หลายท่านคงนึกถึงการต่อสายไฟแบบเก่าที่ยึดแน่นเข้าด้วยกันที่ไม่ต้องใช้การบัดกรี เช่น การนำสายมามัดกันแล้วใช้กระจุ๊บพลาสติกสวมครอบ การนำปลายสายยึดด้วยสกรู การใช้หางปลา การใช้ขั้วต่อแบบลูกเต๋า การต่อแบบย้ำสาย เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีการต่อสายแบบใหม่เข้ามา นั่นคือ การใช้ Terminal Block (เทอร์มินอลบล็อก) มาแทน ซึ่งทำให้มีความสะดวกในการใช้งานและโดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัยที่สูงกว่ามาก
คุณเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือและศูนย์รวมข้อมูลเทอร์มินอล บล็อก ที่รวบรวมบทความทั้งหมดเกี่ยวกับเทอร์มินอล บล็อก พร้อมมีคู่มือดาวน์โหลดฟรี
การเลือกใช้เทอร์มินอลบล็อกมีปัจจัยที่ต้องพิจารณากันหลายๆ ด้าน เช่น การเลือกวัสดุเหมาะสม เช่น ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป ทำให้ทนทานหมดปัญหาเรื่องการกรอบแตก การลดปัญหาการช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงใหม้ได้ รวมทั้งในเรื่องการตอบสนองผู้ใช้งานที่ต้องการสะดวกสบายของเทคโนโลยีการเข้าสายที่ง่าย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สามารถลดค่าใช้จ่ายได้
วิธีการเข้าสาย
เนื่องจากเทคโนโลยีการเข้าสายในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ดังที่กล่าวมาแล้ว การเข้าสายมีหลายแบบ แต่ที่จะมานำมาเสนอจะเป็นแบบ Screw แบบ Tension Spring และแบบ Push-In เราไปดูกันว่าแต่ละอย่างมีข้อดีและวิธีใช้อย่างไรบ้าง
การเข้าสายแบบ Screw
การเข้าสายแบบ Screw เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มแรกเป็นที่นิยมและมีใช้กันมากที่สุด ฉบับนี้จึงจะขอกล่าวในรายละเอียดในเรื่องนี้เป็นสำคัญ การเข้าสายแบบ Screw ใช้หลักการยึดสายด้วยสกรูบีบอัดล็อค ให้การยึดแน่นที่ดี เหมาะสำหรับสายหลายประเภท ตั้งแต่สายขนาดเล็กอย่างสายคอนโทรลไปถึงสายเบอร์ใหญ่อย่างสายเพาเวอร์ และการเข้าสายแบบสกรูก็มีหลายแบบตามตัวอย่างด้านล่าง
เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู
เทอร์มินอลบล็อกกราวด์แบบสกรู
เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู 2 ชั้น
เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู 3 ชั้น
เทอร์มินอลบล็อกฟิวส์แบบสกรู
เรามาดูกันต่อว่าเทอร์มินอลบล็อกที่มีการเข้าสายแบบนี้มีวิธีการเลือกอย่างไรกันบ้าง
Body
ควรทำจากพลาสติกที่มีความแข็งแรง ทนต่อสารเคมีและอุณหภูมิสูงที่สำคัญคือ ต้องไม่ติดไฟ เช่น Polyamide Conductor เป็นชิ้นเดียวพร้อมเกลียวที่ดี ไม่หลวมง่าย ไม่ต้องใช้แรงมากในการขันเข้าและออก นอกจากนี้ขนาดตัวของเทอร์มินอลบล็อกก็มีความสำคัญ เช่น การมีขนาดเล็กจะช่วยทำให้ประหยัดพื้นที่ในตู้
การยึดติดตั้ง
การออกแบบการยึดของ body และขั้วต่อสายอลูมิเนียมหรือทองแดงที่ดีให้อายุการใช้งานยาวนานไม่ต้องซ่อมบำรุง การเข้าสายสามารถที่จะใช้สายไฟเส้นเดียวหรือหลายเส้นรวมกันก็ได้ ให้การยึดแน่นที่ดี ไม่หลุดหลวม ให้ความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการเข้าสายเป็นล้านครั้ง นอกจากนี้ต้องสามารถใช้ร่วมกับ Ferrule ได้ดีด้วย
