การแบ่งประเภท และ การเลือกใช้ Thermocouple

การเลือกใช้ Thermocouple คือ สิ่งสำคัญมากต่อการวัดค่าอุณหภูมิ เนื่องจากแต่ละปรเภทของ เทอร์โมคัปเปิล นั้นทำมาจากวัสดุที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานได้โดยตรง ดังนั้นในการเลือกใช้ เทอร์โมคัปเปิล ให้ได้ประสิทธิภาพนั้น เราควรที่จะมีความรู้ และ ความเข้าใจในเรื่องการแบ่งประเภทด้วย

ซึ่งทาง Factomart.com จะมาบอกถึงข้อคำนึงในการเลือกใช้ และ ประเภทต่างๆของ เทอร์โมคัปเปิล นั้นว่าเป็นอย่างไร? โดยเนื้อหาในส่วนนี้
จะเป็นการเติมความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ Thermocouple คือ อะไร? เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเลือก กลุ่มสินค้าของ Thermocouple ได้อย่างเหมาะสม โดยรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น มาติดตามกันได้เลยนะครับ 

การแบ่งประเภท และ การเลือกใช้ Thermocouple

ในการจัดประเภทของ Thermocouple นั้น เราสามารถแบ่งได้ตามวัสดุที่นำมาทำเป็นเซ็นเซอร์โดยคุณสมบัติของวัสดุที่แตกต่างกันนี้ จะทำให้เกิดค่า EMF (Electromotive Force) หรือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต่างกันด้วย

นอกจากนี้ชนิดของโลหะที่ใช้ทำเทอร์โมคัปเปิลก็ยังส่งผลต่อความเป็นเชิงเส้นของแรงดันเอาท์พุตของตัวเทอร์โมคัปเปิล เนื่องจากเป็นเซ็นเซอร์แบบ Active ที่ไม่จำเป็นต้องมีแหล่งจ่ายพลังงานให้ ก็สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าได้เองตาม หลักการทำงานของเทอร์โมคัปเปิล ที่กล่าวไว้ในบทความของ Factomart.com เราสามารถสรุปกลุ่มของโลหะหรือวัสดุที่ใช้ทำเซ็นเซอร์ออกเป็น 3 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ

  1. Nickel Alloy กลุ่มโลหะชนิดนี้ใช้ทำเทอร์โมคัปเปิล เช่น Type K, J, T

  2. Platinum/Rhodium Alloy กลุ่มโลหะชนิดนี้ใช้ทำเทอร์โมคัปเปิล เช่น Type B, R, S

  3. Tungsten/Rhenium Alloy กลุ่มโลหะชนิดนี้ใช้ทำเทอร์โมคัปเปิล เช่น Type C, D, G

ในกลุ่มของโลหะที่ใช้ทำเทอร์โมคัปเปิลเหล่านี้ ส่วนใหญจะเป็นโลหะผสมจำพวกอัลลอย ซึ่งแล้วปริมาณ นอกจากนี้ต้นทุน จุดหลอมเหลวของโลหะ ความไวต่อการตอบสนองอุณหภูมิ ความสามารถในการทนต่อสารเคมี และสภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยในการจำแนกประเภทของเซ็นเซอร์

 

Nickel alloy thermocouples

  • Type E ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ chromel – constantan ให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิที่สูงถึง (68µV/°C) เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิด้านต่ำๆ เช่น การแช่แข็ง โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิอยู่ที่ −50°C ถึง +740°C และย่านแคบอยู่ที่ −110°C ถึง +140°C และมีคุณสมบัติที่แม่เหล็กดูดไม่ติด (non – magnetic)

  • Type J ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ iron – constantan เป็นที่นิยมใช้งาน ให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิอยู่ที่ (50µV/°C) เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิด้านกลางๆ โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิอยู่ที่ −40°C ถึง +750°C ซึ่งแคบกว่า Type K แต่ให้ความไวในการวัดและความเป็นเชิงเส้นสูงกว่า Type K

