เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560/2017

Share this post

เราเปรียบเทียบแมกเนติก คอนแทคเตอร์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในตลาดเมืองไทย ในปี 2560 และพูดถึงประเด็นหลากหลาย ตั้งแต่ประเด็นทางเทคนิค เช่น หน้าคอนแทคช่วยจนถึงประเด็นคอมเมอเซียล อย่างเช่น ความยากง่ายในการหาซื้อ แต่เราต้องตระหนักให้ดีว่าการเปรียบคอนแทคเตอร์นั้น บางทีเราไม่ได้เปรียบเทียบสิ่งเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าแค่ดูแต่กระแสอย่างเดียวเราจำเป็นต้องดูด้วยว่าเหมาะกับโหลดด้วยหรือไม่ เราได้มีการพูดคุยถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ในวิดีโอนี้แล้ว เราหวังว่าคุณจะได้ความรู้และภาพรวมเกี่ยวกับแมกเนติกแบรนด์ต่างๆ ในตลาด ถ้ามีคำถามอะไร ก็เหมือนเดิม เพียงคอนเม้นท์มาหา้ราที่ด้านล่างได้เลยครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

การเปรียบเทียบแมกเนติกทั้ง 6 ตัว หรือ 6 แบรนด์นี้นะครับ ผมจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแบรนด์ยุโรป และกลุ่มแบรนด์เอเชีย ซึ่งแมกเนติกฝั่งยุโรปจะมีของแบรนด์ ABB Schneider ที่เราคุ้นเคยกันดี และ Lovato Electric ส่วนฝั่งเอเชีย ตัวแรกเป็นแมกเนติกจากแบรนด์ LSIS ตัวถัดมา Mitsubishi และสุดท้าย Fuji Electric ครับ เรามาดูต่อกันเลยว่าแมกเนติกทั้ง 6 ตัวนี้ จะมีสื่งที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

แมกเนติก คอนแทคเตอร์ที่นำมาในวันนี้ จะใช้เป็นแมกเนติกที่มีพิกัดกระแส 9 A แบบ 3 เฟส ใช้ในมอเตอร์ที่มีกำลังไฟไม่เกิน 4 kW ที่แรงดันไฟ 400 VAC และผมได้ต่อโอเวอร์โหลด รีเลย์ เข้าไปที่แมกเนติกทุกตัวเลยครับ ผมอยากให้คุณได้เห็นขนาดของมันจริงๆ เวลาที่จะนำไปติดตั้งว่ามันมีขนาดความกว้าง ความสูงเท่าไหร่

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

การใช้งานในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภทนะครับ ภาระโหลดที่เรานำมาต่อเข้านั้นมันจะมีแรงดันไม่เท่ากัน อย่างเช่น โรงงานในประเทศญี่ปุ่นเนี่ยบางทีจะใช้แรงดันที่ 110V ใช้กระแสไฟที่ค่าๆ หนึ่ง ส่วนโรงงานในบ้านเราทั่วๆ ไป เรารู้กันดีกว่าใช้แรงดันไฟฟ้า 220 – 380 V หรือไม่เกิน 400 V จะใช้เรทกระแสไฟฟ้าอีกค่าหนึ่ง และถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีภาระโหลดหนักๆ เช่น อุตสาหกรรมปูน โรงเหล็ก โรงงานเหล่านี้ก็จะใช้แรงดันสูง ขนาด 600 – 690 V เลยทีเดียวครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

ประเด็นหลักๆ ที่ผมนำมาเปรียบเทียบในวันนี้นะครับ จะมีอยู่ 10 ประเด็นด้วยกัน คือ 1. คุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้ทำตัวแมกเนติก การออกแบบหรือความสวยงาม 2. ขนาดและน้ำหนัก มีความกว้าง ความสูง หนักหรือเบาเพียงใด 3. หน้าคอนแทคช่วยหรือ Auxiliary Contact มีแบบใดบ้าง 4. โอเวอร์โหลด รีเลย์ 5. การเข้าสายไฟเลี้ยงคอยล์ เข้าสายอย่างไร เข้าแบบไหน ครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