การมีตัวช่วยให้ประหยัดเวลาในการประกอบได้ดี เช่น เลือกใช้ Ground Terminal Block แบบ Snap-On ไม่ต้องใช้สกรู
Jumper Bar
ในบางครั้งต้องมีการเชื่อมต่อหลายตัวเข้าด้วยกัน เช่น การเพิ่มจุดในงานซ่อมบำรุง การทำโปรเจคใหม่ Jumper Bar ตลอดจนในงานติดตั้งที่ต้องมีการทดสอบ ทำให้ต้องมีตัวเชื่อมต่อที่เรียกว่า Jumper Bar ดังนั้นแล้วเราควรเลือกชนิดที่สามารถเสียบเข้าออกได้ง่าย รวมทั้งควรเป็นวัสดุที่นำไฟฟ้าได้ดี เช่น ทองแดงและการใช้ Spring ที่ทำมาจากเหล็กกล้าสามารถใช้งานได้นาน
Marker
ในการซ่อมบำรุงเรามักเจอปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ การหาตำแหน่งของการเข้าสายไม่เจอทำให้เกิดการเสียเวลามากระบบที่ดีเมื่อผู้ใช้มองไปที่เทอร์มินอลบล็อกจะสามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นตำแหน่งไหนในวงจรทำให้แก้ไขงานได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทอร์มินอลบล็อกที่ดีควรรองรับติดตั้ง Marker เข้าไปด้วย
การเข้าสายแบบ Tension Spring
ใช้หลักการสปริงเป็นตัวกดล็อคสาย มีข้อดีที่ไม่ต้องซ่อมบำรุง เข้าสายได้ง่าย ประหยัดเวลา สามารถใช้ไขควงทั่วไปในการเข้าสาย มีความแข็งแรง สามารถเข้าสายได้ทั้งการใช้สายปกติและการใช้ Ferrule การเข้าสายทำได้รวดเร็ว สิ่งสำคัญคือการเลือก Contact ที่มีคุณภาพสูง สปริงที่ทำจาก Steel อย่างดีและการใช้แผ่นทองแดงที่เป็นตัวนำกระแสที่ดี
เหมาะสำหรับงานประเภท Vibration โดยการสั่นของเครื่องจักร ถ้าเป็นเทอร์มินอลแบบสกรูมีโอกาสทำให้น็อตที่ขันมีการคลายตัวได้ โดยเทอร์มินอลแบบสปริงแคมป์รองรับกับการเข้าสายได้หลายขนาด ตั้งแต่ 1.5 mm2 ไปจนถึง 16 mm2 และภาพด้านล่างเป็นการเข้าสายแบบสปริงแบบต่างๆ
เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง
เทอร์มินอลบล็อกกราวด์แบบสปริง
เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง 2 ชั้น
เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง 3 ชั้น
การเข้าสายแบบ Tension Push in
เป็นวิธีการเข้าสายที่ง่ายมาก โดยใส่เข้าโดยตรงไม่ต้องใช้เครื่องมือแต่อย่างใด แต่ใช้เทคโนโลยีของการใช้ Contact ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็น Solution ที่มีความรวดเร็วในการเข้าสายมาก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและลดเวลาในการซ่อมเหมาะสำหรับผู้สร้างเครื่องจักรและงานอาคาร เนื่องจากสามารถเข้าสายที่มีขนาดถึง 10 mm² กระแส 57 A และแรงดันถึง 1000 V
การใช้เทอร์มินอลนั้นจะปลอดภัยกว่าการต่อสายในแบบอื่น สะดวกกว่าและรวดเร็ว ลดเวลาในการทำงาน ในการ wiring สาย จากการเข้าสายทั้ง 3 แบบ คือ แบบ Screw, Tension Spring และ Tension Push in แต่หากคุณจะเลือกใช้ควรพิจารณาเนื้อวัสดุของเทอร์มินอล ควรเลือกวัสดุที่แข็งแรง ไม่แตกง่าย และดูพิกัดการทนกระแสไฟและแรงดัน พิจารณาได้จาก Load คุณเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือและศูนย์รวมข้อมูลเทอร์มินอล บล็อก ที่รวบรวมบทความทั้งหมดเกี่ยวกับเทอร์มินอล บล็อก พร้อมมีคู่มือดาวน์โหลดฟรี
ถ้าคุณสนใจสินค้าสามารถ ดูและเลือกซื้อ Terminal Blocks หลากหลายรุ่น จากหน้าเว็บออนไลน์ของเราได้ หรือคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