Blog Content ในครั้งนี้ทางทีม Factomart.com ขอนำเสนอเกี่ยวกับซีรีย์ความรู้ของ Digital Panel Meter ในหมวดของ Amp Meter หรือจะเขียนแบบ Ammeter ก็ได้เช่นกันครับ โดยในบทความส่วนนี้เราขอต่อเนื่องข้อมูลด้วยโครงสร้างพื้นฐานของ Amp Meter แต่เรายังมีข้อมูลอื่นๆ ของ Amp Meter ให้ท่านได้เลือกอ่านที่ ศูนย์รวมข้อมูล Amp Meter หรือหากสามารถ สั่งซื้อสินค้า Ampt Meter ออนไลน์ ได้จากเว็บไซต์ Factomart.com ได้ทันทีเช่นกันครับ พร้อมแล้วมาเริ่้มดูหลักการทำงาน ไม่ยากอย่างที่คิด ไปตามกันเลยครับ
โครงสร้างพื้นฐานของ Digital Panel Amp Meter
ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายโครงสร้างของ Digital Panel Amp Meter แบบพื้นฐาน ซึ่งจะเน้นไปในส่วนของมิเตอร์ที่มีการแสดงผลแบบตัวเลขดิจิตอล Digital Indicator ซึ่งมีใช้มากที่สุด และในอนาคตก็ยังจะมีใช้อยู่ ซึ่งจะนำมาทดแทน Analog Panel Meter โดยโครงสร้างพื้นฐานของตัว Digital Panel Meter ของทุกประเภทจะเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันตรงภาคอินพุตซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของสัญญาณที่ต้องการตรวจวัด
ภาพแสดงโครงสร้างภายในของตัว Digital Panel Meter
ภาคอินพุต Input มีหน้าที่ในการรับสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งในที่นี้จะเป็นแบบกระแสไฟฟ้าเอซี หรือกระแสไฟฟ้าดีซี โดยในกรณีที่เป็นเอซี จะต้องผ่านวงจรแปลงเป็นดีซีก่อนที่จะนำไปใช้งานในภาคต่อไป
ภาพแสดงภาคอินพุตของตัว Digital Panel Amp Meter
ภาพแสดงวงจรแปลงแรงดัน AC เป็น DC ในภาคสัญญาณอินพุตของ Digital AC Amp Meter
- ภาคขยายสัญญาณ Amplifier เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณต่างๆ ที่รับมาจากภาคอินพุต เนื่องจากสัญญาณที่รับเข้ามาบางประเภทอาจจะมีขนาดเล็กมากๆ ทำให้ยากต่อการนำไปใช้งาน หรือประมวลผล เช่น สัญญาณจาก Strain Gauge, Thermocouple ซึ่งมีระดับสัญญาณเป็น µV, mV โดยจะนิยมใช้วงจรขยาย Instrument Ampliifier หรือวงจร Differential Amplifier ในการขยายสัญญาณ
- ภาคแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล A/D convertor ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณอนาล็อกที่ใช้จากวงจรขยาย ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อใช้ในการประมวลผลสัญญาณ เนื่องจากตัวประมวลผลสัญญาณ จะใช้สัญญาณดิจิตอลในการประมวลเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Load Cell Indicator ซึ่งเป็น Panel Meter ที่นิยมใช้วงจร A/D Convertor แบบ Delta Sigma แบบ 24bits
- ภาคแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก D/A convertor เป็นวงจรที่ทำหน้าที่กลับกันกับภาคแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล A/D convertor โดยจะทำการแปลงสัญญาณที่ได้จากการประมวลผลแล้ว เป็นสัญญาณอนาล็อก เช่น 0-10VDC หรือ 4-20mA เพื่อใช้ Retransmission สัญญาณอินพุต ให้กับตัวคอนโทรลเลอร์อื่นๆ หรือเครื่องบันทึกข้อมูลเช่น Recorder
- ภาคประมวลผล Processing เป็นหัวใจหลักของตัวมิเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมา ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานป้อนเอาไว้ เช่น ความละเอียดที่ต้องการ ความไวในการแสดงผล หรือการสเกลค่าแสดงผลที่หน้าจอ
- ภาคแสดงผล Indicator เป็นส่วนที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้ใช้งาน โดยทำหน้าที่ในการนำค่าที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงให้อยู่ในรูปของภาษาที่เข้าใจได้โดยง่าย เช่น ตัวเลขดิจิตอล หรือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยประเภทของหน้าจอแสดงผลที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่เป็น LED และแบบที่เป็น LCD โดยแบบที่เป็น LCD จะต้องมี Back Light ช่วยในการทำงานถึงทำให้สามารถมองเห็นค่าได้ในที่มืด
- แหล่งจ่ายไฟ Power Supply ในมิเตอร์นั้นจะมีส่วนที่เป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นไฟเลี้ยงวงจรภายในตัวมิเตอร์เอง ซึ่งจำเป็นต้องมีอยู่ และอีกส่วนเป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง AUX, External หรือวงจรไฟเลี้ยงสำหรับอุปกรณ์ภายนอกซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงดัน 12VDC หรือ 24VDC ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้
- ภาคเอาท์พุต เป็นส่วนที่ใช้ในการส่งสัญญาณที่ได้จากการประมวลผล เพื่อใช้ในการควบคุมหรือนำไปประมวลผลต่อ โดยตัวอย่างของสัญญาณที่ได้นั้นได้แก่ สัญญาณเป็น Relay ซึ่งจะใช้ในการควบคุม สัญญาณอนาล็อกเอาท์พุต เช่น 0-10VDC, 4-20mA นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเอาท์พุตที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณืภายนอกที่เป็น Computer Software, PLC, DCS, SCADA เช่น RS-485, RS-232, PROFIBUS และอื่นๆ โดยจะมี Protocol ที่ใช้ในการคุยกันระหว่างคอนโทรลเลอร์ เช่น MODBUS, DNP3
โครงสร้างพื้นฐานของ Amp Meter เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ทางทีมงาน Factomart.com หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่เราเตรียมไว้ให้ครับ สำหรับท่านใดที่สนใจข้อมูลอื่นๆ ของ Amp Meter ท่านได้เลือกอ่านที่ ศูนย์รวมข้อมูล Amp Meter หรือหากสามารถ สั่งซื้อสินค้า Ampt Meter ออนไลน์ ได้จากเว็บไซต์ Factomart.com ได้ทันทีเช่นกันครับ หากมีข้อสงสัยต่างๆ สามารถปรึกษาทีมงาน Technical Engineer ของเราได้ฟรีทุกช่องทางครับ ยินดีให้บริการทุกท่าน