด้านขวามือจะติดตั้งได้อย่างสะดวกสบายกว่า และเดินสายได้ง่ายกว่า แต่ในที่นี้เมื่อคุณต้องรีโนเวท คอนซูมเมอร์ ยูนิต แล้วคุณไม่มีทางเลือกมากนัก มีอะไรก็ต้องปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่นะครับ
สำหรับอุปกรณ์ที่ควรมี อันดับแรกเลยก็คือ เมนเบรกเกอร์ ตัวเมนเบรกเกอร์ป้องกันกระแสลัดวงจรที่เรียกว่า Short-circuit และกระแสเกินที่เรียกว่า โอเวอร์โหลด นะครับ
อย่างที่สองเป็นตัว เบรกเกอร์ลูกย่อย ที่ทำหน้าเหมือนกับตัวเบรกเกอร์เมนในเรื่องของการป้องกันโอเวอร์โหลดและซ็อตเซอร์กิตนะครับ แต่ว่าตัวนี้จะป้องกันแต่ละวงจรแยกกันไฟ เวลาที่วงจรไหนมีปัญหาตัวเบรกเกอร์ลูกย่อยก็จะทริปเฉพาะวงจรนั้น เราสามารถที่จะรู้ได้ด้วยว่าปัญหาของระบบไฟฟ้าเกิดจากวงจรส่วนไหนในพื้นที่นั้นนะครับ
ตัวที่สำคัญที่สุดสำหรับคนนะครับก็คือ เครื่องตัดไฟรั่ว หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า RCD (Residual Current Devices) ซึ่งอุปกรณ์ในหมวดนี้มีอยู่หลักๆ ด้วยกัน 3 ตัวนะครับ ก็คือ RCCB RCBO และ ELCB ซึ่งรายละเอียดสำหรับอุปกรณ์เหล่านี้มีอยู่ในเว็บไซด์ของ Factomart แล้ว ที่นี่เลยครับ “เครื่องตัดไฟรั่ว RCD Residual-Current Device คืออะไร แหล่งรวบรวมข้อมูล“
สำหรับบ้านใหม่ที่จะขอมิเตอร์ไฟฟ้าเนี่ย จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน ไฟดูด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กันยายน 2559 ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนในบ้าน
RCCB vs RCBO เลือกตัวไหนมาใช้ดี?
ตัว RCCB มีไว้ป้องกันไฟรั่วนะครับ แต่ไม่สามารถที่จะกันกระแสลัดวงจรได้
ส่วน RCBO กันได้ทั้งไฟรั่วและกระแสลัดวงจร เป็นเหมือนกับการนำเบรกเกอร์ MCB กับ RCCB มารวมเข้าด้วยกัน
ในตัวอย่างของเรา ตู้คอนซูมเมอร์ ซ้ายมือ มีตัวกันไฟรั่วอยู่ แต่ตัวขวามือจะไม่มีนะครับ
ไม่มีเครื่องตัดไฟรั่วกันไฟดูด
มีเครื่องตัดไฟรั่วกันไฟดูดแล้ว
มีทั้งเบรกเกอร์ RCBO และเบรกเกอร์ลูกย่อย MCB
Have RCBO and have MCB (Show earth) Have Surge Funny wooden cut out block
อีกอุปกรณ์หนึ่งที่คุณสามารถติดตั้งได้คือ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันจากฟ้าผ่า Surge Protection Devices หรือ SPD อุปกรณ์ตัวนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้องกันความปลอดภัยของคน ส่วนใหญ่จะป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากฟ้าผ่ากับอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้าน ซึ่งถ้าคุณมีอุปกรณ์แพงๆ ในบ้าน พวกคอมพิวเตอร์ ทีวี หรืออะไรแบบนี้ที่คุณอยากจะป้องกันมันไม่ให้เสียหาย ในกรณีที่มีฟ้าผ่าขึ้นมา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ค่อนข้างบ่อยเหมือนกันนะครับ เพราะฉะนั้นอาจจะติดตั้งไว้เพื่อที่จะป้องกันความเสียหายแก่อุปกรณ์แพงๆ เหล่านี้นะครับ
เพียงแค่ 30 mA ก็อันตราย!!
