สำหรับการเลือกคอนซูมเมอร์ยูนิทและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สำหรับการป้องกันระบบไฟฟ้าภายในบ้านเรือนนั้นถือเป็นสิ่งที่พ่อบ้านหรือแม่บ้านทั้งหลายสามารถเลือกเองได้เพื่อความปลอดภัยของคนในครอบครัวของเรา อย่างที่ทราบกันว่าคอนซูมเมอร์ยูนิทเองก็มีหลากหลายแบบหลากหลายแบรนด์แล้วแบบไหนหรือแบรนด์ไหนถึงจะเหมาะกับบ้านของท่านมากที่สุด ในบทความนี้เราจะสอนวิธีการเลือกคอนซูมเมอร์ยูนิทและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สำหรับการป้องกันระบบไฟฟ้าภายในบ้านเรือน หวังว่าท่านทั้งหลายจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้
แกะแบบไฟฟ้าดูว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง
ในบทความนี้เราจะเริ่มทำการพิจารณาเลือกคอนซูมเมอร์ยูนิทจากแบบไฟฟ้าสำหรับบ้านเรือน ซึ่งแบบไฟฟ้านั้นทางวิศวกรเป็นคนออกแบบและคำนวณโหลดต่างๆภายในบ้านเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งสามารถดูตามรูป 1.1 เป็นแบบไฟฟ้าสำหรับบ้าน 2 ชั้น
จากรูปที่ 1.1 นั้นเป็นแบบไฟฟ้าหรือ Single Line สำหรับบ้าน 2 ชั้น 3 ห้องนอนและ 2 ห้องน้ำ ต่อไปเรามาดูกันว่าในแบบ ไฟฟ้านี้เขาบอกอะไรให้เราบ้าง
องค์ประกอบของแบบไฟฟ้าบ้าน
รายละเอียดจากมิเตอร์ไฟฟ้า
จากภาพแบบแปลนไฟฟ้าในส่วนของมิเตอร์ไฟฟ้า จะกำหนดให้ใช้กิโลวัตต์มิเตอร์ขนาด 15(45)A 1 Phase ต่อเข้ากับสายไฟ IEC 01 ขนาด 2 – 10 mm. และท่อร้อยสาย PVC ขนาด 1 นิ้ว สำหรับนอกอาคารเดินลอย
รายละเอียดสายดิน
การต่อสายดินจะใช้หลักดินแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง หรือทองแดงบอนด์ ขนาด ⅝ นิ้ว ยาว 2.40 เมตร (10 ฟุต) ต่อเข้ากับสายไฟ IEC 01 ขนาด 1 – 10 mm. ท่อร้อยสาย PVC ขนาด ¾ นิ้ว
รายละเอียดวงจรโหลดต่างๆ
ก่อนอื่นเราจะพูดถึงประเภทของโหลดต่างๆภายในบ้านเรือนก่อนว่ามีอะไรกันบ้าง โดยหลักๆแล้วโหลดภายในบ้านของเราจะมีอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
โหลดแสงสว่าง (Lighting)
เต้ารับ
(Plugs)
เครื่องทำน้ำอุ่น
(Water heater)
เครื่องปรับอากาศ
(HVAC)
รายละเอียดของอุปกรในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต
1 เมนเบรกเกอร์
เราสามารถใช้ได้ทั้งเมนเบรกเกอร์ MCB หรือ เมนเบรกเกอร์กันดูด RCBO ซึ่งในครั้งนี้จะใช้เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCBO ขนาด 2 Pole 50AT มีค่าทนกระแสลัดวงจรสูงสุด หรือ IC เท่ากับ 10kA
2 เบรกเกอร์ลูกย่อย
Sub MCB เบรกเกอร์ในส่วนนี้จะแบ่งวงจรออกเป็นดังนี้
- วงจรแสงสว่าง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. วงจรแสงสว่างในบ้าน จะใช้เบรกเกอร์ ขนาด 1 Pole 16AT ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดหรือ IC ขนาด 6kA ใช้สายไฟ IEC 01 ขนาด 2 – 2.5 mm. ท่อร้อยสายขนาด ½ นิ้ว และ 2. วงจรแสงสว่างนอกบ้าน จะใช้เบรกเกอร์ ขนาด 1 Pole 16AT ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดหรือ IC ขนาด 6kA ใช้สายไฟ IEC 01 ขนาด 2 – 2.5 mm. G2.5 ท่อร้อยสายขนาด ½ นิ้ว