ถัดมาประเด็นที่ 6. หาซื้อได้ง่ายแค่ไหน? ทั้งการหาซื้อในท้องตลาดหรือสั่งออนไลน์ 7. ราคาแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ราคาจะสูงหรือต่ำ 8. ราคาโอเวอร์โหลดรีเลย์ 9. ราคารวมของแมกเนติกและโอเวอร์โหลด ที่ต้องใช้รวมกัน ตอนซื้อต้องซื้อทั้ง 2 อย่างไปด้วยกันเลย และประเด็นสุดท้าย 10. ความคุ้มค่า แมกเนติกแบรนด์ไหนที่มีความคุ้มค่า คุณภาพสมราคาหรือไม่? ครบแล้วครับประเด็นทั้ง 10 เรามาดูต่อกันเลยว่าถ้าเจาะลึกเข้าไปในแต่ละประเด็นแล้ว แมกเนติกตัวไหน??? มันเจ๋ง!! มันดี!! มันโดน!! ที่สุด……..

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

อย่างแรกรูปร่าง หน้าตา ต้องมาก่อน

ประเด็นแรกเรื่อง คุณภาพ หน้าตา วัสดุ แมกเนติก 6 ตัวนี้ก็มีหน้าตาที่ต่างแตกกันไปตามการออกแบบนะครับ ตามคอนเซ็ปแต่ละแบรนด์ ผมได้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม ผมจะเริ่มที่กลุ่มยุโรปก่อน เริ่มกันที่แมกเนติกตัวแรกก็คือ แมกเนติกแบรนด์ ABB เท่าที่ดูนะครับ แมกเนติกแบรนด์นี้การเข้าสาย ยึดสาย พลาสติกที่ใช้ทำดูแข็งแรง ทนทานดีเลบครัย ส่วนของ Nameplate ของ ABB เนี่ย ชัดเจนเลยทีเดียวครับ แมกเนติกตัวนี้ถือว่าโอเคเลยครับ

ส่วนแมกเนติกของ Schneider จะมีส่วนของฝาครอบหน้าคอนแทคติดมาให้ด้วยครับ เปิด-ปิดได้ Nameplate ชัดเจนดี และพลาสติกก็แข็ง เนื้อดี ทนทาน และแมกเนติกฝั่งยุโรปตัวสุดท้าย เป็นของแบรนด์ Lovato Electric พลาสติกแข็งแรง แตกยาก ถอดโอเวอร์โหลดได้ง่ายดี ส่วนตำแหน่งขันน็อตก็ดูหนาแน่นดีครับ

มาต่อที่กลุ่มเอเชียครับ เริ่มที่แมกเนติกของ LS IS หน้าตาก็คล้ายๆ กับฝั่งยุโรปเลยครับ คุณภาพก็ถือว่าใช้ได้เลยครับผม พลาสติกดูเนื้อดี แข็งแรง แต่ Nameplate จะดูให้มาน้อยไปหน่อย ส่วนแมกเนติกของ Mitsubishi มีข้อมูลชัดเจนเลย จะพิมพ์ไว้บนตัวแมกเนติกเลย แต่พลาสติกจะดูไม่เนี๊ยบเท่าฝั่งยุโรปเท่าไหร่ และสุดท้ายแมกเนติกฟูจิ Nameplate ของฟูจิ จะดูดีกว่า 2 แบรนด์ก่อนหน้า พลาสติกก็คล้ายๆ กับมิตซูบิชินะครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