  • Type K ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ Chromel  – Alomel เป็นที่นิยมใช้งาน ให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิอยู่ที่ (41µV/°C) เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิด้านกลางๆ ถึงสูง โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิอยู่ที่ −200°C ถึง +1350°C

  • Type M ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ Ni/Mo 82%/18% – Ni/Co 99.2%/0.8% เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิและควบคุมอุณหภูมิในเตาเผาแบบสูญอากาศ เนื่องจากตัวโครงสร้างของวัสดุชนิดนี้จะไม่ทนต่อการเกิดออกซิเดชันในอุณหภูมิที่สูง ซึ่งอุณหภูมิสูงสุดที่สามารถใช้ได้อยู่ที่ 1400°C

  • Type N ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ Nicrosil – Nisil ให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิอยู่ที่ (39µV/°C ที่ 900°C) เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิด้านกลางๆ โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิอยู่ที่ −270°C ถึง +1300°C ทนต่อการเกิดออกซิเดชัน และมีความเสถียรภาพการใช้งานดี ซึ่ง Thermocoule Type N ถูกออกแบบโดยองค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมของออสเตรเลีย  เพื่อเอาชนะปัญหาที่เกิดในวัสดุที่ใช้ทำเซ็นเซอร์สร้างสัญญาณ EMF ที่ไม่คงที่

  • Type T ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ copper – constantan เป็นที่นิยมใช้งาน ให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิที่สูงถึง (43µV/°C) มีส่วนผสมของทองแดง นำความร้อนได้ดี เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิด้านต่ำ เช่น ห้องเย็น การแช่แข็ง โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิอยู่ที่ −200°C ถึง +350°C และมีคุณสมบัติที่แม่เหล็กดูดไม่ติด

 

Platinum/rhodium alloy thermocouples

เทอร์โมคัปเปิล Types B, R, S ทำจากวัสดุที่ให้เสถียรภาพในการวัดอุณหภูมิที่ดี แต่จะให้ความไวในการวัดอุณหภูมิที่ต่ำกว่าเทอร์โมคัปเปิลแบบอื่นๆ ซึ่งให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันต่ออุณหภูมิอยู่ที่ (10µV/°C) โดยเทอร์โมคัปเปิลเหล่านี้เหมาะสำหรับการวัดค่าอุณหภูมิในด้านสูงๆ แต่ราคาหรือต้นทุนก็จะมีราคาสูงด้วย

  • Type B ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ Pt/Rh 70%/30% – Pt/Rh 94%/6% เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิด้านสูง เช่น เตาเผาเซรามิก โดยสามารถวัดอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 1800°C เริ่มสามารถเริ่มวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 50°C ซึ่งจะสูงกว่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจาก EMF ที่ย่านอุณหภูมิต่ำจะมีน้อยมาก จนแทบวัดไม่ได้ ซึ่งหมายความว่าจุดอ้างอิงของอุณหภูมิของเทอร์โมคัปเปิลแบบนี้จะสามารถทำได้อย่างง่าย เพียงแค่กำหนดค่าคงที่ขึ้นมาแล้วอ้างอิงกับค่าอุณหภูมิห้อง

  • Type R ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ Pt/Rh 87%/13% – Pt เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิด้านสูง เช่น เตาเผาเซรามิก โดยสามารถวัดอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 1ุ600°C และเป็นชนิดที่มีการใช้งานมากพอๆ กับ Type S

  • Type S ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ Pt/Rh 90%/10% – Pt เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิด้านสูง โดยสามารถวัดอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 1ุ600°C โดยทาง ITS-90 ระบุช่วงการใช้งานของ Thermocouple Type S ที่มีความละเอียดสูงอยู่ที่ ุ630~1ุ064°C ซึ่งเหมาะสำหรับใช้เป็นตัวมาตรฐานในการสอบเทียบในห้องปฎิบัติการ

