เรื่องทั้งหมดมันเริ่มที่ผมหาวิดีโอแกะกล่องอุปกรณ์ไม่ได้ ผมเลยตัดสินใจลงมือทำเองซะเลย จากการที่ได้ลงมือทำเอง มันได้สร้างความประหลาดใจให้ผมในบางเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ผมเพิ่งรู้ว่าโอเวอร์โหลดมันผลิตในประเทศไทยของเรานี้เอง!! แถมชไนเดอร์ยังปริ้นคู่มือมาข้างในของกล่องด้วย ถือว่าโชคยังเข้าข้างผมที่ไม่เผลอไปฉีกกล่องเสียก่อน วิดีโอนี้ผมเพิ่งทำขึ้นเป็นครั้งแรกและผมหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์จากวิดีโอนี้นะครับ ถ้าคุณต้องการให้เราทำวิดีโอเรื่องอื่นอีกหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม คุณสามารถส่งข้อความมาหาเราได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างนี้เลยครับ
ถ้าคุณสนใจอยากได้ไปใช้งานจริงแล้วล่ะก็ ก็ตรงเข้ามาเลยที่ LC1D09M7 คอนแทคเตอร์ จาก Schneider พร้อมให้คุณเลือกซื้อแล้ว คอนแทคเตอร์ตัวนี้เป็นแมกเนติก รุ่น LC1D09 และเป็นแมกเนติก คอนแทคเตอร์ ตระกูล TeSys D ที่มีรูปร่างกะทัดรัด หากคุณสนใจคอนแทคเตอร์รุ่นอื่นๆ จากชไนเดอร์อีก คุณสามารถดูแมกเนติก คอนแทคเตอร์ Schneider ทุกรุ่นทั้งหมดได้ที่นี่เลย มีทั้งสเปคสินค้า แคตตาล็อก ราคา ที่รับรองได้เลยว่าคุณไม่ผิดหวังแน่นอน
คุณอาจจะแยกของแท้ ของปลอม ได้จากบนฉลากนี้
เริ่มที่ตัวกล่องสีเขียวสดใส เป็นสีที่ชไนเดอร์ใช้โปรโมทสินค้าของเขาล่ะครับ ฉลากสีขาวพิมพ์สเปคสินค้าชัดเจนแปะไว้อยู่บนฝากล่อง ตัวอักษรขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านบนสุดเป็นรหัสโมเดลสินค้าครับ มันพิมพ์ว่า LC1D09M7 ซึ่ง LC1D จะบอกว่าเป็นคอนแทคเตอร์รุ่น TeSys D ส่วนตัวเลข 09 บอกว่ากระแสไฟฟ้า 9A ตอนแรกสินค้าที่ผมต้องการมันหมด ทางซัพพลายเออร์จึงหาสินค้าตัวอื่นที่ใกล้เคียงมาให้แทน แถมจัดการเปลี่ยนคอยด์ให้ จากเดิมคอยด์ 110V ที่คุณเห็นบนกล่องนั้นล่ะครับ เปลี่ยนเป็น 220V แทน
ด้านซ้ายของฉลากจะเป็นข้อมูลสเปคสินค้าที่บอกไว้อย่างคร่าวๆ ส่วนคู่มือใช้งานแบบละเอียดเดี่ยวผมจะบอกทีหลังว่ามันอยู่ตรงไหนนะครับ ส่วนด้านขวามือคุณจะเห็นเป็นรูปจำลองสินค้าแมกเนติก และมีเขียนว่า Made in Indonesia บอกว่าผลิตในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อนบ้านอาเซียนของเรานี่เองล่ะครับ ชไนเดอร์เขามีบริษัทผลิตสินค้าอยู่หลายประเทศเลย
อย่าฉีกกล่องนะ มันมีของสำคัญ (ซ่อน) อยู่
มาที่การแกะกล่องแมกเนติกกันครับ ลำดับแรกผมจะดันแถบกลมๆนี้ออกก่อน จากนั้นก็เปิดฝากล่องไปด้านบน คุณก็จะเจอแมกเนติกวางอยู่ในกล่องอย่างเรียบร้อย จำได้ไหมครับที่ผมบอกคุณว่าจะพาไปดูคู่มือใช้งานของแมกเนติกตัวนี้กัน??