ขนาด/น้ำหนัก เท่าไหร่กันเชียว

จากที่ผมดูแมกเนติกทุกตัวแล้วเนี่ย แมกเนติกทุกตัวจะมีขนาดความกว้างที่เท่าๆ กัน ไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ ยกเว้นของ Mitsubishi ที่ดูจะกว้างน้อยกว่าตัวอื่นเลย พอต่อโอเวอร์โหลดรีเลย์เข้าไปที่แมกเนติก เห็นได้เลยว่าโอเวอร์โหลดมีขนาดกว้างกว่าแมกเนติกเสียอีก พอมาดูเรื่องความสูงหรือความยาวแล้ว ปรากฏว่าแมกเนติกของ LS และ ABB มีความสูงมากกว่าตัวอื่น แต่พอต่อโอเวอร์โหลดเข้าไป ของ ABB จะมีความสูงมากสุด นอกจากนั้นแมกเนติก Schneider Lovato Mitsubishi และ Fuji มีความสูงใกล้ๆ กัน ก็แล้วแต่ความชอบเลยครับว่าจะเลือกซื้อตัวไหน อันที่จริงแล้วความสูง ความกว้าง ก็ไม่มีผลตอนติดตั้งมากเท่าไหร่ ไม่ต้องซีเรียสมาก แค่ติดตั้่งให้เป็นระเบียบ ดูง่าย ก็เพียงพอแล้วครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

แถมคอนแทคช่วยมาเท่าไหร่

มาดูประเด็นของคอนแทคช่วยหรือ Auxiliary Contact ว่าแต่ละแบรนด็ใส่มากี่ตัว แมกเนติกแบรนด์ Schneider กับ LS ให้คอนแทคช่วยมา 2 ตัวเลยทั้ง 1NO และ 1NC ส่วนแมกเนติก ABB Lovato Mitsubishi และ Fuji จะให้มาเฉพาะ 1NO อย่างเดียวครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

โอเวอร์โหลดรีเลย์ เพื่อนซี้แมกเนติก

โอเวอร์โหลดรีเลย์คือตัวที่ต่ออยุู่ด้านล่างแมกเนติกนะครับ มีโอเวอร์โหลด 3 แบรนด์ คือ Schneider ABB และ LS ที่มีฝาครอบส่วนหน้าโอเวอร์โหลด และมีที่ใส่สายคล้องไว้กันคนมาปรับค่าได้ ส่วนของ Mitsubishi Lovato และ Fuji จะไม่ฝาครอบด้านหน้า จะเปิดเปลือยเลยครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

มีโอเวอร์โหลดตัวหนึ่งที่พิเศษกว่าแบรนด์อื่นๆ อยู่ครับ เป็นโอเวอร์โหลดของ Lovato ที่ตรงส่วนขั้วเทอร์มินัลจะมีเพิ่มมา 1 ขั้ว ที่เห็นเป็นแท่งๆ นั้นล่ะครับ ขั้วเทอร์มินัลนี้จะช่วยประหยัดการเข้าสาย wiring ไป 1 เส้น เวลา wiring สาย ก็ต่อสายแค่สายไฟออกเพียงอย่างเดียว ส่วน wiring สายไฟเข้า ก็จะใช้ไปเลี้ยงจากคอยด์ได้เลย

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

เข้าสาย Wiring ไปหาคอยล์

การเข้าสาย (Wiring) ไฟเลี้ยงคอยล์ แมกเนติกแบรนด์ ABB Lovato และ LS สามารถต่อไฟเลี้ยงเข้าได้ 2 ทิศทางเลย จะเข้าต่อด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ ส่วนแมกเนติก Mitsubishi กับ Fuji จะต่อไฟเข้าที่ด้านบนอย่างเดียว และถ้าเป็นแมกเนติก Schneider จะเข้าได้ด้านเดียวเหมือนกัน แต่จะต่อเข้าที่ด้านข้างครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

อยากได้ ต้องไปซื้อที่ไหน??