- เต้ารับ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. วงจรเต้ารับชั้น 1 จะใช้เบรกเกอร์ ขนาด 1 Pole 16AT ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดหรือ IC ขนาด 6kA ใช้สายไฟ IEC 01 ขนาด 2 – 2.5 mm. G2.5 ท่อร้อยสายขนาด ½ นิ้ว และ 2. วงจรเต้ารับชั้น 2 จะใช้เบรกเกอร์ ขนาด 1 Pole 16AT ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดหรือ IC ขนาด 6kA ใช้สายไฟ IEC 01 ขนาด 2 – 2.5 mm. G2.5 ท่อร้อยสายขนาด ½ นิ้ว
- เครื่องทำน้ำอุ่น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. เครื่องทำน้ำอุ่นตัวที่ 1 จะใช้เบรกเกอร์ ขนาด 1 Pole 20AT ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดหรือ IC ขนาด 6kA ใช้สายไฟ IEC 01 ขนาด 2 – 4 mm. G2.5 ท่อร้อยสายขนาด ½ นิ้ว และ 2. เครื่องทำน้ำอุ่นตัวที่ 2 จะใช้เบรกเกอร์ ขนาด 1 Pole 20AT ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดหรือ IC ขนาด 6kA ใช้สายไฟ IEC 01 ขนาด 2 – 4 mm. G2.5 ท่อร้อยสายขนาด ½ นิ้ว
- เครื่องปรับอากาศ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. เครื่องปรับอากาศตัวที่ 1 จะใช้เบรกเกอร์ ขนาด 1 Pole 20AT ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดหรือ IC ขนาด 6kA ใช้สายไฟ IEC 01 ขนาด 2 – 2.5 mm. G2.5 ท่อร้อยสายขนาด ½ นิ้ว และ 2. เครื่องปรับอากาศตัวที่ 2 จะใช้เบรกเกอร์ ขนาด 1 Pole 16AT ค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดหรือ IC ขนาด 6kA ใช้สายไฟ IEC 01 ขนาด 2 – 2.5 mm. G2.5 ท่อร้อยสายขนาด ½ นิ้ว
3 เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Device) มีอยู่ 2 ประเภทดังนี้
- RCCB (Residual Current Circuit Breakers) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าป้องกันไฟรั่วไฟดูดได้อย่างเดียวโดยไม่สามารถป้องกันโหลดเกิน (Overload) และ ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้นควรใช้ควบคู่กับ MCB ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว RCCB จะใช้ติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทที่เป็นการติดตั้งแบบรางปีกนก (DIN-RIAL)
- RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันได้ทั้งไฟรั่วไฟดูด โหลดเกินและไฟฟ้าลัดวงจรได้ หรือพูดง่ายๆคือ 3 in 1 ในตัวเดียวกันเลย แต่ตัวนี้ราคาอาจจะแพงกว่า RCCB ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว RCBO จะใช้ติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทที่เป็นการติดตั้งแบบปลั๊กออน (Plug-on)
จากรูปด้านบนนั้นจะเห็นได้ว่า ได้บอกถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างอย่างละเอียดซึ่งสามารถสรุปได้ดังตารางด้านล่าง
โหลด | ขนาดสายไฟ | ขนาดท่อ | เบรกเกอร์ MCB | เมนเบรกเกอร์ | |
A | แสงสว่าง 1 | 2 – 2.5 IEC 01 | ½” | 16AT, 1P, 6 kA | RCBO 50AT, 2P, 10 kA |
B | แสงสว่าง 2 | 2 – 2.5/G2.5 IEC 01 | ½“ | 16AT, 1P, 6 kA | |
C | เต้ารับ 1 | 2 – 2.5/G2.5 IEC 01 | ½” | 16AT, 1P, 6 kA | |
D | เต้ารับ 2 | 2 – 2.5/G2.5 IEC 01 | ½” | 16AT, 1P, 6 kA | |
E | เครื่องทำน้ำอุ่น (3500W) | 2 – 4/G2.5 IEC 01 | ½” | 20AT, 1P, 6 kA | |
F | เครื่องทำน้ำอุ่น (3500W) | 2 – 4/G2.5 IEC 01 | ½” | 20AT, 1P, 6 kA | |
