โครงสร้างของ Digital Counter

ซีรีย์ของ Digital Counter ในครั้งนี้มาพบกับโครงสร้างน่ารู้ของ Digital Counter กันครับ หากสนใจอ่านเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูล Digital Counter หรือถ้ามีรุ่นสินค้าในใจแล้วไปเลือกซื้อดิจิตอล เคาเตอร์ แบบออนไลน์ได้ทันทีที่ Factomart.com ครับ

โครงสร้างพื้นฐานของ Digital Counter

ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายโครงสร้างของ Digital Counter หรือเครื่องนับจำนวนซึ่งจะอธิบายการทำงานของส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญ และมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

ภาพโครงสร้างภายในของตัวเครื่องนับจำนวน

1.    ภาคอินพุต Input มีหน้าที่ในการรับสัญญาณ จะเป็นส่วนที่ใช้รับสัญญาณพัลส์ที่ได้มาจากตัวเซนเซอร์ต่างๆ โดยจะมีรูปแบบของอินพุตอยู่ 2 รูปแบบ คือ NPN, PNP ซึ่งสัญญาณที่อ่านจะเป็นขอบขาขึ้น หรือขอบขาลงขึ้นอยู่กับโหมดการทำงานของตัว Counter นั้นๆ โดยภาคสัญญาณอินพุตที่มีใช้อยู่จะมีรายละเอียดดังนี้
○    INA, INB ขารับสัญญาณจากตัวเซ็นเซอร์โดย INA จะเป็นขานับขึ้น ส่วน INB จะเป็นขานับลง
○    INHIBIT จะเป็นขาสำหรับรับสัญญาณที่ใช้ทำหน้าที่ในการปิดประตู Gate ภายในเพื่อไม่ให้รับสัญญาณอินพุต หรือไม่สนใจอินพุต
○    RESET เป็นขาสำหรับต่อกับ Switch ภายนอกเพื่อทำการ Clear ค่า PV ที่นับไว้ ซึ่งจะสะดวกต่อการใช้งานมากกว่าการกดปุ่มที่ด้านหน้า
○    BATCH RESET เป็นขาที่ใช้ในการ Clear ค่า Memory ของ Batch ฟังก์ชั่นที่อยู่ภายใน เพื่อเริ่มต้นการนับค่าใหม่

ภาพขาสัญญาณอินพุตของเครื่องนับจำนวนของ Autonics

2.    ภาคประมวลผล Processing เป็นหัวใจหลักของเครื่องนับจำนวน ที่ทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมา ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานป้อนเอาไว้ เช่น ค่าที่นับได้มีค่ามากกว่า หรือ น้อยกว่าค่าที่ตั้งไว้ หรือ ควบคุมการตั้งค่าต่างๆ ภายใน เช่น ความเร็วในการนับ ค่า Prescale
3.    ภาคแสดงผล Indicator เป็นส่วนที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้ใช้งาน โดยทำหน้าที่ในการนำค่าที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงให้อยู่ในรูปของภาษาที่เข้าใจได้โดยง่าย เช่น ตัวเลขดิจิตอล หรือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยประเภทของหน้าจอแสดงผลที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นจะมีอยู่ 3 แบบ คือ แบบที่เป็น LED แบบหลอด VFD ซึ่งจะแสดงเป็นสีเขียว และแบบที่เป็น LCD โดยแบบที่เป็น LCD จะต้องมี Back Light ช่วยในการทำงานถึงทำให้สามารถมองเห็นค่าได้ในที่มืด โดยจะมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ค่า PV ใช้แสดงค่าการนับ ค่า SV ให้แสดงค่าที่ต้องการตั้งเมื่อนับจำนวนถึง และส่วนสุดท้ายเป็น LED ที่ใช้แสดงสถานะต่างๆ ของตัวเครื่องนับจำนวน

ภาพหน้าจอแสดงผลแบบ LED 6 หลัก ของเครื่องนับจำนวน Enda

ภาพหน้าจอแสดงผลแบบ LCD 8 หลัก ของเครื่องนับจำนวน Autonics

4.    แหล่งจ่ายไฟ Power Supply ในเครื่องนับจำนวนนั้นจะมีส่วนที่เป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นไฟเลี้ยงวงจรภายในตัวมิเตอร์เอง ซึ่งจำเป็นต้องมีอยู่ และอีกส่วนเป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง AUX,  External หรือวงจรไฟเลี้ยงสำหรับอุปกรณ์ภายนอก เช่น เซ็นเซอร์ต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงดัน 12VDC

ภาพการเลือกแรงดันไฟเลี้ยงวงจรของ Digital Counter Autonics

5.    ภาคเอาท์พุต เป็นส่วนที่ใช้ในการส่งสัญญาณที่ได้จากการประมวลผล เพื่อใช้ในการควบคุมหรือนำไปประมวลผลต่อ โดยตัวอย่างของสัญญาณที่ได้นั้นได้แก่ สัญญาณเป็น Relay หรือทรานซีสเตอร์ ซึ่งจะใช้ในการควบคุม นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเอาท์พุตที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกที่เป็น Computer Software, PLC, DCS, SCADA เช่น RS-485, RS-232 โดยจะมี Protocol ที่ใช้ในการคุยกันระหว่างคอนโทรลเลอร์ เช่น MODBUS

ภาพเอาท์พุตแบบต่างๆ ของเครื่องนับจำนวน Autonics

เป็นอย่างไรกันบ้างกับโครงสร้างของ Digital Counter ทางทีมงาน Factomart.com หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านไม่มากก็น้อยนะครับ อย่าลืมว่าถ้ามีข้อสงสัยทางเรามีทีมงาน Technical Engieer ตอบคำถามท่านทุกช่องทางครับ หากสนใจอ่านเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่ศูนย์รวมข้อมูล Digital Counterหรือถ้ามีรุ่นสินค้าในใจแล้วไปเลือกซื้อดิจิตอล เคาเตอร์ แบบออนไลน์ได้ที่ทันทีที่ Factomart.com ครับ

Facebook Comments