ถ้าเป็นแบรนด์ตลาดที่เราคุ้นเคยกันดี ทั้ง ABB Schneider Mitsubishi และ Fuji แมกเนติก 4 แบรนด์นี้จะหาซื้อได้ตามท้องตลาดหรือสั่งออนไลน์ได้เลยครับ ส่วนถ้าเป็น LS กับ Lovato แมกเนติก 2 แบรนด์นี้ จะหาซิ้อตามท้องตลาดบ้านเรายากหน่อย แต่ถ้าสั่งตามอินเตอร์เน็ตก็จะมีครับ ซึ่งทาง Factomart ของเรามีจำหน่ายครบทุดแบรนด์เลยครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

ราคาแมกเนติก คอนแทคเตอร์

ในเรื่องราคา ผมจะแบ่งเป็น 2 เรท คือ แมกเนติกราคาไม่เกิน 400 บาท ก็มี LS Mitsubishi Fuji และ ABB และแมกเนติกราคา 400 – 500 บาท จะมีแมกเนติกของ Schneider กับ Lovato ครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

ราคาโอเวอร์โหลด รีเลย์

เมื่อรู้ราคาของแมกเนติกไปแล้ว ก็ถึงคิวของโอเวอร์โหลดกันแล้ว ดูว่าราคาของโอเวอร์โหลดจะใกล้เคียงกับแมกเนติกหรือไม่ครับ ราคาโอเวอร์โหลดผมแบ่งออกเป็น 2 เรท กลุ่มแรกเป็นโอเวอร์โหลด รีเลย์ ราคา 300 – 400 บาท มีของ ABB LS Mitsubishi และ Fuji และราคา 600 – 700 บาท ก็มีโอเวอร์โหลดของ Schneider กับ Lovato ที่ราคาอยู่ในเรทใกล้เคียงกัน

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

ราคาแมกเนติก + โอเวอร์โหลด

ประเด็นที่ 9 ราคารวม ตอนใช้งานสตาร์ทมอเตอร์มันต้องใช้ทั้งแมกเนติกและโอเวอร์โหลด เพราะฉะนั้นก็ต้องซื้อทั้งแมกเนติกและโอเวอร์โหลดไปพร้อมกันเลยครับ ที่นี่ถ้าเอาราคาของทั้ง 2 ตัวมารวมกันจะมีราคาเท่าไหร่? ผมคำนวณให้คร่าวๆ ละกันครับ ผมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเหมือนเดิม กลุ่มแรกราคา 600 – 800 บาท มีแบรนด์ ABB LS Mitsubishi และ Fuji ส่วนแบรนด์ Schneider กับ Lovato เมื่อคำนวณแล้วจะอยู่ที่ราคา 1,000 – 1,200 บาท ราคาทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีประเด็นที่ทำให้มันมีราคาสูง ต่ำ ต่างกันไปครับ ซึ่งผมจะพูดในหัวข้อถัดไปครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

จ่ายมาก จ่ายน้อย คุ้มค่าเท่ากันไหม??

ประเด็นสุดท้าย เรื่อง ความคุ้มค่าในการใช้งาน ส่วนนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับราคา ในตอนแรกที่ผมพูดถึงโหลดใช้งานที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภทนะครับ ทั้งโหลดในโรงงานที่ใช้แรงดันต่ำ 110 – 220 V แล้วก็ใช้แรงดันกลาง 380 – 400 V และแรงดันสูงประมาณ 600 – 690 V

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

ซึ่งโหลดส่วนใหญ่จะเป็นโหลดของมอเตอร์นะครับ ยกตัวอย่างราคาของ Lovato ที่ราคาจะค่อนข้างสูง แต่พอดูพิกัดบน Nameplate แล้ว จะเห็นเลยมีพิกัดที่สูง ใช้กับโหลดแรงดัน 690 V ได้ และใช้กับมอเตอร์ที่มีกำลังสูงถึง 7.5 kW ได้เลย ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในการเปรียบเทียบครั้งนี้เลยครับ ถ้าคุณต้องสตาร์ทมอเตอร์ที่มีกำลังสูง แบรนด์ Lovato ถือว่าน่าสนใจเลยครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

ถ้าเอามาเทียบกับแมกเนติก Schneider ที่เป็นฝั่งยุโรปด้วยกันแล้ว แมกเนติกของ Schneider ก็ใช้ที่แรงดัน 690V เหมือนกัน แต่จะทนกำลังมอเตอร์อยู่ที่ 5.5 kW ครับ

