จากที่เราได้ทราบถึงความหมายของ Float Switch คืออะไร? ในหน้าหลักที่ผ่านมา โดยในบทความนี้เราจะมานำเสนอต่อว่า โครงสร้างภายในของ Float Switch นั้นจะประกอบไปด้วยอะไร? เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจและสามารถช่วยวิเคราะห์และแก้ไข ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นข้อมูลเสริมที่จะสามารถช่วยท่านตัดสินใจในการเลือกใช้ กลุ่มสินค้าของ Float Switch ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย โดยรายละเอียดของเนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้น ท่านสามารถติดตามได้จากบทความนี้เลยครับ
ดูโครงสร้าง Float Switch เพิ่มแนวคิดการทำงาน
เราสามารถอธิบายโครงสร้างการทำงานของสวิทซ์ลูกลอยหรือ Float Switch ได้เป็นส่วนต่างๆ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนโครงสร้างที่มีความสำคัญในการทำงานมีดังนี้
Float
ลูกลอย คือ ตัวทุ่นที่ใช้สัมผัสกับตัวของเหลวโดยตรง ซึ่งจะมีโครงสร้างเป็นลักษณะกลม แบนหรือทรงกระบอก ก็ได้ แต่จะต้องมีความหนาแน่น Density น้อยกว่าของเหลว เพื่อทำให้ตัวมันเองสามารถลอยอยู่ได้ เนื่องจากเป็นส่วนที่สัมผัสกับของเหลวโดยตรงจึงมีวัสดุที่ใช้ทำหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับความทนทาน ซึ่งถ้าเป็นแบบทั่วๆ ไปก็อาจจะใช้ PVC (polyvinyl chloride) แต่ถ้าต้องการความทนทานก็จะนิยมใช้ลูกลอยที่ทำมาจาก PP (Polypropylene) ซึ่งขึ้นรูปโดยใช้การฉีด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการรั่ว นอกจากวัสดุที่เป็นพลาสติกแล้ว ยังมีที่ทำจากสเตนเลส หรือโลหะประเภทอื่นๆ ด้วย
รูปที่ 1 สวิทซ์ลูกลอยแบบ PP (Polypropylene)
รูปที่ 2 สวิทซ์ลูกลอยแบบ Stainless
Contact Switch
สวิทซ์หน้าคอนแทค คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟ ให้วงจรไฟฟ้าทำงานครบลูปหรือครบวงจร ซึ่งมีทั้งที่บรรจุอยู่ในตัวลูกลอย หรือติดตั้งภายในก้าน Stem โดยประเภทของ Switch ที่ใช้ในตัวลูกลอยนั้นมีใช้กันอยู่ 2 ประเภท
- Micro Switch เป็น สวิทซ์ที่ทำงานโดยอาศัยแรงกด ซึ่งเป็นแบบกลไก โดยมีหน้าคอนแทค เป็นแบบ NO+NC ทนกระแสและแรงดันได้ 10A, 250VAC
รูปที่ 3 วงจรสวิทซ์ลูกลอยที่ใช้ Limit Switch
Lead Switch
เป็น สวิทซ์ที่ทำงานโดยสนามแม่เหล็ก ซึ่งเป็นแบบแม่เหล็ก โดยมีหน้าคอนแทค เป็นแบบ NO ทนกระแสและแรงดันได้ 0.5A, 300VAC
รูปที่ 4 โครงสร้างสวิทซ์ลูกลอยที่ใช้ Lead Switch
ที่มา: http://www.riko.co.jp/level_e.htm
Electrical Cable / Lead Wire
สายไฟฟ้า เป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าภายนอกกับวงจรของ Contact Switch ตัววัสดุที่ใช้ทำจะต้องทนต่อสภาพแวดล้อมในการติดตั้ง วัสดุที่มีขายในท้องตลาดส่วนใหญ่ จะเป็น PVC (polyvinyl chloride) หรือ Neopren ซึ่งจะทนกว่า นอกจากชนิดของวัสดุที่ใช้ทำแล้ว ยังมีเรื่องของขนาดและความยาวสาย ซึ่งขึ้นอยู่กับกระแสและแรงดันที่ใช้ แต่สำหรับความยาวควรเลือกให้ครอบคลุมความยาวที่ใช้งานไม่ควรต่อสาย เนื่องจากอาจทำให้เกิดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า จนเกิดอันตรายขึ้นได้
Counter Weight
ตุ้มถ่วง ในกรณีที่ติดตั้งตัว Float หรือ ลูกลอย ในลักษณะถ่วงน้ำจำเป็นต้องใช้ตัว Counter Weight ตุ้มถ่วง เพื่อทำให้ตัวลูกลอยจมอยู่ และทำให้สามารถทำงานได้ตรงตามฟังก์ชั่น แต่สำหรับลูกลอยที่มีการติดตั้งแบบแนวตั้งหรือแนวนอน ที่มีแกนหรือ Stem เป็นตัวประคอง จะไม่จำเป็นต้องใช้ตัว Counter Weight ตุ้มถ่วง เนื่องจากใช้การจับยึดที่ตัวเกลียวของ Stem เอง
รูปที่ 5 Counter Weight ตุ้มถ่วงที่ใช้กับ Float Switch
และทั้งหมดนี้ก็คือ 5 ส่วนประกอบสำคัญ ที่รวมกันเป็น Float Switch ที่ช่วยวัดระดับนํ้าให้เราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ my.Factomart.com ได้นำมาให้ท่านผู้อ่านได้ชมกันนะครับ ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งที่จะเพิ่มเติมความเข้าใจถึง Float Switch คืออะไร? และจะสามารถช่วยให้ท่านตัดสินใจเลือกใช้ กลุ่มสินค้าของ Float Switch ได้อย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมคุณภาพการทำงานที่ดีให้กับท่านได้ในโอกาสต่อไปนะครับ
และ ถ้าหากท่านมีข้อสังสัยเพิ่มเติม หรือ ต้องการเสนอแนะในส่วนใด ท่านสามารถส่งข้อความของท่านได้ในกล่องเสนอความคิดเห็นที่อยู่ทางด่านล่าง หรือ ติดต่อเราได้โดยตรงในทุกช่องทางการติดต่อของเรานะครับ