G | เครื่องปรับอากาศ 18000ขนาดไม่เกิน 18000BTU | 2 – 2.5/G2.5 IEC 01 | ½“ | 20AT, 1P, 6 kA | |
H | เครื่องปรับอากาศ 18000ขนาดไม่เกิน 18000BTU | 2 – 2.5/G2.5 IEC 01 | ½“ | 20AT, 1P, 6 kA |
ออฟชั่นและดีไซน์แต่ละแบบของอุปกรณ์ในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต
ในการเลือกดีไซน์สำหรับตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตนั้น จะต้องอิงกับแบรนด์ของคอนซูมเมอร์ยูนิตเป็นหลัก จะมีทั้งแบรนด์ที่ใช้ดีไซน์แบบ Plug-on และก็มีแบรนด์ที่ใช้ดีไซน์แบบ DIN rail คอนซูมเมอร์ยูนิตแบบ Plug-on นั้น ง่ายต่อการติดตั้ง เพราะไม่ต้องทำการต่อสาย แต่มันก็มีข้อกำจัดในดีไซน์ของมันเองอยู่ ในขณะที่แบบ DIN rail จำเป็นต้องทำการต่อสายเอง แต่มีความยืดหยุ่นในการออกแบบอยู่มาก แบบ Plug-on นั้นจะใช้กับเครื่องตัดไฟรั่วแบบ RCBO แต่แบบ DIN rail จะใช้กับตัว RCCB แทน
ฟังก์ชั่น Split-bus ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ Plug-on นั้นมีความยืดหยุ่นต่อการออกแบบมากขึ้น เดียวเราจะแนะนำการเลือกอุปกรณ์ในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตให้ดูกัน
7 ปัจจัยในการเลือก
- จำนวนช่องของตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท
- Plug-on หรือ DIN-Rial
- เมนเบรกเกอร์และเบรกเกอร์ลูกย่อย
- เครื่องตัดไฟรั่ว
- มาตราฐาน
- แหล่งหาซื้อง่าย
- ราคารวม
1. จำนวนช่องของตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท
สำหรับตู้นั้น จะมีรุ่นหลากหลายช่องให้เลือกใช้งาน มีตั้งแต่ 4-20 ช่อง ขึ้นอยู่กับแบรนด์ ซึ่งจำนวนช่องที่ว่านั้นเป็นจำนวนช่องของเบรกเกอร์วงจรย่อย ส่วนช่องเมนเบรกเกอร์นั้นจะมีอยู่แล้ว และให้การเลือกจำนวนช่องนั้นอย่าลืมเผื่อการต่อขยายโหลดให้อนาคตด้วย หรือ Spare ซึ่งจำนวนช่องการ Spare นั้นขึ้นอยู่กับโอกาสการต่อขยายอย่างเช่น บ้านมี 3 ห้องนอนแต่ปัจจุบันแต่ติดแอร์แค่ 2 ห้องนอนเท่านั้นเพราะอีกห้องเนื่องด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ดังนั้นเราควรมี Spare ไว้สัก 2 ช่องเผื่อแอร์ห้องนอน 1 ห้องที่ยังไม่ได้ติดและห้องนั่งเลยที่ต้องการติดแอร์เพิ่มในอนาคต
2. การติดตั้งแบบ Plug-on หรือ DIN-Rial
เนื่องด้วยคอนซูมเมอร์ยูนิทเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเบรกเกอร์ดังนั้นจะต้องเลือกให้เหมาะกับการติดตั้งเบรกเกอร์เมนและเบรกเกอร์ลูกย่อยด้วย ซึ่งหลักๆที่เป็นที่นิยมในเมืองไทยจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันได้แก่ แบบ รางปีกนก (DIN- RIAL) และ ปลั๊กออน (Plug-on) ซึ่งในแต่ละแบบการติดตั้งจะมีข้อดีที่แตกต่างกันไป แต่ข้อดีที่เห็นได้ชัดของแบบปลั๊กออนคือ ไม่ต้องเดินสายไฟจากเมนเบรกเกอร์ไปยังเบรกเกอร์ลูกย่อย เนื่องจากทางผู้ผลิตได้ติดตั้งบัสบาร์ให้อยู่แล้ว ทำให้ประหยัดสายและดูเรียบร้อยกว่า ส่วนข้อดีที่เห็นได้ชัดของแบบรางปีกนกคือ ราคาจะถูกกว่าแบบปลั๊กออน
โดยทั่วไปทางผู้ผลิตเบรกเกอร์ส่วนใหญ่แล้วจะมีตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทควบคู่มาด้วยเพื่อสะดวกในการติดตั้ง ดังนั้นขอแนะนำให้เลือกเบรกเกอร์กับคอนซูมเมอร์ควรเป็นแบรนด์เดียวกัน
Plug-on