 

Tungsten/rhenium alloy thermocouples

เทอร์โมคัปเปิลที่กล่าวทั้งหมดในตอนต้นส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถใช้งานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่รุนแรง มีการกัดกร่อน ในอุณหภูมิสูงมากได้ แต่สำหรับเทอร์โมคัปเปิล Type C, D, G สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงถึง 2315°C และเพิ่มสามารถเพิ่มย่านวัดได้ถึง 2760°C ภายใต้ภายใต้บรรยากาศของก๊าซเฉื่อย (Inert Atmosphere) เช่น บรรยากาศของก๊าซไนโตรเจน และได้ถึง 3000°C กรณีการวัดค่าแบบคร่าวๆ

  • Type C ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ W/Re 95%/5% – W/Re 74%/26%

  • Type D ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ W/Re 97%/3% – W/Re 75%/25%

  • Type G ทำจากส่วนประกอบของวัสดุ W – W/Re 74%/26%

เมื่อเราได้ทราบถึงประเภทของเทอร์โมคัปเปิลแล้ว จะเห็นได้ว่าเทอร์โมคัปเปิลนั้นมีหลากหลายชนิดซึ่งในแต่ละชนิดจะมีย่านการวัดอุณหภูมิที่เหมาะสมแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเป็นเชิงเส้นของแรงดันเอาท์พุต emf ของเทอร์โมคัปเปิลชนิดนั้น จากรูปด้านล่างแสดงให้เห็นถึงกราฟความเป็นเชิงเส้นของเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ

รูปที่ 1 กราฟความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกับค่า emf ของเซ็นเซอร์ที่เหมาะกับการวัดอุณหภูมิช่วงสูง

รูปที่ 2 กราฟความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกับค่า emf ของเซ็นเซอร์ที่เหมาะกับการวัดอุณหภูมิช่วงต่ำ

รูปที่ 3 กราฟความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกับค่า emf ของเซ็นเซอร์ที่เหมาะกับการวัดอุณหภูมิช่วงกลาง

ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Thermocouple

ปัจจัยเสริมในการเลือกใช้ Thermocouple

นอกจากการแบ่งประเภทของ Thermocouple ที่ทางเราได้จัดเตรียมมาให้ท่านผู้อ่านแล้วนั้น เรายังได้เตรียมปัจจัยอื่นๆที่ทางเราเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน โดยปัจจัยเสริมต่างๆนั้น จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


รหัสสี Color Code ของ Thermocouple 

ในบางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะต้องระบุว่าเป็น Thermocouple ชนิดใด เนื่องจากโลหะมีหน้าตาที่คล้ายๆ กัน จึงได้มีการทำฉนวนที่ใช้หุ้มตัวสายเทอร์โมคัปเปิล เพื่อใช้ระบุประเภทของเทอร์โมคัปเปิล โดยมีการกำหนด รหัสสี (Color Code) กำกับไว้ที่ฉนวนที่ใช้หุ้มตัวสายเทอร์โมคัปเปิลแต่ละประเภท เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน โดยมาตรฐานที่มีอยู่ปัจจุบัน มีอยู่ หลากหลายแบบ เช่น IEC, BS, ANSI, JIS, DIN ตามตารางด้านล่าง

รูปที่ 4 ประเภทและมาตรฐานสีของเทอร์โมคัปเปิล

ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Thermocouple

 


รูปที่ 5
 Thermocouple Color Code

ฉนวนหุ้มเทอร์โมคัปเปิล Thermocouple Wire Insulation

ฉนวนหุ้มเทอร์โมคัปเปิล Thermocouple Wire Insulation ที่มีใช้งานในอุตสาหกรรมนั้น มีหลากหลากประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการ และสภาพแวดล้อมในการใช้งาน เช่น มีความชื้น มีการกัดกร่อน หรือ อุณหภูมิสูง ซึ่งองค์ประกอบของฉนวนหุ้มเทอร์โมคัปเปิลนั้นจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ Galvanized layer, Jacket Layer และ Insulation Layer โดยตัวอย่างของฉนวนหุ้มเทอร์โมคัปเปิลที่มีให้งานอยู่เป็นประจำในแต่ละเลเยอร์ได้แก่

รูปที่ 6 ฉนวนหุ้มเทอร์โมคัปเปิลแต่ละเลเยอร์

  • Insulation Layer และ Jacket Layer

    • Fiber Glass ใช้งานกับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมไม่เกิน 300°C เหมาะสำหรับงานที่แห้ง ไม่มีความชื้น

    • PVC ใช้งานกับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมไม่เกิน 105°C เหมาะสำหรับงานที่มีความชื้น ไม่ทนน้ำมัน

    • Teflon ใช้งานกับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมไม่เกิน 350°C เหมาะสำหรับงานที่มีความชื้น

    • Silicone Rubber ใช้งานกับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมไม่เกิน 180°C เหมาะสำหรับงานที่มีความชื้น

  • Galvanized layer

    • Stainless Steel ช่วยเพิ่มความแข็งแรง และกันสัญญาณรบกวน

    • Tinned Brass ช่วยเพิ่มความแข็งแรง และกันสัญญาณรบกวน

รูปที่ 7 ประเภทของฉนวนหุ้มสายเทอร์โมคัปเปิล

ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Thermocouple

 

เกรดและความเที่ยงตรงของ Thermocouple

ความเที่ยงตรงในการวัดนั้นมีความสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกถึงค่าที่วัดได้ว่าเชื่อถือได้หรือไม่ เวลาพูดถึงเครื่องมือวัดนั้นจะมีค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวัดดังนี้

  • Error หรือ ค่าผิดพลาดในการวัด
    จริงๆ แล้วมีอยู่หลายส่วน เช่น Measurement Error คือค่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือวัดเอง Human Error เป็นค่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากผู้ใช้งานเครื่องมือวัด เช่น การใช้งานผิดประเภท การอ่านค่าความผิดพลาดนั้น สามารถบอกเป็น % ของย่านการวัด หรือค่าผิดพลาดสูงสุดก็ได้

  • Accuracy หรือ ความเที่ยงตรง
    คือ ความแม่นยำในการวัดว่าตรงกับค่าจริงแค่ไหน เช่น ถ้าต้องการยิงธนู 1 ครั้ง ให้เข้าเป้าตรงกลาง ซึ่งถ้ายิงแล้วได้ตรงกลาง แสดงว่ามีความเที่ยงตรงหรือความแม่นยำสูง 100%

  • Repeatability
    คือ ความสามารถในการวัดค่าซ้ำ เช่น ยิงลูกธนู 100 ครั้ง เข้าเป้าจุดเดิม 95 ครั้ง ค่า Repeatability = 95%

  • Resolution
    คือ ความละเอียดในการวัด เช่น วัดอุณหภูมิได้ 100.01°C, 100.02°C, 100.03°C แสดงว่ามีความละเอียดได้ 0.01°C  โดยเอาค่าที่เล็กที่สุด ที่สามารถอ่านค่าได้มาแสดง

  • Uncertainty of measurement
    คือ ความไม่แน่นอนในการวัด เป็นการรวมค่าทางสถิติของความผิดพลาดทั้ง เช่น Thermocouple Type K ผ่านการสอบเทียบกับตัวอ่างทำอุณหภูมิที่อุณหภูมิ 100.00°C แต่ค่าที่อ่านออกมาได้คือ 100.10°C Uncertainty +/-1°C หมายความว่าค่าที่อ่านได้สามารถเป็นไปได้ตั้งแต่ 99.10°C ~ 101.10°C

สำหรับความเที่ยงตรงและเกรดของเทอร์โมคัปเปิลนั้น ขึ้นอยู่กับมาตรฐานในการผลิตเทอร์โมคัปเปิลนั้นๆ ว่าอ้างอิงกับมาตรฐานอะไร ตัวอย่างเช่น มาตรฐาน IEC584 ตัวเทอร์โมคัปเปิลที่มีใช้งานแพร่หลายแบบ MI Sheet (Mineral Insulated) เนื่องจากสามารถใช้งานในย่านวัดอุณหภูมิที่กว้าง ทนอุณหภูมิสูง ทนการกัดกร่อน มีความไวในการวัดสูง อายุการใช้งานยาวนาน และมีเทอร์โมคัปเปิลให้เลือกเกือบทุกแบบ และมีเกรดให้เลือก 3 เกรด ตั้งแต่ Class I, II, III แต่ส่วนใหญ่จะใช้ Class I เนื่องจากมีความเที่ยงตรงสูงสุด

รูปที่ 8 โครงสร้างของเทอร์โมคัปเปิลแบบ MI Sheet (Mineral Insulated)

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

รูปที่ 9 ค่า Error ของเทอร์โมคัปเปิลแบบ MI Sheet (Mineral Insulated) ที่คลาสต่างๆ

Sensing Junction ของเทอร์โมคัปเปิล

ส่วนสุดท้ายของเนื้อหาเกี่ยวกับประเภทของเทอร์โมคัปเปิลนั้นจะขอกล่าวถึงเรื่องของการเชื่อมต่อปลายของเซนเซอร์ หรือ Sensing Junction ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของความไวในการวัดอุณหภูมิ และอายุการใช้งานของเทอร์โมคัปเปิ้ลเอง ซึ่งจุดเชื่อมต่อนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Exposed, Ground, Unground

  • Exposed แบบปลายเปิด สามารถวัดอุณหภูมิได้ไวที่สุด แต่อายุการใช้งานสั้นสุด

  • Ground แบบปลายปิดแต่เชื่อมต่อกับกราวด์ของระบบ ความไวในการวัดอุณหภูมิได้ปานกลาง

  • Unground แบบปลายปิดแต่ไม่เชื่อมต่อกับกราวด์ของระบบ  ความไวในการวัดอุณหภูมิต่ำ

รูปที่ 10 Sensing Junction ของเทอร์โมคัปเปิล

ในการทำ Sensing Junction นั้น โดยทั่วไปสามารถเชื่อมได้ 2 วิธี คือ การเชื่อมแบบลูกปัด (Bead Well) และ การเชื่อมแบบกลมโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับขนาดของเทอร์โมคัปเปิล (Butt Weld) โดยถ้าเปรียบเทียบเรื่องของความไวในการวัดของทั้งสองแบบนี้ แบบ Butt Weld จะให้ความไวในการวัดดีที่สุด

การเลือกใช้ Thermocouple ให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะทำความเข้าใจนะครับ เพียงแค่เรารู้จักการแบ่งประเภท การรู้จักรหัสสีเพื่อการเลือกประเภทใช้งานได้อย่างถูกต้อง หรือ ความเที่ยงตรงที่จะเป็นสิ่งที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือในการทำงาน และ สิ่งต่างๆที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในเนื้อหานั้น เป็นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุน และ เสริมการทำงานของท่านให้ได้ดีและมีประสิทธิภาพต่อไปได้ครับ  

ซึ่งถ้าหากท่านมีข้อสังสัยเพิ่มเติมว่า Thermocouple คือ อะไร? หรือ ต้องการเสนอแนะในส่วนใด ท่านสามารถส่งข้อความของท่านได้ในกล่องเสนอความคิดเห็นที่อยู่ทางด่านล่าง หรือ ถ้ามีความสนใจใน กลุ่มสินค้าของ Thermocouple ก็สามารถติดต่อ Factomart.com เราได้โดยตรงในทุกช่องทางการติดต่อของเรานะครับ   

Facebook Comments