เอาล่ะครับที่นี่เราก็เห็นกันแล้วนะครับว่าใน ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต มีอุปกรณ์อะไรบ้างที่คุณสามารถใส่เข้าไปได้หรือปรับปรุงตัวมัน สิ่งที่ทางเราแนะนำก็คือว่า ถ้าเกิดว่าทางคุณยังไม่มีเครื่องป้องกันไฟดูด ก็ควรจะติดตั้งมันเพิ่มเข้าไปนะครับ เพราะว่ากระแสไฟฟ้าเพียงนิดเดียว 30 mA เท่านั้นเองก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
จะเห็นว่ากระแสไฟเพียง 30 mA เป็นอันตรายต่อชีวิต เพราะฉะนั้นก่อนที่จะติดตั้ง เครื่องกันไฟดูด ใหม่ คุณต้องเช็คก่อนว่ามีสายดินหรือสายกราวด์หรือยัง ในบทความที่แล้วผมได้พูดถึงการติดตั้งสายกราวด์ไว้นะครับ และก็มีการแชร์ลิ้งให้ไปดูวิดีโอของช่างประจำบ้านนะครับที่อธิบายวิธีการติดตั้งสายกราวด์อย่างละเอียด เครื่องตัดไฟรั่ว จำเป๋็นต้องมีสายกราวด์ เพื่อให้ทำงานได้นะครับ
ติดตั้ง RCD ในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตอย่างไรให้เวิร์ค!!
เอาล่ะครับเรามาดูแนวทางของการติดเครื่องตัดไฟรั่วกันนะครับ ถ้าเป็นแบบ Plug-in เราก็เปลี่ยนตัวเบรกเกอร์ที่เป็นตัวเมนออก เปลี่ยนเป็น RCBO แทน หลังจากนั้นแล้วทั้งระบบก็จะกลายเป็นกันดูดไปทั้งหมด วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุด แล้วก็รวดเร็วที่สุดอีกด้วย ข้อเสียของมันก็คือถ้าเกิดมีไฟรั่วที่วงจรใดวงจรหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมันจะดับทั้งบ้านเลย
ถ้าไม่อยากให้ไฟดับทั้งบ้าน แนวทางอีกทางหนึ่งก็คือติดเครื่องดัดไฟรั่วในวงจรย่อย เท่านี้เราก็สามารถที่จะเลือกติดในวงจรที่เรามีโอกาสจะไปสัมผัสกระแสไฟฟ้าเข้าได้ ส่วนพวกวงจร เช่น วงจรสำหรับระบบแอร์ ระบบกล้องวงจรปิด วงจรเหล่านี้เราจะไม่ค่อยได้ไปสัมผัสมันได้บ่อยนักก็ไม่จำเป็นต้องติด
ข้อเสียของวงจรนี้ก็คือ ถ้าเกิดว่าเรามีหลายวงจรที่จำเป็นว่าจะต้องติด มันจะใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะว่าตัว RCBO สำหรับตัวลูกย่อยเนี่ยจะมีมูลค่าประมาณ 4-10 เท่า ของตัวปกตินะครับ
มีฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจสำหรับเซอร์กิต เบรกเกอร์ ของ Schneider Electric ก็คือมันจะมีตัวบอก Indicator ว่าระบบนี้มันเซฟที่จะไปรีเซ็ตมันเวลาที่ตัวเบรกเกอร์ทริปแล้วมันปลอดภัยหรือเปล่าในการรีเซ็ต