บัสบาร์แยก (Split Bus)
จำนวนช่อง | รหัสสินค้า | ราคาตั้ง | เช็คราคาพิเศษและสั่งซื้อ | |
พร้อมอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด RCCB 40A 30mA | ||||
4+4 | S9HCL14X4R40 | 5,300 | ||
8+4 | S9HCL18X4R40 | 5,740 | ||
8+8 | S9HCL18X8R40 | 6,160 | ||
พร้อมอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด RCCB 40A 30mA | ||||
4+4 | S9HCL14X4R63 | 5,300 | ||
8+4 | S9HCL18X4R63 | 5,740 | ||
8+8 | S9HCL18X8R63 | 6,160 |
3. เมนเบรกเกอร์และเบรกเกอร์ลูกย่อย
เมนเบรกเกอร์
เมนเบรกเกอร์จะมีอยู่ 2 แบบ (เฉพาะแบรนด์) คือ เมนเบรกเกอร์ MCB และ เมนเบรกเกอร์ RCBO ซึ่งเมนเบรกเกอร์ที่มีเครื่องตัดไฟดูดในตัว ซึ่งการทำงานของเมนเบรกเกอร์ชนิดนี้คือถ้าวงจรย่อยไหนในระบบมีการเกิดไฟดูดไฟรั่วเมนเบรกเกอร์ก็จะตัดไฟทั้งหมดในระบบเลยทำให้ไฟดับทั้งบ้าน แต่ถ้าท่านไม่ต้องการการทำงานแบบนี้สามารถติดตั้ง RCBO ที่เฉพาะวงจรย่อยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟดูดไฟรั่วได้เช่น วงจรเต้ารับ วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น แล้วใช้เมนเบรกเกอร์ MCB แทน ส่วนคุณสมบัติของเมนเบรกเกอร์ที่ควรมีเพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดในการติดตั้งระบบไฟในที่พักอาศัยนั้น เมนเบรกเกอร์จะต้องมีค่าทนการลัดวงจรสูงสุดหรือ IC หรือ Icu หรือ kA จะต้องมีค่า IC ไม่น้อยกว่า 10kA ตามมาตรฐาน IEC 60898, 2 Pole ส่วนพิกัดกระแสขึ้นอยู่กับโหลด
เบรกเกอร์ลูกย่อย
เบรกเกอร์ลูกย่อยก็จะมีอยู่ 2 แบบเช่น คล้ายๆกับเมนเบรกเกอร์ ส่วนมากจะใช้แบบ 1 Pole, ค่าทนการลัดวงจรสูงสุดต้องไม่น้อยกว่า 6kA ตามมาตรฐาน IEC 60898 เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดในการติดตั้งระบบไฟในที่พักอาศัย ส่วนพิกัดกระแสขึ้นอยู่กับโหลด
4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
ในการจะตัดสินใจซื้อสิ่งหนึ่งที่อย่าลืมคำนึงถึงในเรื่องของ การหาซื้อง่าย เนื่องจากอุปกรณ์เบรกเกอร์มีอายการใช้งาน ถ้าในอนาคตอุปกรณ์ดังกล่าวพังเสียหายเราจะสามารถหาซื้ออุปกรณ์มาเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย ถ้าในตลาดที่หาซื้อเปลี่ยนง่ายอยากจะแนะนำเป็นของแบรนด์ SCHNEIDER&Square-D, ABB และ BTICINO ซึ่ง 3 แบรนด์นี้ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่นิยมมากที่สุดในเมืองไทย ต่อไปเราจะมาเปรียบเทียบราคาของอุปกรณ์ต่างๆตามตารางด้านล่าง
เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Device) คือ เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดกระแสไฟฟ้าภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าและออก มีค่าไม่เท่ากัน นั่นคือมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนที่รั่วหายไป เช่น รั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินหรือกระแสไฟฟ้ารั่วผ่านคนที่ไปสัมผัสอุปกรณ์ที่มีไฟรั่วอยู่ ขณะใช้งานปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ดังนั้น เครื่องตัดไฟรั่ว จะไม่ทำงาน เครื่องตัดไฟรั่วหลักๆแล้วจะมีอยู่ 2 ประเภทดังนี้
