มารู้จักบาร์โค๊ดที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมกันว่ามีแบบใดบ้าง Part 1

Share this post

สินค้าส่วนมากในท้องตลาดจะมีบาร์โค้ดติดอยู่บนสินค้าแทบทุกชิ้นเลยก็ว่าได้ ทั้งสำหรับเพื่อการชำระเงินหรือเป็นข้อมูลสินค้า ทำให้การซื้อสินค้า ชำระเงิน ทำได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น จึงถือว่าเป็นสื่งที่จำเป็นอย่างมากบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในท้องตลาด บาร์โค้ดที่เราเห็นส่วนมากจะเป็นแบบแถบเส้น แต่มันก็มีหลายแบบให้คุณเลือกใช้ เราจะมาดูกันว่าบาร์โค้ดแต่ละแบบ มันมีจุดเด่นอย่างไรและเหมาะกับสินค้าแบบใดบ้าง และคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ตอนที่ 2

บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร

บาร์โค้ด หรือรหัสแท่ง (Bar-code) คือ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวเลขและตัวหนังสือ มีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกันโดยมีตัวเลขกำกับด้านล่าง หรือบาร์โค้ดที่เป็นลักษณะคล้ายรูปภาพ ซึ่งใช้หลักการสะท้อนแสงเพื่อถอดรหัสและเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก เพราะใช้ตรวจสอบ ระบุ และตรวจนับสินค้าหรือเอกสารได้สะดวก เร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

ส่วนประกอบของบาร์โค้ด (Barcode)

รหัสบาร์โค้ดประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนลายเส้น ซึ่งเป็นลายเส้นสีขาว (โปร่งใส) และสีดำ มีขนาดความกว้างของลายเส้นตามมาตรฐานแต่ละชนิดของบาร์โค้ด ส่วนข้อมูลตัวอักษร เป็นส่วนที่แสดงความหมายของข้อมูลลายเส้นสำหรับให้อ่านเข้าใจได้ และส่วนสุดท้ายแถบว่าง เป็นส่วนที่ใช้กำหนดขอบเขตของบาร์โค้ดและกำหนดค่าให้กับสีขาว (ความเข้มของการสะท้อนแสง) โดยแต่ละเส้นจะมีความยาวเท่ากันเรียงตามลำดับในแนวนอนจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเครื่องอ่านบาร์โค้ด

การกำหนดมาตรฐานบาร์โค้ด เป็นวิทยาการการออกแบบสัญลักษณ์ (Symbol Technology) ที่เข้ารหัสแทนข้อมูล เพื่อให้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ โดยที่รูปแบบของบาร์โค้ดมีหลากหลายชนิดเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบัน แต่ละชนิดมีคุณสมบัติของรูปแบบเฉพาะที่จัดทำเป็นมาตรฐานบาร์โค้ด ซึ่งเริ่มพัฒนากันมาตั้งแต่ปีทศวรรษ พ.ศ. 2510 และมาตรฐานบาร์โค้ดที่มีใช้กันมาก คือ EAN (European Article Number) และ UPC (Universial Product Code)

บาร์โค้ด 2 มิติ

เนื่องจากบาร์โค้ดแบบ 1 มิติสามารถอ่านจำนวนข้อมูลได้จำกัด ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการนำบาร์โค้ดสองมิติมาใช้งาน สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก รวมถึงการนำเทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุ แทนที่เลเซอร์บาร์โค้ดในปัจจุบัน

บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่ รหัสคิวอาร์ (QR Code), ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix), รหัสอีซี (EZcode), รหัสแอซเทค (Aztec Code), เอ็มเอสแท็ก (MS Tag), และบาร์โค้ดสองมิติจากไมโครซอฟท์

Barcode Scanner เครื่องอ่านบาร์โค้ด

iVu Bar code reader (BCR) เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบมาตรฐาน

สำหรับใช้ในการตรวจสอบคุณภาพในงานด้านอุตสาหกรรม ที่ทันสมัย เป็นอีกทางเลือกที่สำคัญสำหรับการสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ในการอุตสาหกรรม เช่น อาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ อิเล็กทรอนิคส์ ยาและอีกมากมายในงานอุตสาหกรรมในการตรวจสอบย้อนหลัง

iVu Bar code reader (BCR) กับหน้าจอแบบสัมผัสหรือจะเป็นแบบรีโมทเป็นแบบที่ไม่จำเป็นต้องใช้คอมผิวเตอร์ในการต่อใช้งาน สามารถตั้งค่าที่ตัว iVu Bar code reader (BCR) ได้เลย และยังสามารถต่ออินเตอร์เฟซออกไปใช้งานภายนอกได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานเพิ่มประสิทธิภาพในตรวจสอบมากยิ่งขั้น

ความพิเศษของเครื่องอ่านบาร์โค้ดตัวนี้มีมากมาย คือ ใช้งานง่าย ผู้ใช้ครั้งแรกสามารถเรียนรู้ได้เร็วในเวลาไม่ถึงนาที มีหน้าจอสัมผัส และอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่าย การตั้งค่าพารามิเตอร์ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ ฟังก์ชั่นใช้งานง่าย คล้ายกับกล้องดิจิตอลในปัจจุบัน และรุ่น iVu BCR มีรุ่นที่เป็นรีโมทสำหรับพื้นที่เข้าไปตั้งค่าพารามิเตอร์ได้ยาก มีซอฟแวร์เป็นแบบโปรแกรมจำลอง เซ็นเซอร์จะอ่านได้ถึงสิบบาร์โค้ดโดยต่างกันคนละแบบได้ มีพอร์ต RS-232 สำหรับการส่งข้อมูล มีโหมดให้เลือกถึง 3 โหมดในการใช้งานในแต่ละแบบ และขนาดกระทัดรัด IP67 มีแหล่งกำเนิดแสงให้ในตัว และคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ตอนที่ 2

ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

Facebook Comments