ตัวเบรกเกอร์จะทริปจาก 2 กรณีด้วยกันนะครับ กรณีแรกก็คือไฟฟ้าเกินมันก็ทริป ซึ่งการรีเซ็ตพวกระบบไฟฟ้าเกินไม่มีปัญหานะครับ
แต่ว่าในอีกกรณีหนึ่งก็คือ กรณีของไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งถ้าเกิดไฟฟ้ายังลัดวงจรอยู่แล้วเราไปรีเซ็ตมัน มันอาจมีอันตรายเกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นระบบใหญ่ๆ ก่อนที่จะรีเซ็ตเบรกเกอร์ต้องเช็คให้ชัวร์ก่อนที่จะไปรีเซ็ตนะครับ
แต่ว่าในบ้านเรา ทางเรายังไม่รู้ว่าตัวเบรกเกอร์ทริปเพราะ Overload ไฟฟ้าเกินหรือ Short-circuit ไฟฟ้าลัดวงจร ถ้าเกิดไฟฟ้ายังลัดวงจรอยู่แล้วเราไปรีเซ็ตมันเข้า มันก็มีโอกาสที่ไฟจะลุกไหม้ขึ้นได้ ซึ่งฟีเจอร์นี้ที่ Schneider Electric ทำขึ้นมาก็คิดว่าเป็นฟีเจอร์ที่ดี ยังไม่เคยเห็นมาก่อนในตัวอื่นๆ
สำหรับ ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท แบบ DIN Rail เราสามารถที่จะใช้ตัว RCCB ติดเพิ่มเข้าไปในระบบได้ แล้วก็ทำ wring สายให้ตัวเบรกเกอร์ลูกย่อย MCB ต่อเข้ากับตัว RCCB เพื่อที่จะทำให้วงจรสำหรับเบรกเกอร์ตัวนั้นควบคุมอยู่กลายเป็นแบบกันดููด มีวิธีนี้วิธีเดียวเท่านะน่ะครับ ซึ่งความยุ่งยากของระบบ DIN Rail ก็คือว่าเวลาเราติดแล้วเราต้องลากสายค่อนข้างเยอะในตัวเบรกเกอร์ลูกย่อย
สังเกตรูปในวงจรนี้นะครับจะมีกลุ่มอุปกรณ์ด้านซ้าย อุปกรณ์เหล่านี้จะไม่กันไฟดูด ไม่กันไฟรั่ว
ส่วนกลุ่มอุปกรณ์ด้านขวา อุปกรณ์เหล่านี้จะกันไฟรั่ว
เมื่อติดเครื่องตัดไฟรั่ว RCCB หรือ RCBO แล้วนะครับ อย่าลืมหมั่นเทสมันนะครับ ทั้ง RCCB และ RCBO จะมีปุ่มเทสอยู่ ในวิดีโอข้างบนเป็นการเทส RCBO ของ Schneider Electric กันนะครับ
เอาล่ะครับวันนี้เราก็ได้เห็นแล้วว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีระบบป้องกันเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าอะไรบ้างอยู่ เราได้เห็นถึงแนวทางในการอัพเกรดตัวระบบนะครับ โดยเฉพาะตัวเครื่องตัดไฟดูด อย่าลืม!! เทสเครื่องตัดไฟดูดทุก 3 – 6 เดือนนะครับ
วันนี้ผมของจบเพียงเท่านี้นะครับ ครั้งหน้าเราจะพูดถึงว่า ถ้าเราจะซื้อคอนซูมเมอร์ ยูนิต ใหม่ และเลือกอุปกรณ์ที่อยู่ในตัวมัน เราจะเลือกอย่างไร ถ้ามีคำถามหรืออยากคอมเม้นท์อะไรให้คอนเม้นท์มาหาเราได้เลยนะครับ และถ้าไม่อยากพลาดบทความต่อๆ ไปของเราแล้วล่ะก็ ก็กด Subscribe ไว้เลยนะครับ แล้ววันนี้ผมขอลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับ