พบกันอีกครั้งนะครับ กับการแกะกล่องอุปกรณ์ยอดฮิต ตัวเจ๋งๆ แบรนด์ดังๆ ครับ ในครั้งก่อนเราได้ทำการแกะกล่องแมกเนติก (LC1D09M7) และโอเวอร์โหลด (LRD08) ของ Schneider กันไปแล้ว ทีนี้ก็ถึงคิวของ ABB กันแล้วล่ะครับ ในวันนี้ผมจะมาแกะกล่องแมกเนติก รุ่น AF09-30-10-13 และโอเวอร์โหลดรุ่น TF42-4.2 ที่เป็นรุ่นยอดนิยม วันนี้จะมาดูกันว่าแมกเนติกและโอเวอร์โหลดของ ABB จะมาสร้างความแปลกใจอะไรให้ผมกันบ้าง!!! ถ้าคุณต้องการให้เราทำวิดีโอเรื่องอื่นอีกหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม คุณสามารถส่งข้อความมาหาเราได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างนี้เลยครับ
ถ้าคุณสนใจอยากได้ไปใช้งานจริงแล้วล่ะก็ ก็ตรงเข้ามาเลยที่ AF09-30-10-13 คอนแทคเตอร์ จาก ABB พร้อมให้คุณเลือกซื้อแล้ว คุณอาจสนใจแมกเนติก AF09-30 ตัวอื่นๆ เรามีพร้อมให้คุณได้ซื้อแน่นอน และยังมีแมกเนติก รุ่น AF อีกมากมายให้คุณเลือกซื้อที่นี่ หรือหากคุณสนใจคอนแทคเตอร์รุ่นอื่นๆ จาก ABB อีก คุณสามารถดูแมกเนติก คอนแทคเตอร์ ABB ทุกรุ่นทั้งหมดได้ที่นี่เลย มีทั้งสเปคสินค้า แคตตาล็อก ราคา ที่รับรองได้เลยว่าคุณไม่ผิดหวังแน่นอน
ดูฉลาก ถ้าไม่อยากเจอของเก๊!!
นี่คือกล่องของแมกเนติก ABB นะครับ ตัวกล่องจะเป็นสีขาว มีสัญลักษณ์ ABB สีแดง พิมพ์ไว้อย่างชัดเจน ส่วนฉลากของแมกเนติกตัวนี้จะบอกสเปคไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งรหัสโมเดลสินค้าของ ABB จะมีความพิเศษตรงที่มีรหัส 2 แบบ สังเกตบนฉลากนี้ดูครับ มีรหัสที่พิมพ์ว่า 1SBL137001R1310 รหัสนี้จะเป็นรหัสที่ฝั่งยุโรปจะนิยมใช้กัน และ AF09-30-10-13 เป็นรหัสที่คนไทยนิยมเรียกกันมากกว่า มันดูแล้วเข้าใจง่ายกว่าครับ ดูก็รู้ว่าเป็นแมกเนติก รุ่น AF กระแส 9A ขนาด 3 Pole
มีอะไรอยู่ในกล่อง???
หลังจากที่ดูภายนอกกล่องไปเรียบร้อยนะครับ ที่นี่ก็มาที่ส่วนของภายในกล่องกันบ้าง วิธีแกะกล่องก็เหมือนแกะกล่องทั่วไปครับ แกะง่ายดี แกะออกมาแล้วจะเจอกับตัวแมกเนติกก่อนเลยครับ ถูกใส่ไว้พอดีกับขนาดของกล่อง อาจจะไม่มีส่วนที่ออกแบบมาให้กันกระแทกครับ ภายในกล่องจะมีคู่มือพิมพ์ไว้บนกล่องเลยครับ เวลาจะดูข้อมูลบนนี้ก็หาคัตเตอร์หรือกรรไกรมากรีดให้มันเปิดออกง่ายๆ หน่อยนะครับ ข้อมูลจะไม่ไม่เสียหาย
รูปทรงสมมาตร รูปร่างพอดี
ตัวแมกเนติกตัวนี้ออกแบบรูปทรงได้สมส่วนดีเลยครับ คุณสังเกตไหมว่าสินค้าของ ABB ส่วนมากจะออกแบบสินค้ารูปทรงคล้ายๆ กัน แมกเนติกตัวนี้มีตัวแถบ Test สีขาว ไม่มีฝาครอบ เวลาใช้งานก็กดลงไปได้เลยครับ ตัวแมกเนติกมีสีออกเทาดำ มีแบรนด์ ABB พิมพ์ไว้ด้านบน ตำแหน่งจ่ายไฟก็คือ L1, L2, L3 ส่วนไฟออกที่ T1, T2, T3 ตำแหน่งด้านล่างครับ
รู้ไหม Coil นี้ไม่มีใครเหมือน!!
ส่วน Coil ของแมกเนติก ABB ตัวนี้ มีความพิเศษตรงที่มันถอดออกได้ครับ สามารถย้ายไปใส่ไว้ด้านบนหรือด้านล่างของตัวแมกเนติกได้เลย สะดวกเวลาติดตั้งเลยครับ ถ้าสายเข้าด้านบนก็ย้าย Coil ไปด้านบน หรือสายมาจากด้านล่างก็ย้าย Coil ลงมาครับ
ทำไมมีแค่ NO ล่ะ??