- RCCB (Residual Current Circuit Breakers) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าป้องกันไฟรั่วไฟดูดได้อย่างเดียวโดยไม่สามารถป้องกันโหลดเกิน (Overload) และ ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้นควรใช้ควบคู่กับ MCB ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว RCCB จะใช้ติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทที่เป็นการติดตั้งแบบรางปีกนก (DIN-RIAL)
- RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันได้ทั้งไฟรั่วไฟดูด โหลดเกินและไฟฟ้าลัดวงจรได้ หรือพูดง่ายๆคือ 3 in 1 ในตัวเดียวกันเลย แต่ตัวนี้ราคาอาจจะแพงกว่า RCCB ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว RCBO จะใช้ติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทที่เป็นการติดตั้งแบบปลั๊กออน (Plug-on)
5. มาตราฐาน
อุปกรณ์ |
มอก. | IEC |
คอนซูมเมอร์ยูนิท |
1436-2540 | 60439-1,60439-3 |
MCB |
60898 |
|
RCBO |
909-2548 |
61009 |
RCCB | 2425-2552 |
61008 |
6. แหล่งหาซื้อง่าย?
ในการจะตัดสินใจซื้อสิ่งหนึ่งที่อย่าลืมคำนึงถึงในเรื่องของ การหาซื้อง่าย เนื่องจากอุปกรณ์เบรกเกอร์มีอายุการใช้งาน ถ้าในอนาคตอุปกรณ์ดังกล่าวพังเสียหายเราจะสามารถหาซื้ออุปกรณ์มาเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย ถ้าในตลาดที่หาซื้อเปลี่ยนง่ายอยากจะแนะนำเป็นของแบรนด์ SCHNEIDER&Square-D, ABB และ BTICINO ซึ่ง 3 แบรนด์นี้ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่นิยมมากที่สุดในเมืองไทย ต่อไปเราจะมาเปรียบเทียบราคาของอุปกรณ์ต่างๆตามตารางด้านล่าง
7. ราคารวม
Consumer Unit + Components + Wires + Labour
ตัวอย่างการเลือกและประกอบตู้คอนซูมมเมอร์ยูนิท
เราจะทำตัวอย่างการเลือกและเปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบรวมถึงราคารวมของแต่ละดีไซน์
แบบปลั๊กออน (Plug-on)
สำหรับการติดตั้งแบบปลั๊กออนนั้นจะใช้อุปกรณ์ของแบรนด์ Schneider Electric หรือ Square D
ตัวอย่างที่ 1 ปลั๊กออน (Plug-on) เมนเบรกเกอร์ RCBO +เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB
การต่อแบบมี RCBO ทำหน้าที่เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด สำหรับไฟฟ้า 1 เฟส
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟเกินและไฟซ๊อต
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้ โดยป้องกันทุกๆวงจรที่ต่อผ่านอุปกรณ์
- ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้เบื้องต้น
อุปกรณ์
รายการ | จำนวน | หน่วย | ราคาวัสดุ Schneider | |
ราคา หน่วยละ | จำนวน | |||
แผงย่อย และเซอร์กิตเบรกเกอร์ | ||||
คอนซูมเมอร์ ยูนิท 10 ช่อง | 1 | ชุด | 1,330 | 1,330 |
เมนเบกรเกอร์กันดูด RCBO 50AT 2P 10 kA | 1 | ชุด | 2,171 | 2,170 |
ลูกเซอร์กิต MCB 20AT 1P IC 6 kA | 4 | ชุด | 98 | 392 |
ลูกเซอร์กิต MCB 16AT 1P IC 6 kA | 4 | ชุด | 98 | 392 |
รวม | 4,284 |
ตัวอย่างที่ 2 ปลั๊กออน (Plug-on) เมนเบรกเกอร์ MCB +เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB +เบรกเกอร์ลูกย่อย RCBO