มันเป็นเรื่องที่ทำให้ผมประหลาดใจมากครับ เพราะว่าคู่มือการใช้งานมันอยู่ในกล่องนั่นเองครับ!! ชไนเดอร์เขาพิมพ์ไว้ในกล่องเลย ดีหน่อยที่ผมไม่ได้ฉีกมันขาดแต่แรก ผมอยากให้กล่องมันไม่เละตอนแกะดู ผมก็เลยใช้คัตเตอร์กรีดที่ข้างมุมกล่องตอนแกะดูข้อมูลด้านในจะได้ง่ายหน่อย คู่มือการใช้งานที่พิมพ์ไว้จะบอกทั้งขนาดสายที่ใช้ต่อเข้าแมกเนติก บอกขนาดไขควง บอกรหัสอุปกรณ์เสริม ซึ่งผมว่ามันสะดวกเวลาใช้งานมากๆ ครับ
หน้าตาขาวสะอาด โลโก้ชไนเดอร์ชัดเจน
มาดูตัวคอนแทคเตอร์กันเลยครับ คุณจะเห็นว่าตัวคอนแทคเตอร์ด้านหน้ามีสีขาว มีโลโก้ชไนเดอร์พิมพ์ไว้อย่างชัดเจน ด้านซ้ายพิมพ์โมเดลสินค้า LC1D09 ไว้ สังเกตตรงขวามือมีอักษรพิมพ์ไว้ว่า A1 ที่อยู่ด้านบนกับ A2 ที่อยู่ด้านล่าง มันเป็นจุดต่อไฟเข้าแมกเนติกครับ นอกจากนี้ยังมีฝาพลาสติกใสๆ ที่มันเปิดปิดได้เอาไว้จะทดสอบตัวคอนแทคเตอร์ทริปกันครับ ตรงฝาหน้ามันก็สามารถถอดออกได้ครับ จะถอดก็เลื่อนขึ้นไป
การจ่ายไฟจะจ่ายเข้าด้านบนของคอนแทคเตอร์ ด้านล่างก็จ่ายไฟออกไปหาโหลด ที่นี้เมื่อผมหันพลิกด้านบนขึ้นมา มันมีฉลากเล็กๆ แปะไว้อยู่ว่า M7 ที่เป็นคอยด์ที่ซัพพลายเออร์เขาเปลี่ยนมาให้ครับ
ดูพิกัดโหลด kW/Hp บน Name plate
บนแถบเงินๆนี้เป็นส่วน Name plate บอกแรงดันที่ใช้งานได้ของคอนแทคเตอร์ตัวนี้ แถบซ้ายมือเป็นสเปคแรงดันเทียบกับแรงม้า (Hp) ตอนเลือกใช้มอเตอร์ เช่น 200V @ 2HP มาที่แถบขวามือมีแบรนด์ชไนเดอร์พิมพ์อยู่ด้านบน สังเกตด้านล่างพิมพ์ว่า Telemecanique ที่ชไนเดอร์เขาซื้อกิจการไปหลายปีแล้วครับ ตรงส่วนนี้จะบอกสเปคสินค้าใช้กับโหลดสูงสุดขนาดเท่าไรเทียบกับแรงดัน เช่น 2.2 kW @ 230 V (AC3) และมาตรฐาน JIS 1.5 kW @ 200-220V ก็ตามที่คุณเลือกใช้งานเลยครับว่าจะใช้แบบไหน หากไม่มั่นใจก็สอบถามมาที่เราได้ครับ
ยึดเข้าราง DIN แบบมือโปร
มาที่ส่วน DIN rail หรือรางยึดล่ะครับ ผมจะสาธิตการต่อคอนแทคเตอร์เข้า DIN rail ให้ดูครับ เวลาจะต่อ DIN rail จะต่อเข้าที่ด้านหลังของคอนแทคเตอร์ครับ คุณจะเห็นสปริง2 อันที่ด้านหลังคอนแทคเตอร์ มันจะขยับได้ ลองดันๆ ดูได้ครับ เวลาคุณจะต่อ DIN rail เข้าก็ต้องใส่ไปที่ส่วนบนก่อน ส่วนที่เป็นสปริงนั่นล่ะครับ เมื่อใส่ด้านบนได้แล้วก็ค่อยดันเข้าไปด้านล่าง เพราะด้านล่างจะไม่มีสปริงครับ เวลาใส่จะลำบากกว่า ที่นี่ลองจับขยับดู ถ้ามันแน่นแล้วก็โอเคแล้วครับ
แกะกล่องโอเวอร์โหลด
คอนแทคเตอร์เรียบร้อยไปแล้วครับ มาต่อกันที่ตัวโอเวอร์โหลดเลยครับ ทั้งคอนแทคเตอร์และโอเวอร์โหลดจะทำงานร่วมกัน เวลาจะสตาร์ทมอเตอร์ก็ต้องมีทั้ง 2 ตัวนี้ครับ กล่องของโอเวอร์โหลดจะมีขนาดเล็กกว่าคอนแทคเตอร์ แต่รูปแบบก็คล้ายๆ กัน ฝากล่องมีสีเขียว ฉลากเป็นสีขาว มีรหัสโมเดลสินค้า LRD08 บอกว่าเป็นสินค้าตระกูล TeSys ส่วนขวามือมีรูปจำลองโอเวอร์โหลด มีบอกด้วยว่า Made in Thailand บอกว่ามันผลิตในประเทศไทยของเราครับ
วิธีแกะก็ดึงแถบกลมๆ ออกมาก่อนคับ แล้วค่อยดันฝากล่องขึ้นไป กล่องจะได้ไม่เสียหาย มาลุ้นกันครับว่ากล่องโอเวอร์โหลดจะมีคู่มือพิมพ์ไว้ด้านในเหมือนกล่องคอนแทคเตอร์หรือเปล่า??….
