การใช้งานอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เราควรศึกษานั้นคือข้อควรระวังในการใช้งาน เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าหากมีการผิดพลาดในการใช้งานขึ้นมาอาจส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้นวันนี้เราขอนำเสนอข้อควรระวังและเทคนิคในการใช้งาน Insulation Tester กันครับ
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Insulation & Megaohm Testers ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
เทคนิคและข้อควรระวังในการใช้งาน Insulation tester
Insulation tester หรือ เมกะโอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ทดสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้ามีหลักการทำงานโดยเครื่องจะทำหน้าที่สร้างแรงดันไฟฟ้าแรงสูงเพื่อดันให้มีกระแสจำนวนหนึ่งไหลผ่านความต้านทานค่าสูงๆ ซึ่งเป็นการทดสอบการเบรกดาวน์ (Breakdown) ของฉนวน ดังนั้นในขณะที่เครื่อง Insulation tester ทำงานอยู่นั้นจะมีแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าสูงเกินขึ้น เวลาใช้งานควรระมัดระวังให้มาก หากพลาดอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นข้อควรระวังในการใช้ที่ควรทราบเลย คือ
ปลดวงจรไฟฟ้า
ต้องทำการปลดวงจรไฟฟ้าของอุปกรณ์ที่เราจะทำการทดสอบและวงจรระบบไฟฟ้าหลักออกให้หมด เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการทดสอบจะมีค่าที่สูงกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ที่ทำการทดสอบเกิดความเสียหายได้
ห้ามจับอุปกรณ์ไฟฟ้า
ห้ามจับอุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะที่ Insulation Tester ทำงานอยู่
ห้ามเอามือไปสัมผัสบริเวณปลายสายวัด
ในขณะที่ใช้งาน Insulation Tester อยู่นั้น ห้ามเอามือไปสัมผัสบริเวณปลายสายวัดโดยเด็ดขาด
การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม เราควรระมัดระวังให้มากหากพลาดพลั้งไปอาจเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นข้อห้ามหรือข้อควรระวังในการใช้เราควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานเอง นอกจากข้อควรระวังในการใช้งานแล้วอีกหนึ่งอย่างที่ผู้ใช้ต้องการมากที่สุดคือความแม่นยำของค่าที่วัดได้ ดังนั้นเรามาดูเทคนิควิธีการใช้กันดีกว่าครับ เพื่อให้ค่าที่ออกมาแม่นยำและได้ประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เทคนิคในการใช้งาน Insulation tester
เลือกแรงดันทดสอบที่ประมาณ 2 เท่า ของแรงดันปกติที่ใช้งาน
การใช้งานเครื่องทดสอบค่าความเป็นฉนวนนั้นเราจะต้องทำการเลือกช่วงแรงดันที่จะทำการทดสอบ แล้วเราควรเลือกช่วงแรงดันในการทดสอบที่เท่าไรดีละ? โดยปกติแล้วจะเลือกแรงดันทดสอบที่ประมาณ 2 เท่า ของแรงดันปกติที่ใช้งาน และจะไม่เลือกแรงดันทดสอบที่สูงเกินกว่าความจำเป็น เนื่องจากการใช้แรงดันสูงๆ นั้น จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้นได้ทำให้การใช้งานต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น
ควรทำการ Discharge (การคายประจุไฟฟ้า) ทุกครั้งหลังใช้งาน
เมื่อทำการทดสอบเสร็จแล้วควรทำการ Discharge (การคายประจุไฟฟ้า) ทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้งานจากแรงดันตกค้าง และในปัจจุบันเครื่อง Insulation Tester/ Mega Ohm Meter บางรุ่นได้มีการออกแบบให้มีระบบคายประจุไฟฟ้าอัตโนมัติ (Auto Discharge) ภายในตัว
ค่าความต้านทานฉนวนไม่คงที่ แสดงว่ามีการอาร์ค (Arc)
ในการวัดหากตัวนำไฟฟ้าอยู่ชิดกันจะทำให้เกิดค่าความจุไฟฟ้าขึ้น ส่งผลให้ค่าความต้านทานฉนวนที่วัดได้ในตอนแรกมีค่าต่ำและหลังจากนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนคงที่ ซึ่งในลักษณะแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากค่าความต้านทานฉนวนมีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ ไม่คงที่ แสดงว่ามีการอาร์ค (Arc) เกิดขึ้น
หากท่านใดต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการทำงาน, ประเภทต่างๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน, วิธีการเลือกซื้อ, การใช้งานเบื้องต้น สามารถเข้าไปเลือกศึกษาได้เลยนะครับ ทาง Factomart.com ได้จัดทำไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือต้องการเลือกชมสินค้าสามารถเข้ามาได้ที่ Factomart.com ได้เลยครับ
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Power Quality Analyzer ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