การต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ MCB ทำหน้าที่เป็นเมน และมีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด (RCBO) แยกคุมวงจร สำหรับไฟฟ้า 1 เฟส
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟเกินและไฟซ๊อต
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้ โดยจะป้องกันแบบวงจรต่อวงจรสำหรับวงจรที่ต่อผ่าน RCBO เท่านั้น
อุปกรณ์
รายการ | จำนวน | หน่วย | ราคาวัสดุ Schneider | |
ราคา หน่วยละ | จำนวน | |||
แผงย่อย และเซอร์กิตเบรกเกอร์ | ||||
คอนซูมเมอร์ ยูนิท 10 ช่อง | 1 | ชุด | 1,330 | 1,330 |
เมนเบกรเกอร์ MCB 50AT 2P 10 kA | 1 | ชุด | 735 | 735 |
ลูกเซอร์กิต MCB 20AT 1P IC 6 kA ลูกเซอร์กิต กันดูด RCBO 20AT 1P IC 6 kA | 2 | ชุด | 98 | 2,506 |
ลูกเซอร์กิต MCB 16AT 1P IC 6 kA ลูกเซอร์กิต กันดูด RCBO 16AT 1P IC 6 kA | 2 | ชุด | 98 | 2,506 |
รวม | 7,077 |
ตัวอย่างที่ 3 ปลั๊กออน (Plug-on) Split bus: Bus1 `{`เมนเบรกเกอร์ MCB +เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB`}` + Bus2 `{`เมนเบรกเกอร์ RCCB +เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB`}`
การต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ MCB ทำหน้าที่เป็นเมน และมีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด (RCCB) เป็นเมนแยกคุมวงจร สำหรับไฟฟ้า 1 เฟส
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟเกินและไฟซ๊อต
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้ โดยจะป้องกันเฉพาะวงจรที่ต่อผ่านอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดเท่านั้น
- ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้เบื้องต้น
อุปกรณ์
รายการ | จำนวน | หน่วย | ราคาวัสดุ Schneider | |
ราคา หน่วยละ | จำนวน | |||
แผงย่อย และเซอร์กิตเบรกเกอร์ | ||||
คอนซูมเมอร์ ยูนิท split bus 40A 8+4 ช่อง (มีตัว RCCB กันไฟดูด 40A 30mA รวมอยู่ด้วย) | 1 | ชุด | 2,653 | 2,653 |
เมนเบกรเกอร์ MCB 50AT 2P 10 kA | 1 | ชุด | 735 | 735 |
ลูกเซอร์กิต MCB 20AT 1P IC 6 kA | 4 | ชุด | 98 | 392 |
ลูกเซอร์กิต MCB. 16AT 1P IC 6 kA | 4 | ชุด | 98 | 392 |
รวม | 4,172 |
แบบรางปีกนก (DIN-RIAL)
ตัวอย่างที่ 4 รางปีกนก (DIN-RIAL): เมนเบรกเกอร์ MCB + เครื่องตัดไฟรั่ว RCCB + เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB (ต่อสายแบบดับหมดบ้าน)
การต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ MCB และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด (RCCB )ทำหน้าที่เป็นเมน สำหรับไฟฟ้า 1 เฟส
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟเกินและไฟซ๊อต
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้ โดยป้องกันทุกๆวงจรที่ต่อผ่านอุปกรณ์
- ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้เบื้องต้น
อุปกรณ์
รายการ | จำนวน | หน่วย | ราคาวัสดุ ABB | |
ราคา หน่วยละ | จำนวน | |||
แผงย่อย และเซอร์กิตเบรกเกอร์ | ||||
คอนซูมเมอร์ ยูนิท 14 ช่อง Busbar 13 pin | 1 | ชุด | 1,216 88 | 1,304 |
เมนเบกรเกอร์ MCB 50AT 2P 10 kA | 1 | ชุด | 649 2,200 | 2,849 |
MINIATURE CB. 20AT 1P IC 6 kA | 4 | ชุด | 99 | 396 |