แมกเนติก ABB จะมีคอนแทคช่วยเพียงแค่แบบเดียวคือ NO อยู่ในด้านขวาสุดเลย ต่างจากของแบรนด์อื่นๆ ที่จะมีทั้งแบบ NO, NC ครับ
ดู kW/Hp จบทีเดียวที่ Nameplate
ส่วนของ Nameplate ที่ใช้ดูพวกพิกัดมอเตอร์ แรงม้าใช้ในการสตร์ทมอเตอร์ ข้อมูลมันพิมพ์ลงบนตัวแมกเนติกไว้ที่ด้านข้างครับ มีบอกทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รายละเอียดครบถ้วน คุณสามารถดูได้ที่นี่เลยครับ
แกะกล่อง Overload กันหน่อย
ทีนี้มากันที่ตัวโอเวอร์โหลดกันเลยครับ เป็นโอเวอร์โหลดของ ABB รูปทรงกล่องก็คล้ายกับแมกเนติกเลยครับ มีฉลากพิมพ์ไว้ด้านบนของตัวกล่อง บอกสเปคแบบคร่าวๆ ไม่ว่าจะเป็นรหัสโมเดลสินค้า 2 แบบ บอกว่าผลิตที่ไหน การแกะกล่องก็แกะง่ายๆ ครับ เปิดออกมาได้เลยครับ
อะไรกันมาเป็นแผ่นเชียว!!!
หลังจากแกะกล่องออกมาแล้วก็เจอกับตัวโอเวอร์โหลดก่อนเลยครับ นอกจากนี้ก็มีคู่มือใส่มาให้ด้วยครับ คู่มือที่ให้มาเป็นกระดาษ ในคู่มือบอกรายละเอียดของการใช้งานโอเวอร์โหลดตัวนี้ไว้เยอะแยะเลยครับ ข้อความชัดเจนดีครับ มีภาพจำลอง วิธีการติตตั้ง ข้อควรระวัง โดยข้อมูลเหล่านี้จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดเลยครับ
ฟังก์ชั่นดีๆ ของโอเวอร์โหลด ABB
โอเวอร์โหลดตัวนี้มีรูปทรงที่ขนาดพอดีมือ มีแท่งเสาที่ต่อเข้าแมกเนติก 3 เสา มีส่วนที่ใช้เกี่ยวแมกเนติกไว้อีก 1 คู่ ด้านหน้ามีรหัสโมเดลบอกไว้ว่า TF42 และมีปุ่มกดสีแดงเป็นปุ่ม Stop เวลาใช้งานคุณก็กดลงไปได้เลยครับ ตรงปุ่มสีน้ำเงินที่มีร่องขันน็อต ปุ่มนี้จะเป็นปุ่ม RESET ส่วนที่เป็นฝาครอบพลาสติกใสพอเปิดเข้าไปแล้วจะเห็นว่ามีแถมปุ่มสีดำ เขียนวา Test เวลาใช้งานให้ดันไปซ้ายขวา ถ้าอยากจะ Reset ก็มากดที่ปุ่มสีน้ำเงินได้เลยครับ ส่วน Nameplate ของโอเวอร์โหลดจะแปะไว้ทั้งสองด้านเลยครับ
ต่อโอเวอร์โหลดเข้าแมกเนติกยังไงให้มอเตอร์สตาร์ท
มาในส่วนสุดท้ายคือการต่อโอเวอร์โหลดเข้ากับแมกเนติก ง่ายๆ ครับ แค่เสียบเสาของโอเวอร์โหลดเข้าไปที่แมกเนติกได้เลย ส่วนที่เป็นเหมือนแท่งตะขอจะเป็นตัวช่วยให้โอเวอร์โหลดยึดติกกับแมกเนติกไว้ได้ ถึงแม้มันจะช่วยเกี่ยวไว้ แต่เราก็ต้องขันน็อตให้แน่น เพื่อมันจะได้ยึดติดกันจริงๆ ไม่หลุดออกจากกันตอนที่ต้องนำไปติดตั้งบนรางเหล็กนะครับ
เรียบร้อยไปแล้วนะครับสำหรับการแกะกล่องแมกเนติก คอนแทคเตอร์ และโอเวอร์โหลดของ ABB ทีนี้คุณก็จะได้เห็นรูปร่างหน้าตาของอุปกรณ์ทั้ง 2 ชิ้นนี้แบบคร่าวๆ ว่ามันมีหน้าเป็นแบบไหนนะครับ ถ้าคุณสนใจอยากให้ช่วยแกะกล่องอุปกรณ์อื่นๆ อีก ก็สามารถคอมเม้นท์ไว้ด้างล่างได้เลยครับ หรือมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติมก็เข้ามาถามได้เลยครับที่ LifeChat ตรงมุมขวาล่างที่ เรามีทีมงานพร้อมช่วยคุณทันทีครับ