โอเวอร์โหลด รูปร่างกะทัดรัด จับถนัดมือ
ด้านในกล่องมีโอเวอร์โหลดวางอยู่อย่างเรียบร้อย มีใบคู่มือใช้งานใส่มาให้ด้วย เป็นกระดาษครับ ไม่ได้พิมพ์ไว้บนกล่องเหมือนคอนแทคเตอร์ครับ ตัวโอเวอร์โหลดด้านหน้ามีสีขาว ขนาดก็กำลังพอเหมาะมือเลยครับ จับถนัดดี มีตำแหน่ง NO, NC อยู่ด้านล่าง ฝาครอบด้านหน้าสามารถเปิดปิดได้ครับ เอาไว้เซตกระแส ด้านขวามือมีปุ่มสีน้ำเงินเป็นปุ่ม Reset ปุ่มสีแดงเป็น Stop เวลาจะใช้งานก็กดลงไปครับ สังเกตว่าบนฝาครอบใสๆ มีส่วนให้ล็อกอยู่ แต่แถบบ้านเราจะไม่ค่อยนิยมใช้กันครับ
ต่อโอเวอร์โหลดเข้าแมกเนติก กันมอเตอร์เจ๊ง!!
สุดท้ายเราจะต่อโอเวอร์โหลดกับคอนแทคเตอร์เข้าด้วยกันครับ วิธีต่อก็นำส่วนที่เป็นเสาที่ยืดออกมาจากโอเวอร์โหลดต่อเข้าไปที่ตัวคอนแทคเตอร์ได้เลยครับ เวลาจะต่อเข้าไปได้นั้น คุณจะต้องขยับไปด้านซ้ายมือหน่อย มันจะมีตำแหน่งที่ใส่เข้าไปได้พอดีครับ ผมลองขยับออกมาด้านขวามือ พบว่ามันจะต่อเข้าไปไม่ได้ครับ หลังจากต่อโอเวอร์โหลดกับคอนแทคเตอร์แล้วมันมีขนาดที่เสมอกันพอดีเลยครับ ผมต่อเข้าไปเฉยๆ ไม่ได้ขันน๊อตล็อกไว้นะครับ มันจะไม่ได้ยึดติดกัน เวลาคุณจะใช้งานจริงก็ต้องขันน็อตล็อกไว้ด้วยนะครับ ไม่งั้นล่ะก็มันได้หลุดออกจากกันพาให้คุณเสียเงินเพิ่มแน่นอนครับ
สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น ผมได้พบเรื่องที่ไม่รู้อีกมากมายเกี่ยวกับแมกเนติกจากวิดีโอที่ผมทำขึ้นเอง บางเรื่องก็เส้นผมบังภูเขาแท้ๆ เลย ทั้งเรื่องคู่มือที่เขาให้มากับกล่อง หน้ากากที่ถอดได้ที่บังเอิญมันหลุดออกตอนผมทำวิดีโอพอดี แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับมีความรู้อะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นให้แปลกใจบ้างหรือเปล่า ถ้าคุณอยากให้เราช่วยทำวิดีโอเรื่องไหนหรือมีคำถามอะไรเพิ่มเติมก็ใส่ในคอมเมนต์ด้านล่างได้เลยนะครับหรือผ่าน LifeChat ของเราที่เต็มใจช่วยคุณเสมอ