MINIATURE CB. 16AT 1P IC 6 kA | 4 | ชุด | 99 | 396 |
รวม | 4,945 |
ตัวอย่างที่ 5 รางปีกนก (DIN-RIAL): เมนเบรกเกอร์ MCB + เครื่องตัดไฟรั่ว RCCB + เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB (ต่อสายแบบแบ่งวงจรตัดไฟรั่ว)
การต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ MCB ทำหน้าที่เป็นเมน โดยมีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด (RCCB )แยกคุมวงจร สำหรับไฟฟ้า 1 เฟส
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟเกินและไฟซ๊อต
- สามารถป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้ โดยจะป้องกันเฉพาะวงจรที่ต่อผ่านอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดเท่านั้น
- ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดได้เบื้องต้น
อุปกรณ์
รายการ | จำนวน | หน่วย | ราคาวัสดุ ABB | |
ราคา หน่วยละ | จำนวน | |||
แผงย่อย และเซอร์กิตเบรกเกอร์ | ||||
คอนซูมเมอร์ ยูนิท 14 ช่อง Busbar 13 pin | 1 | ชุด | 1,216 88 | 1,304 |
เมนเบกรเกอร์ MCB 50AT 2P 10 kA เครื่องตัดไฟดูด RCCB 63AT 2P 6kA | 1 | ชุด | 649 2,200 | 2,849 |
MINIATURE CB. 20AT 1P IC 6 kA | 4 | ชุด | 99 | 396 |
MINIATURE CB. 16AT 1P IC 6 kA | 4 | ชุด | 99 | 396 |
รวม | 4,945 |
สรุปการเลือก
ทางเราชอบดีไซน์แบบ Plug-on ด้วยเหตุผลที่ว่ามันประหยัดเวลา และง่ายต่อการติดตั้ง เมื่อเทียบกับแบบ DIN rail ที่ไม่ต้องเสียเวลาในการต่อสาย
DIN rail ที่ใช้อุปกรณ์ที่ใช้อุปกรณ์ MCB เบรกเกอร์ลูกย่อย ควบคุู่กับเครื่องตัดไฟรั่ว RCCB ให้ความยืดหยุ่นในการแยกวงจรออกเป็น 2 กลุ่ม มีทั้งแบบกลุ่มที่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วกับกลุ่มที่ต้องมีเครื่องตัดไฟรั่ว ด้วยการต่อสายแบบรูปแบบเฉพาะกับการตัดและแก้ไขตัวบัสบาร์
ทั้งนี้ทั้งนั้น ดีไซน์ใหม่แบบ Split-bus สำหรับประเภท Plug-on จาก Schneider electric สามารถที่จะให้ความยืดหยุ่นในการแยกวงจรออกเป็น 2 กลุ่มได้ด้วยอุปกรณ์ใหม่ที่ง่ายต่อการติดตั้ง และด้วยราคาที่ถูกกว่า ทาง Factomart ค่อนข้างชอบ และแนะนำอุปกรณ์ใหม่แบบ Split-bus นี้
ในปีที่แล้ว ชไนเดอร์ ได้ออกรุ่นใหม่ ชื่อว่า Classic plus มีหน้าตาดูสวยงามและทันสมัยกว่ามาก ในราคาที่ถูกกว่ารุ่นเก่าเพียงแค่ 75 -100 บาท เท่านั้นเอง
ทางเรายังชื่นชอบฟีเจอร์ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ของ Schneider รุ่น VisiSafe ที่บอกได้ว่าตัวเบรกเกอร์มันปลอดภัยในการรีเซ็ตมันหรือเปล่าหลังจากที่ทริป มันเป็นฟีเจอร์ที่ทางเราไม่เคยเห็นในเบรกเกอร์แบรนด์อื่นมาก่อน และแก้ไขปัญหาของผู้ัใช้ที่ไม่ทราบว่าทำไมเบรกเกอร์ถึงทริป แล้วเผลอไปรีเซ็ตมัน โดยที่ยังมีปัญหาทางไฟฟ้าอยู่กับวงจรนั้น ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้
เราหวังว่าคุณจะชอบบทความนี้ เช่นเคย ถ้ามีคำถามหรือความคิดเห็นอะไร สามารถคอมเมนท์ได้ด้านล่างของบทความนี้ หรือจะส่งมาหาเราที่ info@factomart หรือผ่าน LifeChat ที่ด้านล่างขวามือของหน้าจอ อย่าลืมช่วยกด Like และ Share เป็นกำลังใจให้ทีมงานของเรา และกด Subcribe วิดีโอ จะได้ไม่พลาดบทความอื่นๆ ในอนาคต ขอบคุณครับ