เปรียบเทียบ 6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยมในประเทศไทย 2560

และถ้าเป็นแมกเนติกที่ราคาถูกที่สุดในกลุ่มอย่าง Mitsubishi ที่ราคาก็ถือว่าไม่สูงมาก แต่ตัวนี้จะใช้ที่แรงดันเพียง 550 V ซึ่งถือว่าต่ำกว่า 2 แบรนด์แรกครับ และทนกำลังมอเตอร์เพียง 2.7 kW พิกัดกำลังมอเตอร์จะเป็น AC-3 ครับ ถ้าคุณต้องใช้กับมอเตอรืที่กำลังไม่สูงมาก แมกเนติกของมิตซูบิชิก็ถือว่าโอเคเลยครับ

เรียบร้อยแล้วครับสำหรับการเปรียบเทียบแมกเนติกทั้ง 6 แบรนด์ ซึ่ง 6 ตัวนี้จะมีราคาที่แตกต่างกัน อันที่จริงราคาสูงต่ำไม่ค่อยสำคัญมากหรอกครับ แต่มันอยู่ที่งานที่คุณจะนำไปใช้มากกว่า คุณต้องดูว่างานของคุณมีกำลังของตัวมอเตอร์เท่าไหร่ แล้วคุณก็ค่อยหาแมกเนติกที่เข้ากับงานของคุณ อย่างเช่น มอเตอร์ของคุณมีกำลัง 7.5 kW แต่คุณไปซื้อแมกเนติก Mitsubishi มา ซึ่งแมกเนติกตัวนี้มันทนกำลัง 2.7 kW คุณก็ต้องเปลี่ยนเป็นตัวอื่นแทน ราคามันก็อาจขยับขึ้นไปได้ครับ

ผมได้ทำตารางสรุปแมกเนติกทั้งหมดไว้ที่ด้านล่างแล้วครับ หวังว่าจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อแมกเนติกได้ถูกใจ นอกจากนคุณยังสามารถดูรุ่นทั้งหมดของแมกเนติกแต่ละแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Schneider, ABB, Mitsubishi, Lovato, Fuji และ LS ได้จากที่นี่เลย หรืออยากรู่ว่า แมกเนติก คืออะไร? ก็กดเข้ามาเลย และเหมือนเดิมครับถ้าอยากให้เราทำวิดีโออะไรเพิ่มเติมก็คอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างเลยครับ หรือถ้าคุณอยากได้เอกสารที่น่าสนใจให้กรอมข้อมูลชื่อ นามสกุล E-mail มาร่วมกับเราได้เลยครับ

[TS_Advanced_Tables id=”6″ table_scope=”tablesaw” show_name=”true” columns_widthmin=”100″ columns_widthmax=”250″]

ดูรายละเอียดของแมกเนติกแต่ละแบรนด์

แมกเนติก ABB
แมกเนติก มิตซูบิชิ
แมกเนติก Schneider
แมกเนติก ฟูจิ
แมกเนติก Contactor Lovato

ดาวน์โหลดคู่มือแมกเนติก คอนแทคเตอร์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูลแมกเนติก คอนแทคเตอร์ คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้ หลักการทำงานของแมกเนติก ส่วนประกอบ วงจรสำหรับต่อแมกเนติก อุปกรณ์เสริม เลือกแมกเนติกให้เหมาะกับมอเตอร์ที่ใช้ เปรียบเทียบ 6 แบรนด์ แมกเนติก และการต่อวงจร Interlock ใช้ควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส

New call-to-action

แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อแมกเนติก คอนแทคเตอร์

แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) แมกเนติก คอนแทคเตอร์ ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อแมกเนติก เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย เช่น แบรนด์ Schneider Electric, ABB, Lovato Electric, Mitsubishi Electric และ Fuji Electric

Button-02-N07-New
Button-02-Home-back-New
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
Facebook Comments